xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “NANA (นานะ)” ในรังนกแท้ เสริมภูมิคุ้มกัน ในยุคที่อะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่กลายเป็นวิกฤตระดับโลก ทางหนึ่งทุกคนต่างต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะการสวมใส่หน้ากาก การล้างมือ การรักษาความสะอาด และการดูแลสุขอนามัยของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ดีที่สุดของมนุษย์ คือการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายในร่างกายของพวกเราเอง นอกจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพจิตใจให้ไม่เครียดแล้ว อาหารที่รับประทานก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างภูมิคุ้มกัน

หลายคนอาจไม่ทราบว่า ไกลโคโปรตีน ที่มี NANA นานะ (N-Acetyl-Neuraminic Acid) หรือเรียกว่า กรดไซอะลิค (Sialic Acid) สารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งพบในสัดส่วนที่สูงใน “รังนก” (ประมาณ 9%) และมีปริมาณน้อยมากในโปรตีนสัตว์ชนิดอื่น เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด และ เนื้อปลา เป็นต้น (ในเนื้อไก่ และเนื้อเป็ด พบนานะในสัดส่วนที่น้อยมากเพียง 0.02% และ ในเนื้อปลาแซลมอน พบเพียง 0.01%)


จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารสำคัญใน “รังนก” สามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ ด้วยกลไกการจับกับเชื้อไวรัสโดยตรง และการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดง ทั้งนี้นักวิจัยพบว่ารักนกที่มีปริมาณ NANA สูงก็จะมีความสามารถในการต้านไวรัสดีขึ้น ดังนั้น NANA จึงอาจเป็นสารสำคัญในการต้านไวรัส [1]

ขณะเดียวกัน ไกลโคโปรตีน ในรังนก ยังช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด โมโนไซด์ (Monocyte) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ [2] จึงนับได้ว่า “รังนก” มีสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ ในการศึกษาวิจัยยังพบว่า ในรังนกมี NANA (นานะ) ซึ่งมีผลช่วยยังยั้งการทำงานของเอนไซม์ ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหมองคล้ำอีกด้วย [3] และยังมี อีพิเดอร์มอล โกรท แฟคเตอร์ (Epidermal Growth factor (EGF) ซึ่งเป็นเปปไทด์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับ EGF ที่อยู่ในคน มีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นนอกสุด และเยื่อบุต่างๆ มีรายงานวิจัยพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น EGF ในร่างกายจะผลิตได้น้อยลง ดังนั้นการได้รับ EGF อาจมีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิว ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ [4]

จากคุณสมบัติดังกล่าว เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยอธิบายว่า เหตุใด "รังนก" จึงเป็นหนึ่งในบรรดาอาหารฟังก์ชันที่นิยมกันอย่างมากของคนจีนเป็นเวลานานนับพันปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง โดยในวัฒนธรรมจีน ถือว่า "รังนก" หรือ "เยี่ยนโว (燕窝)" เป็นของล้ำค่า ที่มักใช้มอบเป็นของขวัญให้กับเชื้อพระวงศ์และขุนนางระดับสูงในทุกยุคทุกสมัย

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวจีนก็ยังคงเชื่อมั่นในสรรพคุณของรังนก จนกลายเป็นของหายาก และของฝากทรงคุณค่าจนได้รับฉายาว่า "ทองคำขาวแห่งท้องทะเล" โดยในตำราแพทย์แผนจีนจะใช้รังนกเป็นส่วนผสมในตำรับยา เพราะเชื่อกันว่า รังนกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังชั้นดีในการฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ บำรุงสุขภาพเด็กที่ไม่แข็งแรง และส่งเสริมสุขภาพ โดยช่วยการย่อยและการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น เพราะเหตุนี้จึงมีการกล่าวว่าการรับประทานรังนกช่วยให้อายุยืน และชะลอความชรา

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เริ่มต้นดูแลตัวเอง หันมาใส่ใจกับสุขภาพกาย-สุขภาพใจ และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายตั้งแต่วันนี้ เพื่อที่เราจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันอย่างแข็งแรง

อ้างอิง :
[1] Guo C.T., Takahashi T., Bukawa W., Takahashi N., Yagi H., Kato K. et al. 2006. Edible bird’s nest extract inhibits influenza virus infection. Antiviral Research. 70; 140–146.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16581142

[2] Kong Y.C., , K H Chan K.H. and Ng M.H., et al. 1986. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlet's (Collocalia) nest. Biochem Intern. 13;521-531. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3790144/
[3] Lun Chan G.K., Fai Wong Z.C., Ching Lam K.Y., Wai Cheng L.K., Zhang L.M., Lin H., et al. 2015_ Edible Bird’s Nest, an Asian Health Food Supplement, Possesses Skin Lightening Activities: Identification of N-Acetylneuraminic Acid as Active Ingredient. Journal of Cosmetics, Dermatological Sciences and Applications. 5; 262-274.
https://www.researchgate.net/publication/284785696_Edible_Bird's_Nest_an_Asian_Health_Food_Supplement_Possesses_Skin_Lightening_Activities_Identification_of_N-Acetylneuraminic_Acid_as_Active_Ingredient

[4] Kong Y.C., Keung W. M., Yip T.T., Ko K.M., Tsao S.W., Nget M.H. 1987. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet's (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol. 87B(2);221-226. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3497769

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)