โรคจิตเภท คืออาการป่วยชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสมองของผู้ป่วย คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ฯลฯ โดยอาการเหล่านี้มักเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัย
อาการของโรคจิตเภท
- ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการรับรู้ความเป็นจริงบางอย่าง เช่น ประสาทหลอน หลงผิด มีความเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เกิดความผิดปกติทางความคิด ผู้ป่วยอาจมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้สึก หรือรับรสที่ไม่มีอยู่จริง แต่มักเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ เป็นต้น
- ผู้ป่วยอาจมีปัญหาด้านการแสดงออกทางอารมณ์ พฤติกรรม และความสามารถ เช่น ปลีกตัวออกจากสังคม พูดน้อยลง มีความคิดสับสนวุ่นวาย ไม่มีอารมณ์ร่วม หรืออาจมีการแสดงออกทางอารมณ์แบบแปลก ๆ มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
- ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการจดจ่อ การทำความเข้าใจข้อมูล การตัดสินใจ ความจำ และการจัดการสิ่งต่าง ๆ
สาเหตุของโรคจิตเภท
ปัจจัยภายใน
- ความผิดปกติทางสมอง และระดับสารเคมีในสมอง
นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า อาการโรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง หากการทำงานของสมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้
- ความผิดปกติทางจิต
โรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตหรือทางบุคลิกภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) ทำให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีสุดขีด
- ความเจ็บป่วยทางร่างกาย
เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
- กรรมพันธุ์
บางทฤษฎีเชื่อว่าอาการโรคจิตมีแนวโน้มถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้
ปัจจัยภายนอก
-การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใด ๆ เข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด หรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติด
การป้องกันโรคจิตเภท
ต้องบอกว่าปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในบางกรณี อาจป้องกันการเกิดอาการได้ด้วยการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดให้โทษทุกชนิด ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด
2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดจุดประสงค์ หรือเกินปริมาณที่แพทย์กำหนด
3. การออกกำลังกาย จะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายนี้จะทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมองเซโรโทนิน ที่ช่วยกระตุ้นการผ่อนคลายได้
4. เรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด สร้างความผ่อนคลายให้แก่ร่างกายแลจิตใจ โดยไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้
5. บริหารอารมณ์และความคิด มองโลกในแง่ดี อย่ามองทุกอย่างให้เป็นแง่ลบ ควรคิดเสมอว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออก แต่ต้องแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และไม่ทำร้ายตนเอง
6. หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การรักษาโรคจิตเภท
-การรักษาด้วยยา
-การบำบัดทางจิต
-การบำบัดภายในครอบครัว
-การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง
-การรักษาทางเลือก เช่น การรับประทานวิตามิน การรับประทานอาหารเสริมอย่างน้ำมันปลาหรือยาไกลซีน
-การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ข้อมูลอ้างอิงจาก : เว็บไซต์พบแพทย์ https://bit.ly/3h5VSMl, https://bit.ly/3zZcuyc
ข่าวโดย : ฟ้า เต็มเปียง