หลายคนคงจะทราบกันดีว่า สารอาหารก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ในแง่ของการทำให้ร่างกายดูดีขึ้น ซึ่งรวมไปถึง “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์” ที่แม้ว่าชื่ออาจจะคล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองชนิดนี้ มีความแตกต่างกันสิ้นเชิง
โพรไบโอติกส์ กับ พรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นนั้น เราต้องทำความเข้าใจว่า สารอาหารที่ว่านี้ ก็คือจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จะเข้าสร้างคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งก็แน่นอนว่า จุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ก็มีความแตกต่างกัน
อย่าง “โพรไบโอติกส์” เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็ก ซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี ซึ่งจะพบได้ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ หรือ มิโซะ ซึ่งมีการจำกัดความว่า สารอาหารดังกล่าว เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่าง ๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง และสามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้
ขณะที่ “พรีไบโอติกส์” นั้น ก็คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่ร่างกายไม่สามารถทำการย่อยได้ จนทำให้มีการดูดซึมไปที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาหารเหล่านี้ เข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปแบบที่ไม่เปลี่ยนแปลงและจะถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติกส์ ทำให้เกิดการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย ซึ่งพรีไบโอติกส์นั้น จะพบได้ใน หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผัก และที่ผลไม้ต่าง ๆ
กล่าวคือ “พรีไบโอติกส์” คืออาหารของ “โพรไบโอติกส์” ซึ่งถ้ารับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ก็จะยิ่งช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีทำงานได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
ประโยชน์ของ “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์”
หากถามถึงประโยชน์ของทั้งสองสารอาหารดังกล่าวนั้น จะช่วยร่างกายในเรื่องไหนบ้าง ก็ขอแบ่งได้ดังนี้
โพรไบโอติกส์
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยส่งเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารให้กับร่างกาย
- ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
- ได้กรดไขมันสายสั้นที่มีประโยชน์ มีผลต่อการเพิ่มระดับเซโรโทนิน
พรีไบโอติกส์
-ช่วยเสริมสร้างการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้จะผลิตกรดไขมันสายสั้นที่ช่วยดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม
-ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของแมกโครเฟจ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารดีขึ้น
-ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย และทำการเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ลดโอกาสการติดเชื้อในลำไส้
-พรีไบโอติกส์ช่วยดูดซับสารพิษในทางเดินอาหาร ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้
-ช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก ใยอาหารพรีไบโอติกส์จะถูกหมักด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ เกิดเป็นกรดไขมันสายสั้น และกระตุ้นการหลั่งสาร จีแอลพี-1 ในกระแสเลือด ทำให้สมองรับรู้ความรู้สึกอิ่มและสบายท้อง
-ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคระบบหัวใจ และโรคหลอดเลือด ช่วยดักจับไขมันและน้ำตาลในทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันช้าลง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ และ อินเตอร์ฟาร์มา กรุ๊ป