ทุกคนมีการอาการปวดท้องแปลก ๆ บริเวณตรงกลาง ๆ หน้าท้อง รอบ ๆ สะดือ บ้างหรือเปล่า อาการนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกเราได้ว่ากำลังจะเป็นไส้ติ่งอักเสบได้นะ งั้นเรามาทำความรู้จักกัน ก่อนที่มันจะเกิดเป็นเนื้อร้ายทำให้เราเสียชีวิตได้
ไส้ติ่ง เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นท่อปลายตันยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา หน้าที่ของไส้ติ่งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมีหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน และสะสมเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร
การอักเสบของไส้ติ่ง เป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง เกิดจากอาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ทำให้แรงดันในไส้ติ่งสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด และยังเกิดจากการอุดตันของสิ่งแปลกปลอม ก้อนเนื้องอก หนอนพยาธิได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สามารถสังเกตอาการได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองก่อน
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีไข้สูง
- ปวดท้องตรงกลาง ๆ หน้าท้อง รอบ ๆ สะดือ หรือปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา
- ปวดบีบ ๆ คล้าย ๆ แบบท้องเสีย เหมือนยังถ่ายไม่สุด แต่ถ่ายไม่ค่อยมีอะไรออกมา
- เดินตัวงอเพื่อหลีกเลี่ยงไส้ติ่งสัมผัสกับหน้าท้อง
หากมีอาการปวดท้องดังกล่าวนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ทางแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และวัดระดับความปวดของผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจอัลตร้าซาวด์และการตรวจภายในช่องท้องเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
หากพบว่าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ จะสามารถรักษาได้อย่างทันท้วงทีโดยการผ่าตัดไส้ติ่ง ซึ่งการผ่าตัดไส้ติ่งนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
การผ่าตัดแบบเปิด โดยมีบาดแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวา ตรงตำแหน่งของไส้ติ่งที่อักเสบ
การผ่าตัดไส้ติ่งโดยการส่องกล้อง ได้มีการนำเทคโนโลยี 3D มาใช้ กับการผ่าตัดทางการแพทย์แล้ว การผ่าตัดผ่านทางกล้องแผลเล็ก 3 มิติ เพราะแผลขนาดเล็ก และเลือกตำแหน่งของแผลผ่าตัดเพื่อความสวยงามได้ ปวดแผลน้อย ใช้เวลาพักฟื้นน้อย และที่สำคัญคือ แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนจากกล้อง ทำให้ผลการผ่าตัดมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
หลังผ่าตัดหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล. 2-3 วัน หลังจากนั้นสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันเบาๆ ได้ และโดยทั่วไปสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติใน 1 สัปดาห์
ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน และหมั่นดูแลร่างกายด้วยการดื่มน้ำเปล่าให้ได้สัดส่วนของร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทำงานให้ร่างกายกระฉับกระเฉงมากขึ้น และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วไม่ควรนอน กระโดด หรือวิ่งทันที เพราะอาจเกิดอาการจุกได้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลขอนแก่น ราม , โรงพยาบาลกรุงเทพ (Bangkok Hospital)