xs
xsm
sm
md
lg

สารพัดประโยชน์ของ “กาแฟดำ”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ใครที่มีเครื่องดื่มโปรด “กาแฟดำ” อยู่ในลิสท์แล้วเนี่ย เชื่อได้เลยว่าน่าจะรู้สรรพคุณอยู่บ้างว่าจะช่วยในหลายๆ เรื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ล่าสุดก็มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาแล้วว่า การดื่มกาแฟดำนั้น ยังช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับ และโรคตับแข็งได้ด้วย

โดยกาแฟดำนั้น อุดมไปด้วยโฟลิฟีนอลที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยการดื่มกาแฟทำให้อัตราการเกิดพังผืดในตับที่ลดลง 35% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคตับแข็งได้ และจากผลการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟ 3 ถ้วยต่อวัน จะมีความเสี่ยงเกิดไขมันพอกตับน้อยกว่าการดื่มกาแฟ 2 ถ้วยต่อวัน ดังนั้นการดื่มกาแฟเป็นประจำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับ แต่ก็ยังคงต้องมีการศึกษาปัจจัยอื่นทางระบาดวิทยาเพิ่มเติม


ขณะเดียวกัน ประโยชน์ในการทานกาแฟดำ ก็มีดังนี้

-ช่วยกระตุ้นความจำ
-ดีต่อตับ
-ทำให้ฉลาดขึ้น
-ช่วยทำความสะอาดในช่องท้อง
-ช่วยลดน้ำหนัก
-ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
-เป็นแหล่งต้านสารอนุมูลอิสระ
-ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
-ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
-ทำให้ดูอ่อนเยาว์
-ทำให้มีความสุขและลดความเครียด
-ช่วยป้องกันในการเกิดโรคเกาต์


แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มกาแฟดำ หรือแบบอื่นๆ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน ซึงจะส่งผลดังนี้

-กาแฟมีสารคาเฟอีนที่สามารถก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และผลข้างเคียงอื่น ๆ

-การดื่มกาแฟในปริมาณมาก อาจทำให้ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย วิตกกังวล ได้ยินเสียงดังในหู หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

-ถ้าดื่มกาแฟถึงวันละ 6 แก้ว ก้อาจทำให้เกิดการเสพติดกาแฟ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวลหรือกระสับกระส่าย และถ้าเสพติดมากเกินไป อาจมีอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนหากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน

-ในกาแฟที่ชงแบบไม่กรองนั้น อาจมีปริมาณคอเลสเตอรอล ไขมันชนิดไม่ดี และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์โดยรวมมากกว่ากาแฟชนิดอื่น และจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ฉะนัน ควรทำการกรองก่อนดื่ม น่าจะดีกว่า

-การดื่มกาแฟมากกว่า 5 แก้วต่อวันนั้น อาจมีข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจนั้น การดื่มกาแฟหลาย ๆ แก้วต่อวัน ไม่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด

-เป็นที่กังวลเช่นกันว่าการดื่มกาแฟเป็นครั้งคราวอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ในบางคน นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงและดื่มกาแฟทุกวันแต่ไม่เกินวันละ 1 แก้วยังอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันสูงขึ้นเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการดื่มกาแฟ

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิสัมมาอาชีวะ, pobpad.com และ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย


กำลังโหลดความคิดเห็น