xs
xsm
sm
md
lg

"ใหลตาย" โรคอันตรายที่คนตายไม่รู้ตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพจาก pixabay.com
เรียกได้ว่า โรคนี้กลายเป็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่ บีม-ปภังกร ได้เสียชีวิตลงจากอาการภาวะใหลตาย ซึ่งผู้ที่ป่วยโรคนี้นั้น เรียกได้ว่าไม่มีโอกาสที่จะได้ต่อสู้ได้เลย ซึ่งหลายคนก็มีข้อสงสัยว่า โรคนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ฉะนั้นแล้ว เรามารับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้กัน


อาการใหลตาย คืออะไร

โรคใหลตาย ในทางการแพทย์จะเรียกว่า กลุ่มอาการบรูกาดา ซึ่งเกิดขึ้นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ จนทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นไม่เป็นจังหวะและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้ภาวะสมองตายและเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งโรคนี้ก็สามารถได้ในช่วงที่ตื่นได้เหมือนกัน


ปัจจัยที่ก่อให้เกิด ภาวะไหลตาย

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคนั้น มี 2 ประการ คือ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิดด้วย


กลไกที่ก่อให้เกิดโรค

โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา ซึ่งเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น จากนั้นต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้น มีการพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ จนเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์


การรักษา

ถามว่ามีแนวทางการรักษาโรคนี้มั้ย ก็ตอบได้ว่ามี ซึ่งมี 2 วิธีการดังนี้

-การใช้ยา

ในการใช้ยานั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับภาวอาการไหลตายว่าจะมีความรุนแรงมากแค่ไหน

-การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ

ถ้าการรักษาด้วยยาใช้ไม่ได้ผล ก็ต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน

แม้ว่าคนไข้ส่วนใหญ่ ในการใช้ชีวิตปกติจะไม่มีผลอะไรขึ้น แต่หากวันนั้นมีปัจจัย เช่น มีการพักผ่อนน้อย, ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดเป็นส่วนประกอบ รวมถึงการใช้ยาบางอย่างในวันที่ไม่สบาย ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะไหลตายจนทำให้เสียชีวิตกระทันหันได้เช่นกัน


ทำอย่างไร ถึงจะป้องกัน ‘การใหลตาย’ ได้

ในปัจจุบัน ถือว่ายังไม่มีวิธีป้องกันภาวะไหลตายที่ได้ผล แต่อย่างไรก็ตาม หากสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ช่วยลดให้เกิดภาวะไหลตาย โดยแนะนำให้ทำได้ ดังนี้

-ถ้ามีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ควรรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
-สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะการขาดน้ำ เช่น มีอาการท้องเสีย ควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และอาจดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียไป
-ในตัวยาบางชนิดนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ ฉะนั้น ผู้ที่ทราบว่าตนเองเสี่ยงเกิดภาวะไหลตายควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับประทานยาทุกชนิด
-หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งละมาก ๆ
-สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวได้เสียชีวิตลงจากภาวะไหลตายหรือมีอาการเข้าข่ายเป็นภาวะนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการวินิจฉัยเพิ่มเติมและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : poppad.com และ ramachannel


กำลังโหลดความคิดเห็น