ถ้าสมมุติว่าร่างกายของเรานั้น เกิดการโดนปะทะกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถูกชน, นิ้วหนีบประตู หรือ อื่นๆ ก็ตามที สิ่งตามมาก็ย่อมหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ภาวะอาการฟกช้ำ’ ตามร่างกาย ในเวลาต่อมา ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาหาสาเหตุและคำตอบกัน
สาเหตุและอาการฟกช้ำ
ถ้าถามว่าภาวะอาการฟกช้ำนั้น คืออะไร เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย จากการโดนต่างๆ นั่นคือ การโดนกระแทก หรือถูกชน หรือถูกต่อย จนทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังมากน้อยต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความแรงที่มากระทบ
แต่ถ้าเกิดภาวะนี้ในผู้สูงอายุ แม้ว่าจะมีแรงกระทบมีไม่มากแต่เนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นเลือดภายในร่างกายค่อนข้างเปราะบาง จึงเกิดการฟกช้ำได้ง่าย และอาจมีเลือดเป็นจ้ำๆ ห้อเลือดทั่วไปตามร่างกาย หรือในบางรายที่หลังถูกกระแทก และไม่ได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกวิธี อาจทำให้การฟกช้ำของหลังมีมากได้
ลักษณะอาการ
สำหรับภาวะอาการฟกช้ำนั้น จะมีความแตกต่างกันไปตามสาเหตุ แต่โดยทั่วไปมักมีอาการดังต่อไปนี้
-หากเกิดรอยช้ำที่ตรงบริเวณผิวหนัง จะมีอาการเริ่มต้นมักเป็นสีแดง แล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือม่วงเข้มภายใน 2-3 ชั่วโมง และอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เขียว หรือสีอื่น ๆ เช่น น้ำตาล น้ำตาลอ่อน หลังผ่านไปจาก 2-3 วัน ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อรอยช้ำเริ่มจางลง
-รอยช้ำที่เกิดขึ้นทั่วไปจะทำให้มีอาการกดเจ็บ และบางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดในช่วง 2-3 วันแรก แต่อาการจะค่อย ๆ หายไปพร้อมกับสีที่จางลง
แต่ถ้าเกิดภาวะฟกช้ำในที่มีความรุนแรง และอาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์ จะมีลักษณะอาการดังนี้
-รอยช้ำจากการใช้ยาแอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดอื่น ๆ
-บวมและเจ็บปวดบริเวณที่เกิดอาการช้ำ
-รอยช้ำหลังประสบอุบัติเหตุรุนแรง
-รอยช้ำที่เกิดขึ้นเมื่อสงสัยว่ามีกระดูกหัก
-ช้ำโดยไม่มีสาเหตุ
-อาการช้ำไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ หรือไม่หายไปหลังผ่านไป 3 -4 สัปดาห์
-เกิดรอยช้ำที่เล็บและมีอาการเจ็บปวด
-รอยช้ำเกิดขึ้นพร้อมกับมีเลือดออกมากับปัสสาวะ อุจจาระ หรือในดวงตา
-รอยช้ำที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะเลือดออก เช่น มีเลือดออกจากจมูก ปาก หรือตามไรฟัน
-รอยช้ำเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคบางชนิด เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด หรือมีการอุดตันของหลอดเลือด
การวินิจฉัยรอยฟกช้ำ
หากรอยช้ำเกิดจากการบาดเจ็บอย่างชัดเจน และแพทย์ไม่สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการกระดูกหักร่วมด้วย แพทย์จะไม่ทดสอบใด ๆ แต่ในกรณีอื่น ๆ แพทย์อาจต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
-หากผู้ป่วยมีอาการบวม หรือเจ็บปวดรุนแรง แพทย์อาจตรวจด้วยการเอกซเรย์ บริเวณที่สงสัยว่าอาจมีกระดูกหัก
-หากผู้ป่วยเกิดรอยช้ำขึ้นบ่อยครั้ง และไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์อาจให้ตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
การรักษาภาวะอาการฟกช้ำ
ถ้ามีภาวะอาการฟกช้ำในภาย 48 ชั่วโมงแรก ให้ทำการประคบเย็น ด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเกิดรอยช้ำบริเวณศีรษะและใบหน้าให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรืออาจใช้ผ้าม้วนให้หนาพอ กดบริเวณที่ฟกช้ำเพื่อลดบวม
แต่ถ้ามีความฟกช้ำหลัง 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบร้อน วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที อาการบวมจะค่อยๆ ลดลง และภาวะฟกช้ำจะดีขึ้นและหายได้ภายใน 10-14 วัน
อันที่จริง ภาวะอาการฟกช้ำจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ภายใน 10-14 วัน แต่ถ้าเกิดในกรณีที่ยังไม่หายและมีอาการหลงเหลืออยู่ หรือบางครั้งฟกช้ำมากๆ จนมีเลือดที่ออกมาใต้ผิวหนังสะสมอยู่โดยที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมกลับได้หมด ในกรณีนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาและเอาเลือดที่คั่งค้างอยู่ออกนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ pobpad.com