xs
xsm
sm
md
lg

Work from Home อย่าทำงานบนเตียง เสี่ยงเจ็บตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กลายเป็นว่าเทรนด์การทำงานที่บ้าน หรือ Work Form Home นั้น เป็นกระแสในการทำงานยุคใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันจริง ๆ ในท่ามกลางที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤตของโรค ‘โควิด-19’ แต่หากได้ทำงานที่บ้านแล้วต้องมาทำงานบนที่นอนนั้น แล้วมีความเสี่ยงด้วยแล้วนั้น วิธีแก้จะเป็นยังไงล่ะ ?

เรื่องนี้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวว่า เนื่องด้วยจากสถานการณ์ดังกล่าว แล้วประกอบกับไม่ได้ถูกเตรียมตัวเพื่อทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดความไม่กระตือรือร้นที่จะทำงาน จึงทำให้เกิดความขี้เกียจเกิดขึ้น นั่นจึงทำให้การทำงานบนเตียงนั้นจึงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด แล้วกลุ่มคนที่อายุน้อย ก็เลือกที่จะทำงานบนที่เตียงนอนนั่นเอง

โดยมีการศึกษาสำรวจ คนอเมริกัน จำนวน 1000 คน พบว่า ร้อยละ 72 เปอร์เซ็นต์นั้น มีการทำงานบนเตียง ซึ่งมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่โควิดระบาด ซึ่งทุกหนึ่งในสิบคนจะบอกว่า จะทำงานอยู่บนเตียงประมาณ 24-40 ชั่วโมงหรือมากกว่า ซึ่งวัยทำงานชาวอังกฤษในช่วง 18-34 ปี ที่ไม่มีโต๊ะทำงานหรือเก้าอี้ที่เหมาะสมนั้น จะทำงานในลักษณะนี้ มากกว่าสองเท่า ซึ่งก็ถูกมองว่า การทำงานแบบนี้เป็นเรื่องแฟชั่นไปด้วย แต่ในความเป็นจริงนั้น การทำงานบนเตียง ก็ส่งกระตุ้นให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่รู้สึกในตอนนี้ แต่ แต่ผลของมันนั้น อาจจะอยู่และจะค่อย ๆ แสดงผลในระยะเวลาต่อมาได้

สำหรับการทำงานบนเตียงนั้น จะส่งผลอันตรายต่อกล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมีอันตรายมากขึ้น เมื่อทำงานในเตียงนุ่ม ๆ โดยในคนทำงานหนุ่มสาวจะมีอันตรายมากกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการปวด คณะทำงานบนเตียง แต่หลังจากนั้น ก็จะมีอาการของกระดูกและข้อ แม้ว่าในตอนนี้จะมีความแข็งแรง แต่ก็จะเกิดโรคหรือปัญหาทางเออร์โกดนมิกส์เกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดศีรษะ แถมจะยังมีการปวดหลัง และอาการอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ปวดคอ จากการบาดเจ็บของกระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อที่คอ

แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้จริงๆ ก็พยายามให้นั่งหลังตรง อยู่ในท่าเหมือนนั่งเก้าอี้ ซึ่งจะช่วยลดการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้ หรือทำการม้วนผ้าห่มหรือใช้หมอนหนุนหลังเป็น lumbar support หรือทำการสอดหมอนรองเข่าแล้วพยายามแยก จอออกจาก keyboard เพื่อให้จออยู่ในระดับสายตา ให้ไม่ต้องก้มหน้ามอง โดยอาจใช้ remote keyboard เองก็ได้นะ และที่สำคัญที่สุด อย่านอนคว่ำหน้าพิมพ์งาน เพราะจะทำให้มีการบาดเจ็บที่คอและข้อศอกอย่างมาก นอกจากนี้ ควรพยายามทำงานในหลาย ๆ ท่าทาง เช่น ยืนทำงานบ้าง เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น