จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังมีการระบาดกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าสายพันธุ์เดลต้า ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ประเทศไทยต้องพบเจอ แต่ก็มีรายงานเพิ่มเติมว่า มีการค้นพบผู้ป่วยที่เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัสแล้ว แล้วสายพันธุ์ดังกล่าวนี้ มีความแตกต่างอย่างไร ไปรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมกัน
สำหรับโควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส (B.1.617.21.1 หรือ AY.4.2) และ โควิดกลายพันธุ์จากสายพันเดลตา (B.1.617.2) นั้น เกิดมาจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส มีการค้นพบครั้งแรกที่แถบบริเวณทวีปยุโรป ในช่วงเดือนมีนาคม และพบในประเทศอินเดีย ในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา
โดยในปัจจุบันนั้น พบว่าสายพันธุ์เดลตาพลัส มีการระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น โปแลนด์ เนปาล รัสเซีย จีน ตุรกี เดนมาร์ค อินเดีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษ ได้ระบุว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส สามารถทำการแพร่เชื้อได้ง่ายกว่า สายพันธุ์เดลต้าปกติ
ความแตกต่างของ “โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส” กับ “โควิดสายพันธุ์เดลต้าปกติ” มีดังนี้
-สามารถแพร่เชื้อง่ายขึ้น และเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น
-ตัวไวรัสเกาะจับเซลล์ปอดได้ง่ายขึ้น
-ต่อต้านการรักษาด้วยแอนติบอดี้ และ หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี
-ทำการแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลตาปกติ (B.1.617.2) ถึง 17%
-เพิ่มอัตราการติดเชื้อภายในครัวเรือนมากขึ้นกว่าเดิม ประมาณ 12%
-ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันแน่ชัดว่า ทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตหรือไม่
สำหรับอาการของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ก็ยังมีอาการคือ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส ดังนั้น ในช่วงนี้ ใครที่มีอาการคล้ายหวัด “ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก” ให้สังเกตอาการของตนเองและอาจมีความเป็นได้ว่า อาจติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก
อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวตามมาตรการการป้องกันตนเอง ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ โดยควรสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อให้ได้ดีขึ้น
ขณะเดียวกันนั้น ก็ยังควรหมั่นล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และเพื่อป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์