xs
xsm
sm
md
lg

ทำอย่างไรเมื่อเป็น “ตะคริว”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เชื่อได้เลยว่าหลายๆคน ที่ใช้ชีวิตประจำวันนั้น น่าจะเกิดปัญหาเรื่อง “ตะคริว” อยู่ไม่มากก็น้อย เนื่องจากในการเกิดเหตุแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องพบกับปัญหาในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ฉะนั้นแล้ว เรามารับทราบข้อมูลคร่าวๆ กันว่า ภาวะดังกล่าวนี้เป็นอย่างไรบ้าง


ตะคริวเกิดจากอะไร

สำหรับการเกิดตะคริวนั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งมีดังนี้

-กล้ามเนื้อที่ทำงานหนักมากเกินไปในระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ

-ระบบไหลเวียนเลือดที่ไปยังกล้ามเนื้อเกิดการหยุดเฉียบพลัน

-ระบบประสาทเกิดการทำงานแบบผิดปกติในขณะนอนหลับ

-เกิดได้จากบางโรค เช่น โรคตับ และโรคไต

-ร่างกายเกิดสภาวะผิดปกติ เช่น ภาวการณ์ขาดเกลือแร่ หรือ ร่างกายมีสารพิษหรือภาวะการติดเชื้อ

-เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น


ทำอย่างไรเมื่อเป็นตะคริว

โดยปกติแล้วเมื่อเป็นตะคริวจะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่ก็สามารถบรรเทาอาการ หรือช่วยให้หายได้เร็วมากขึ้นได้ ดังนี้
-ขั้นตอนแรก ทำการยืดกล้ามเนื้อ หรือนวดบริเวณที่เป็นตะคริวประมาณ 1-2 นาที หากอาการยังไม่หายดีให้ค่อยๆ นวดไปเรื่อยๆ

-ถ้าเป็นสตรีตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์เพื่อตรวจครรภ์ตามกำหนด หากเกิดอาการตะคริวให้บอกแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไปเนื่องจากอาการตะคริวอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

-แต่หากเกิดตะคริวในระหว่างนอนหลับให้เปลี่ยนท่านอน และยืดขาตรงกระดกปลายเท้าประมาณ 5 วินาที ทำวนไปประมาณ ช 5-10 รอบ ก่อนจะนวดบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหาย


ป้องกันการเกิดตะคริวอย่างไร

-ทำการอบอุ่นร่างกาย ด้วยการยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกายทุกครั้ง

-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน

-ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือจำนวน 2 ลิตร

-กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม เป็นต้น

-ดื่มนมก่อนนอนเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ตะคริวกินระหว่างนอนตอนกลางคืน

-ทำการนอนยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้ว

-ฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อยๆ

-ระมัดระวังการยกของหนัก หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง

-หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังการรับประทานอาหาร

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพรินส์ สุวรรณภูมิ และ โรงพยาบาลเพชรเวช


กำลังโหลดความคิดเห็น