xs
xsm
sm
md
lg

รับมือและป้องกัน “ไข้หวัดใหญ่”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อมาสู่การเปลี่ยนฤดูกาล สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่ง นั่นคือ การมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะประเภทจำพวกที่ล่องลอยมาตามอากาศ นั่นคือ “ไข้หวัดใหญ่” ซึ่งหากพลาดพลั้งเสียที ก็อาจจะไล่ระดับไปตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงระดับที่รุนแรงไปจนถึงขั้นอาการหนักเลยก็เป็นได้


“ไข้หวัดใหญ่” มีกี่ประเภท

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิดมากพอที่จะทำให้สามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

-ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง

-ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิมมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป


“โรคไข้หวัดใหญ่” เริ่มมาจากไหน

-จากการโดนผู้ป่วยไอหรือจามใส่

อย่างกรณีนี้ เกิดมาจากละอองฝอยขนาดเล็กของน้ำลายหรือน้ำมูกจะล่องลอยในอวกาศ และปลิวเข้าสู่ทางปากหรือจมูกของผู้ที่อยู่ใกล้ ซึ่งถ้าสูดหายใจเข้าไป เลยทำให้ละอองฝอยเล็กๆ เหล่านี้ลงเข้าสู่ปอดได้

-การสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย

การสัมผัสผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะ เสื้อผ้า แล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด หลังจากสัมผัส และใช้มือจับจมูกและปากของตนเอง จนทำให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้


อาการของ “ไข้หวัดใหญ่”

-มีไข้
-มีอาการไอ หรือ เจ็บคอ
-คัดจมูก มีน้ำมูก
-ครั่นเนื้อครั่นตัว
-อ่อนเพลีย หรือ เหนื่อยมากขึ้น
-ปวดศีรษะ
-หนาวสั่น
-มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

วิธีป้องกันห่างไกลจาก “ไข้หวัดใหญ่”

-หมั่นทำความสะอาดด้วยการล้างมือบ่อย ๆ อาจจะเป็นด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย

-ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 

-ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นจำพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

-ดื่มน้ำสะอาด

-หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ

-หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น

ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติมจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ แนะนำว่าให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิกหรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ช่วงฤดูไข้หวัด ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล และ คนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลศิริราช


กำลังโหลดความคิดเห็น