อันที่จริงก็มีสารอาหารหลาย ๆ ชนิดที่ช่วยให้ร่างกายได้เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้ แต่ก็มีสารอาหารชนิดหนึ่ง แต่อาจจะไม่โดดเด่นเท่าไหร่นัก แต่ก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน นั่นคือ 'แร่ธาตุสังกะสี' นั่นเอง
โดย 'แร่ธาตุสังกะสี' หรือ 'Zinc' เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากสารอาหารชนิดนี้ ร่างกายไม่สามารถที่จะผลิดสร้างขึ้นมาได้ ซึ่งจะได้รับผ่านการรับประทานอาหารเท่านั้น ซึ่งสารอาหารชนิดนี้ก็มีประโยชน์กับร่างกาย คือ
-ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
-ปฎิกิริยาของเอนไซม์
-ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาของร่างกาย
-การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
-การสังเคราะห์โปรตีน
-การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
-การฟื้นฟูบาดแผล
-การแสดงออกของยีน
ประโยชน์ของแร่ธาตุสังกะสีต่อร่างกาย
-ลดอาการอักเสบ
สามารถช่วยลอปริมาณของความเครียด และช่วยลอปริมาณของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ โดยมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้สูงอายุที่รับประทานซิงค์วันละ 45 มิลลิกรัมต่อวัน จะมีโอกาสในการเกิดอาการอักเสบน้อยกว่ากลุ่มใช้ยาหลอก
-ช่วยจัดการในเรื่องสิว
ปัญหาสิวนั้น เกิดมาจากการอักเสบหรือเชื้อแบคทีเรีย โดยมีงานคือ การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมซิงค์ จะช่วยให้รักษาอาการสิวได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ทั้งยังช่วยลดการทำงานของต่อมน้ำมัน จึงทำให้ช่วยลดการสะสมและอุดตันของไขมันบนใบหน้า
-ฟื้นฟูบาดแผล
มีส่วนสำคัญในการรักษาความสมบูรณืและโครงสร้างของผิวหนัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง มักจะมีปัญหาในเรื่องการเผาผลาญของซิงค์บกพร่องและมีระดับซิงค์ในเซรั่มต่ำ ฉะนั้น ถ้ามีการบำรุงด้วยซิงค์แล้ว จะสามารถช่วยในเรื่องการฟื้นฟูบาดแผล และบำรุงผิวได้
อาหารเพิ่มแร่ธาตุสังกะสี
-อาหารทะเล เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ ปู กุ้งหรือกุ้งมังกร ปลาทะเลน้ำลึกอย่างปลาซาร์ดีนที่สามารถบริโภคในรูปแบบปลากระป๋อง และปลาแซลมอน เป็นต้น
-ตับ เนื้อสัตว์อย่างเนื้อหมูหรือเนื้อวัว รวมถึงเนื้อสัตว์ปีกอย่างเนื้อไก่หรือไก่งวง
-ผักบางชนิด โดยเฉพาะเห็ด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาด และมันฝรั่ง
-ถั่วและเมล็ดพืช เช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลูกไก่ เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
-ธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ไม่ว่าจะข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ควินัว ข้าวกล้อง ซีเรียล หรือขนมปังธัญพืชก็ดีทั้งสิ้น
-ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม อย่างโยเกิร์ต และชีสชนิดต่าง ๆ
สำหรับการรับสารอาหารซิงค์ที่เหมาะกับช่วงวัยต่างๆ นั้น ควรได้รับตามนี้
-ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี ควรได้รับวันละ 2-3 มิลลิกรัม
-เด็กอายุ 6-8 ปี ควรได้รับวันละ 4 มิลลิกรัม
-เด็กอายุ 9-12 ปี ควรได้รับวันละ 5 มิลลิกรัม
-เด็กอายุ 13-15 ปี หากเป็นเพศชายควรได้รับวันละ 8 มิลลิกรัม และเพศหญิงควรได้รับวันละ 7 มิลลิกรัม
-เด็กอายุ 16-18 ปี หากเป็นเพศชายควรได้รับวันละ 9 มิลลิกรัม และเพศหญิงควรได้รับวันละ 7 มิลลิกรัม
-ผู้ใหญ่เพศหญิง ควรได้รับวันละ 12 มิลลิกรัม
-ผู้ใหญ่เพศชาย ควรได้รับวันละ 15 มิลลิกรัม
-ส่วนหญิงตั้งครรภ์นั้น สารอาหารจำเป็นสำหรับคนและให้นมบุตร ควรได้รับสังกะสีมากขึ้นกว่าปริมาณปกติประมาณ 2 มิลลิกรัม และ 1 มิลลิกรัม ตามลำดับ
แต่อย่างไรก็ตาม หากบริโภคสารอาหารซิงค์ที่มีมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยมากมักเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากกว่าการรับประทานจากอาหารโดยตรง ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการคล้ายไข้หวัด ตรวจพบค่าไขมัน HDL ลดน้อยลง รับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป ขาดแร่ธาตุอื่น ๆ โดยเฉพาะทองแดง หรือติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เป็นต้น