การป้องกันปัญหาความเครียดในเด็ก สามารถแก้ไขได้หากต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ในการจัดการกับความเครียดของตนเอง เพื่อสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากเด็กมีความเครียดสะสมในระดับที่มากเกินไป จะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจได้
ความเครียดสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ
- ระดับที่ 1 เป็นลักษณะของเด็กที่มีความเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ ซึ่งขึ้นนี้จะไม่เป็นความเครียดที่ไม่มีผลกระทบต่อการเรียนและไม่กระทบกับความสัมพันธ์ของคนรอบๆ ข้าง เพียงแค่เป็นความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลง
- ระดับที่ 2 เป็นลักษณะที่เริ่มรุนแรงขึ้นมาอีกขั้น โดยขั้นนี้จะกระทบต่อการเรียน และการทำงาน รวมไปถึงกับคนรอบข้างอีกด้วย
- ระดับที่ 3 เป็นลักษณะที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก ขึ้นนี้จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ผลการเรียนตก ซึมเศร้า เหม่อลอย อยากตาย ร่างกายไม่มีกำลัง
สาเหตุของความเครียด มีด้วยกัน 2 สาเหตุ
- ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการบ้าน การงาน ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน เป็นต้น
- ปัจจัยภายใน ซึ่งบางเด็กบางคนมีนิสัยที่คิดมาก หรือวิตกกังวลในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าได้อย่างง่ายดาย
เด็กมักจะเครียดเรื่องอะไรบ้าง
- การบ้านที่ต้องทำมากเกินไป เนื่องจากการเรียนที่เรียนมาทั้งวันแล้ว แถมยังมีการบ้านที่เยอะแยะกลับมาทำที่บ้านอีก ทำให้เด็ก ๆ อาจจะเครียดได้ เพราะสมองของเขาได้ทำงานหนักเกินไปในแต่ละวัน
- การทะเลาะวิวาท ซึ่งเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่นั้นยังไม่มีความเข้าใจและยับยั้งอารมณ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความเครียดสะสมจนเกิดเหตุทะเลาะวิวาทนที่สุด
- รู้สึกไม่มีใครรักและสนใจ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เด็ก ๆ ค่อนข้างเครียดอย่างมาก เพราะด้วยความเป็นเด็ก เขาต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นเด็กจะเกิดอาการที่เรียกว่า อยากเรียกร้องความสนใจ เพื่อให้คนในครอบครัวหรือแม้กระทั่งเพื่อน ๆ หันมาสนใจในตัวเขา
- คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ซึ่งเกิดจากความกดดันที่ไม่มีหรือไม่เก่งเหมือนคนอื่น ทำให้เขารู้สึกท้อแท้และเกิดความเครียดขึ้นมา
วิธีป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้เด็กเครียด
- หมั่นสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกอยู่เสมอ
คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปพูดคุย รับฟังความคิดเห็นจากลูก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อเห็นลูกเงียบ ๆ หรือเหนื่อย ๆ ควรเข้าไปถามเขาว่ามีอะไรหรือเปล่า พยายามแสดงความห่วงใยและเข้าใจเขา
- ไม่ควรกดดันจนเกินไป
เพราะการกดดันลูกโดยเฉพาะเรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังลูกจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเครียดได้
- ไม่ควรดุ ตำหนิ หรือตี
การดุด่า หรือการตีลูกจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่รัก อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดการต่อต้าน
- ใช้เวลาอยู่ด้วยกันบ่อย ๆ
ควรมีเวลาให้กับลูกบ่อย ๆ อย่างเช่น การพาไปทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เล่นกับลูกบ่อย ๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแนบแน่น
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.parentsone.com
ข่าวโดย : ฟ้า เต็มเปียง