xs
xsm
sm
md
lg

ทำ IF ผิด อาจชีวิตเปลี่ยน เสี่ยงโรค

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในเทรนด์การรักษาสุขภสพในปัจจุบันนั้น การทำ IF ก็ถือว่ากำลังได้รับความนิยมเลยทีเดียยว อาจเป็นเพราะ เพียงแค่ใช้เวลาในแต่ละวัน ก็สามารถทำการดังกล่าวได้แล้ว แต่ในขณะเดียวกันนั้น หากใครก็ตามที่ทำภารกิจอย่างว่าแบบไม่ถูกวิธี สิ่งที่ตั้งใจมาก็อาจจะส่งผลต่อร่างกายได้ด้วยเช่นกันนะ


ถ้าทำ IF ไม่ถูกวิธี จะเป็นยังไง

-หากอดอาหารมากเกินไป อาจเสี่ยงขาดสารอาหาร
-ทำให้รับประทานอาหารมากเกินไป เพราะต้องรีบกินก่อนถึงช่วงเวลางดมื้ออาหาร
-มีการเลือกเวลาในการกิน และงดการกินผิดเวลา อาจเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้
-ถ้ามีการนอนดึก ด้วยการที่มีระบบฮอร์โมนที่ซ่อมแซมร่างกาย อาจจะมีระบบความอิ่มในร่างกายจะรวน ซึ่งเผลอทำให้ทานอาหารหวาน จนทำให้อ้วนได้
-ไม่ออกกำลังกาย เพราะไม่ใช่แค่ควบคุมแคลอรี่อย่างเดียว แต่ยังต้องสร้างระบบเผาผลาญด้วย ฉะนั้นต้องมีการสร้างเนื้อ เผื่อไม่ให้เกิดการโยโย่ในตอนหลัง
-ยังติดหวาน ถ้าการทำ IF แล้วยังมีการติดอาหารหรือขนมหวานอยู่ อาจเสี่ยงทำให้เกิดอาหารดังกล่าว ซึ่งเมื่อทำการงดของหวานแล้ว จะทำให้เกิการโหยน้ำตาล และทำให้เกิดการกินของหวานมากกว่าเดิมได้


กลุ่มคนที่ไม่ควรทำ IF

1.เด็กและวัยรุ่น เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังต้องการสารอาหารที่ทำให้เจริญเติบโต ฉะนั้น ถ้าอายุตั้งแต่ 25 ปีเป็นต้นไป สามารถทำได้
2.กลุ่มคนที่มีครรภ์ คนกลุ่มนี้ต้องมีสารอาหารเพื่อที่จะไปให้นมลูก ฉะนั้น รอให้พ้นจากช่วงให้นมบุตรไปก่อนจึงจะทำ IF ได้
3.กลุ่มคนที่ออกกำลังกายเพื่อที่จะเล่นกล้าม เพราะถ้ามีการทำ IF แล้วนั้น จะทำให้กล้ามขึ้นยากมาก หรือ ทำไม่ได้เลย คนกลุ่มนี้ก็ต้องการสารอาหารเพื่อไปเสริมสร้างร่างกาย
4.กลุ่มคนที่เจ็บป่วยหนัก หรือเพิ่งออกจากการผ่าตัด เพราะร่างกายของคนในกลุ่มนี้ ยังต้องการสารอาสหารที่จะไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของร่างกาย ต้องรอให้ร่างกายหายสนิทก่อน ถึงจะมาทำ IF ได้
5.กลุ่มคนที่ขาดสารอาหาร เพราะถ้ามีภาวะดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จะมาทำ IF เพิ่มเติม อาจจะทำให้ร่างกายมีอาการแย่ลงได้


ทำ IF ให้ถูกวิธี

1.ตั้งระยะเวลาในการกิน และงดมื้ออาหารให้เป็นไปตามนาฬิกาชีวิต ประมาณว่า ถ้ากิน 8 ชั่วโมง งดมื้ออาหาร 16 ชั่วโมง ก็เลือกทานในช่วงเช้า บ่าย หรือ เย็น ไม่ควรเลือกทานอาหารในตอนดึก
2.ในช่วงทานอาหารนั้น ควรทานอาหารให้เพียงพอ แต่เน้นอาหารจำพวกคลีน โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ผักและผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารครบถ้วน รวมถึงคาร์โบไฮเดรต แต่เลือกในเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
3.ไม่ลดปริมาณอาหารลงจนมากเกินไป จนกลายเป็นอดอาหาร
4.ช่วงงดมื้ออาหาร ยังสามารถรับประทานอาหารที่ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำมากๆ ได้ เช่น น้ำเปล่า หรือกาแฟดำ แต่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
5.ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม วันละ 30-1ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง


กำลังโหลดความคิดเห็น