xs
xsm
sm
md
lg

ดูแลฟันไม่ดี อาจจะเป็น “ฟันเป็นรู” ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การดูแลรักษาช่องปากและฟันเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะว่าจะทำให้ฟันได้อยู่คู่กับเราไปนาน ๆ ซึ่งหากเราละเลย หรือไม่ใส่ใจในการดูแล ย่อมที่จะมีปัญหาที่ตามมา ซึ่งก็รวมไปถึงภาวะฟันเป็นรู หรือ“อาการฟันผุ” นั่นเอง


สาเหตุของ “อาการฟันผุ”

สำหรับอาการฟันผุนั้น เริ่มจากกระบวนการทำลายแร่ธาตุของโครงสร้างฟัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างกรดของแบคทีเรียเพื่อมาย่อยเศษอาหารที่ตกค้างหลังจากที่มีการรับประทานอาหารเข้าไป โดยเกิดมาจากการทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเป็นหลัก ซึ่งถ้ามีการปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจจะทำให้ฟันเป็นรู เป็นช่อง ลามไปจนถึงความเจ็บปวดหรือฟันเป็นหนอง จนอาจจะต้องถอนฟันที่ผุเหล่านั้นไปได้ในที่สุด


อาการฟันผุ

-ฟันผุในระยะแรก จะเป็นสีเป็นขาวขุ่นหรือน้ำตาล ผิวไม่เรียบ
-เมื่อมีการลุกลามมากขึ้นจะเริ่มแตกออกเป็นรูผุ
-ฟันผุที่มีการลุกลามจะสูญเสียเนื้อฟันมากขึ้น
-ถ้ามีอาการฟันผุ จะทำให้การรักษาจะมีความซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น


ถ้าฟันผุแล้วไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น

ปัญหาที่เกิดตามมาจากฟันผุนั้นเยอะมาก ถ้าฟันผุมากๆ ก็จะมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน บางกรณีก็จะมีปัญหาเรื่องบุคลิกภาพ เช่น

- มีกลิ่นปาก
-ปัญหาเรื่องความสวยงาม

ขณะเดียวกันนั้น หากมีอาการฟันผุในระดับที่ลึกมากจนถึงชั้นเนื้อเยื่อในฟันก็จะเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ ทำให้มีอาการปวดร่วมกับมีการบวมอาจมีตุ่มหนอง ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาทีมีความร้ายแรงอื่น ๆ ต่อได้ เช่น ฟันโยกจนต้องถอนฟันหรือเกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้


การดูและและรักษาอาการฟันผุ

สำหรับการรักษาอาการฟันผุ หรือ ฟันเป็นรู นั้น จะเริ่มจากกำจัดส่วนที่ผุแล้วทำการอุดฟันหรือบูรณะทดแทนฟันส่วนที่ถูกทำลายด้วยวัสดุอุดชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อมัลกัม เรซิน คอมโพสิต ทอง เซรามิก แต่หากมีกรณีที่มีการลุกลามจนสูญเสียเนื้อฟันมากอาจต้องทำการครอบฟัน หรือหากทะลุโพรงประสาทฟันต้องรักษารากฟัน ซึ่งความแตกต่างของวัสดุนั้น จะเป็นดังนี้

-การอุดฟันด้วยอมัลกัม มีความแข็งแรง ทนทาน
-การอุดฟันด้วยเรซินคอมโพสิต มีความสวยงาม


นอกจากนี้ การดูแลรักษาช่องปากและฟัน ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่เกิดภาวะดังกล่าว ซึ่งทำได้โดยดังนี้

-ไม่รับประทานอาหารจุบจิบอาหารระหว่างมื้อ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
-ไม่สูบบุหรี่
-การไม่ใช้ฟันผิดหน้าที่ เช่น การใช้ฟันเปิดขวด (หรือการแข่งใช้ฟันยกของหนักๆ หรือลากรถเพื่อทำสถิติ!)
-การไม่ไปรับการรักษาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การจัดฟันแฟชั่น การทำฟันปลอมเถื่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลกรุงเทพ


กำลังโหลดความคิดเห็น