xs
xsm
sm
md
lg

กินปุ๊บ ขับถ่ายปั๊บ ดีหรือไม่ดีกันแน่ ?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การขับถ่ายไม่ว่าจะเบาหรือว่าหนักก็ตามที ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สุขภาพของแต่ละคนนั้นดีหรือไม่ดีได้นั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันนั้น หากเกิดเหตุที่ว่า ถ้าเรารับประทานอาหารเข้าไปปุ๊บ แล้วดันขับถ่ายออกมาเลยทันที จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายทันทีหรือไม่ ว่าแล้วก็มาคลายข้อสงสัยนี้กัน

สำหรับอาการดังกล่าวนี้นั้น ถือว่าไม่ใช่อาการผิดปกติของร่างกายแต่ประการใด เพราะถือว่าเป็นกลไกที่ปกติของร่างกาย ที่เมื่อรับอาหารเข้ามา กระเพาะอาหารก็จะส่งสัญญาณทางเส้นประสาทมากระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ประมาณว่า ทำการเคลียร์ของเก่า แล้วรับของใหม่เข้ามา จึงทำให้เกิดการปวดท้องขับถ่ายทันที ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ‘Gastrocolic Reflex’ ซึ่งทุกคนก็สามารถเป็นภาวะนี้ได้เหมือนกันหมดนั่นเอง

ในขณะเดียวกัน แม้ว่าจะเกิดภาวะนี้ ก็ใช่ว่าจะทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า “กินปุ๊บ ถ่ายปั๊บ ผอมแน่นอน” ซะเมื่อไหร่ เพราะสิ่งที่ถูกขับออกมานั้น มันก็ยังเป็นอุจจาระ ซึ่งเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของการขับถ่ายเท่านั้น สารอาหารต่าง ๆ ที่รับประทานเข้าไป ก็ยังอยู่ในร่างกายปกติ โดยเฉพาะ ‘ไขมัน’ ที่จะไปเกาะในส่วนต่างๆ ของร่างกายเช่นเคย

ถามว่า ถ่ายแบบไหน ถึงเรียกได้ว่ามีความเสี่ยง ก็คงเป็นอาการตามนี้ คือ

-เกิดการถ่ายน้อยและมากจนรู้สึกอ่อนเพลีย
-ปวดบิด
-มีการถ่ายเป็นเลือด
-มีความรู้สึกทมี่ถ่ายไม่สุด คล้ายๆ ยังมีการคาที่รูทวาร
-เกิดภาวะเบื่ออาหาร
-มีอาการท้องอืด หรือ แน่นท้อง
-น้ำหนักลงอย่างไม่มีสาเหตุ

ซึ่งจากที่ว่ามาทั้งหมดนี้ อาจจะเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่อยากที่จะเกิดการ ‘กินปุ๊บ ถ่ายปั๊บ’ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นั่นคือ

-ปรับอาหาร

ให้ลองสังเกตดูว่า อาหารแต่ละชนิดกระตุ้นให้ต้องเข้าห้องน้ำช้า-เร็ว ต่างกันยังไง แล้วลองค่อยๆ ปรับลดการทานอาหารที่ยิ่งกระตุ้นให้เข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะในวันที่เร่งรีบ หรือวันที่ภารกิจเรียงคิวแน่นทั้งวัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทรมานกับการอดทนขนลุกทุกมื้ออาหารไป

-ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน

ให้ลองมาออกกำลังกายให้มากขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ระบบการย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญ จนทำงานได้เป็นระบบเข้าที่เข้าทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มีการขับถ่ายอย่างเป็นเวลา อีกทั้งแปรสภาพการคลายความเครียดจากการกิน ให้มาเป็นการออกกำลังกายแทน ซึ่งรับประกันว่า ส่งผลดีต่อร่างกายแน่นอนกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท


กำลังโหลดความคิดเห็น