บางคนเคยมีความคิดว่า การนอนที่เต็มที่ จะทำให้มีความสดชื่นสมบูรณ์ ซึ่งบางคนอาจจะเข้าใจไปอย่างนั้นซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่จริงแล้วพฤติกรรมที่ว่านี้นั้น อาจจะเข้าข่ายในภาวะอาการ “นอนเกิน” ซึ่งก็ส่งผลต่อร่างกายได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ภาวะการนอนมากเกินไปเป็นสิ่งที่ผิดปกติ จะเป็นลักษณะที่ต้องการการนอนเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน มีภาวะตื่นยากมากจากการนอน เมื่อตื่นแล้วก็รู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก โดยระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลายๆ ครั้ง ในบางรายอาการงีบก็อาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ขณะคุยกันก็ยังหลับได้ระหว่างกินอาหาร เป็นต้น
สำหรับสาเหตุของ “อาการนอนเกิน” นั้น พบเจอได้ดังนี้
-มีกการอดนอนเป็นเวลานาน และอดนอนบ่อย จนร่างกายรู้สึกนอนไม่เพียงพอ
-ตารางนาฬิกาชีวิตแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น การต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกันมาก
-ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้นอนมากเกินไป
-มีภาวะการนอนกรน มีภาวะหยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ
-สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมองต่างๆ
ผลกระทบจาก “อาการนอนเกิน”
-เกิดอาการสมองเฉื่อยชา สมองล้า
-เชื่องช้าไม่สบาย เพราะติดนอนไม่อยากลุกไปไหน ทำให้ความคล่องตัวเริ่มหายไป และอาจจะเป็นผลต่อเนื่องให้กระดูกพรุน ข้อเสื่อม
-อาจทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าเดิม
-กลายเป็นคนซึมเศร้า เนื่องจากการนอนมากๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน
-อาจก่อให้เกิดอาการหดหู่ เศร้าใจ เครียดได้ง่าย ไม่เอาการเอางานได้
หากเกิดภาวะ “อาการนอนเกิน” นั้น ก็มีวิธีแก้ได้ดังนี้
-ควรมีตั้งเวลาเข้านอน ให้เวลาไม่เกิน 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะปกติร่างกายของคนเราจะนอนหลับเป็นรอบ ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้เรามีโอกาสที่จะนอนได้หลับลึกมากยิ่งขึ้น
-ทำการกำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ติดต่อกัน ประมาณ 28 วัน เพื่อให้ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่นโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก
-จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี เพราะถ้าร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมอง เซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
-ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และยังทำให้ร่างกายแอ็คทีฟด้วย
-งดอาหารจังค์ฟู้ด น้ำอัดลม แป้งขัดขาว เบเกอรี่ ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ร่างกายคุมไม่ได้ ทำให้ง่วง หรือ เนือย ตอนที่ระดับน้ำตาลตก
ขอบคุณข้อมูลจาก : ramachannel, pobpad.com, กรมสุขภาพจิต และ โรงพยาบาลสมิติเวช