หากใครก็ตามที่มีผู้สูงอายุภายในบ้านก็ตามที สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังนั่นคือเรื่องสุขภาพ เพราะหากเกิดอะไรไปกับท่านเหล่านั้น ก็คงจะไม่ดีแน่ ๆ ซึ่งรวมไปถึง ภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งก็ถือได้ว่าส่งผลต่อร่างกายไม่ต่างกับโรคอื่นเช่นกัน
ภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือ Hypotension คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท โดยอาจจะมีตัวเลขที่ต่ำเพียงแค่ตัวบนหรือตัวล่างก็ได้ ซึ่งภาวะอาการดังกล่าวนั้น อาจจะไม่แสดงอาการแต่ก็ต้องจำเป็นที่จะได้รับการรักษา แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหน้ามืดหรือเวียนศีรษะในระหว่างวัน โดยเฉพาะขณะกำลังลุกขึ้นจากเก้าอี้หรือกำลังเปลี่ยนอิริยาบถ รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ไปจนถึงเป็นลมได้ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตต่ำที่รุนแรงอาจทำให้หัวใจและสมองขาดออกซิเจนและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
หากถามว่าภาวะความดันโลหิตต่ำนั้น เกิดมาจากอะไร ทั้งนี้อาจจะมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไล่ไปตั้งแต่ จังหวะการหายใจ สภาพร่างกาย ระดับความเครียด อาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภค และช่วงเวลาในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติความดันโลหิตมักลดต่ำลงในเวลากลางคืนและเพิ่มขึ้นเมื่อตื่นนอน
ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่มากกว่านั้น ก็จะมี อาทิ กรรมพันธุ์ อายุที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเบต้า-บล็อกเกอร์ ยาแอลฟา-บล็อกเกอร์ ยาลดความดันโลหิต และยาขับปัสสาวะ รวมไปถึงโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะขาดน้ำ การป่วยติดเชื้อรุนแรง อาการแพ้รุนแรง โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการความดันโลหิตต่ำ
-ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
-ดื่มน้ำเปล่าวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย
-ควรใช้เวลาในการเปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ และ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ควรรวดเร็วเกินไป
-หากมีอาการรุนแรงควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและลดความรุนแรงของโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันต่ำ
ขณะเดียวกัน หากยังเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ทางแพทย์ก็อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเพิ่มระดับความดันโลหิตด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
-ควบคุมอาหาร โดยรับประทานอาหารน้อยลงกว่าปกติ และแบ่งเป็นหลายมื้อ จำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ควรนั่งพักหลังรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดความดันก่อนมื้ออาหาร
-รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ เพราะโซเดียมจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ควรที่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ เนื่องจากอาหารที่มีเกลือมากเกินไปอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางประเภท
-หากอยู่ในสภาพอากาศร้อน หรือป่วยด้วยการติดเชื้อไวรัส เช่น เป็นหวัด หรือไข้หวัด ให้ดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากร่างกาย
-ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
-ระมัดระวังเมื่อต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปท่าอื่น โดยเฉพาะขณะลุกขึ้นยืนจากท่านั่งหรือนอน
-หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
-ขณะขับถ่าย ไม่ควรเกร็งท้องหรือตึงเครียดมากเกินไป
-ควรยกระดับศีรษะในขณะนอน อาจใช้ก้อนอิฐหรือแท่งไม้วางรองไว้ใต้หมอน เพื่อช่วยให้ศีรษะอยู่สูงกว่าปกติ
-ไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับน้ำร้อนเป็นเวลานาน เช่น ไม่แช่น้ำร้อนหรือทำสปาเป็นเวลานาน หากรู้สึกเวียนศีรษะให้นั่งลง และอาจเตรียมเก้าอี้แบบกันลื่นไว้ในห้องน้ำด้วย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : doctorraksa.com และ pobpad.com