I feels like I became a zombie ที่ไม่ได้แปลว่าเรากำลังจะกลายเป็นผีดิบในทางชีวภาพ แต่หมายถึงการที่เราใช้ชีวิตแต่ละวันเพียงแค่ให้ผ่านพ้นไป ไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่รู้ว่าเราทำไปเพื่ออะไร นี่คือเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลง Zombie ของวงดนตรีสัญชาติเกาหลีอย่าง DAY6 ที่บอกเล่าเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการใช้ชีวิต ซึ่งหนุ่ม ๆ DAY6 ก็เขียนเนื้อเพลงออกมาได้โดนใจทั้งวัยเรียนและวัยทำงานที่กำลังประสบกับความรู้สึกเช่นนี้อยู่พอดิบพอดี จึงอยากบอกเล่าถึงภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout syndrome ให้ทุกท่านได้สำรวจตัวเองไปด้วยค่ะ
ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร?
ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการระบุอาการอย่างแน่ชัด แต่จากผลสำรวจสามารถเฉลี่ยอาการหลักได้ 3 อาการ ได้แก่
1. มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ
2. มองความสามารถในการทำงานของตนเองในเชิงลบ ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จ
3. มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า
"แล้วคุณล่ะ กำลังพบเจอกับอาการเหล่านี้อยู่บ้างหรือเปล่า?"
ปัจจัยเสี่ยงของการกลายเป็นซอมบี้
1. มีความรับผิดชอบในงานสูงเกินไป ซึ่งอาจมีผลเสียมากมายรออยู่ หากงานไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้
2. อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความกดดันและความเครียดอยู่ตลอดเวลา
3. ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด ไม่ได้อยากทำ หรือไม่มีความรักในงานนั้น
4. ทำงานด้วยความเบื่อหน่าย อาจด้วยตัวงานเองหรือมาจากเพื่อนร่วมงาน
5. ถูกละเลย ไม่ได้รับการยอมรับ หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินไป
6. ต้องทำงานที่มีปริมาณมาก งานหนักเกินไป หรือมีระยะเวลาในการทำงานนานเกินไป เช่น มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน
แนวทางป้องกันตนเองจากการกลายเป็นซอมบี้
1. พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
2. ควรลาพักร้อนบ้างหากมีเวลา เพื่อให้ตัวเองได้ห่างกันสักพักกับงานที่ต้องเจอทุกวัน
3. สร้างสมดุลให้กับชีวิตและการทำงาน โดยจัดลำดับความสำคัญของงาน และคาดการณ์เวลาในการทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วง ที่สำคัญคือไม่ควรนำงานกลับมาทำต่อที่บ้าน
4. ขอความช่วยเหลือ และพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อสร้างความสนิทสนมและคลายเครียด
5. ลดการใช้โซเชี่ยลมีเดีย เพราะนอกจากจะเบียดเบียนเวลาในการทำงานแล้ว การรับข่าวสารที่มากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ด้วย
บอกไว้ก่อนเลยว่าภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้านะคะ หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการหมดไฟ เราก็สามารถจัดการภาวะแรกเริ่มนั้นได้ด้วยตัวเอง ก่อนจะกลายเป็นซอมบี้ที่มีชีวิต แต่ไม่มีหัวใจและความกระตือรือร้นอยู่ในนั้น อย่ายอมให้ชีวิตจืดชืดนะคะทุกคน
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/หมดไฟ-การทำงาน/
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385
เรื่อง : รวินท์นิภา แต้เกียรติเจริญกุล
ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร?
ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการระบุอาการอย่างแน่ชัด แต่จากผลสำรวจสามารถเฉลี่ยอาการหลักได้ 3 อาการ ได้แก่
1. มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ
2. มองความสามารถในการทำงานของตนเองในเชิงลบ ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จ
3. มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า
"แล้วคุณล่ะ กำลังพบเจอกับอาการเหล่านี้อยู่บ้างหรือเปล่า?"
ปัจจัยเสี่ยงของการกลายเป็นซอมบี้
1. มีความรับผิดชอบในงานสูงเกินไป ซึ่งอาจมีผลเสียมากมายรออยู่ หากงานไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้
2. อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความกดดันและความเครียดอยู่ตลอดเวลา
3. ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด ไม่ได้อยากทำ หรือไม่มีความรักในงานนั้น
4. ทำงานด้วยความเบื่อหน่าย อาจด้วยตัวงานเองหรือมาจากเพื่อนร่วมงาน
5. ถูกละเลย ไม่ได้รับการยอมรับ หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินไป
6. ต้องทำงานที่มีปริมาณมาก งานหนักเกินไป หรือมีระยะเวลาในการทำงานนานเกินไป เช่น มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน
แนวทางป้องกันตนเองจากการกลายเป็นซอมบี้
1. พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
2. ควรลาพักร้อนบ้างหากมีเวลา เพื่อให้ตัวเองได้ห่างกันสักพักกับงานที่ต้องเจอทุกวัน
3. สร้างสมดุลให้กับชีวิตและการทำงาน โดยจัดลำดับความสำคัญของงาน และคาดการณ์เวลาในการทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วง ที่สำคัญคือไม่ควรนำงานกลับมาทำต่อที่บ้าน
4. ขอความช่วยเหลือ และพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อสร้างความสนิทสนมและคลายเครียด
5. ลดการใช้โซเชี่ยลมีเดีย เพราะนอกจากจะเบียดเบียนเวลาในการทำงานแล้ว การรับข่าวสารที่มากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ด้วย
บอกไว้ก่อนเลยว่าภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้านะคะ หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้ตัวว่าเริ่มมีอาการหมดไฟ เราก็สามารถจัดการภาวะแรกเริ่มนั้นได้ด้วยตัวเอง ก่อนจะกลายเป็นซอมบี้ที่มีชีวิต แต่ไม่มีหัวใจและความกระตือรือร้นอยู่ในนั้น อย่ายอมให้ชีวิตจืดชืดนะคะทุกคน
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/หมดไฟ-การทำงาน/
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385
เรื่อง : รวินท์นิภา แต้เกียรติเจริญกุล