โดยทั่วไป ‘อาการปวดหลัง’ นั้น หลาย ๆ คนก็อาจจะเข้าใจว่า เกิดจากความเมื่อยล้า จากการทำอิริยาบทต่าง ๆ ที่ทำมาในตลอดวัน แต่ในขณะเดียวกันนั้น อาการดังกล่าวก็อาจจะไม่เกี่ยวกับสาเหตุที่ว่านี้เสมอไป เพราะอาการปวดหลังนั้นสามารถแบ่งได้หลายแบบ ฉะนั้น เรามาเช็กอาการปวดหลังในแบบต่าง ๆ กันดีกว่า
ปวดหลังแบบร้าวลงที่ขา – ปวดเมื่อไอ และ จาม
การปวดประเภทนี้ อาจจะเกิดมาจาก “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังที่รุนแรง จนบางครั้งก็อาจจะปวดมากจนขยับตัวไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็อาจจะมีอาการอื่น ๆ มาร่วมด้วย เช่น มีการชาที่ขา, ปวดเมื่อไอและจาม ขณะเข้าห้องน้ำ, ปวดหลังร้าวลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง และ แอ่นหลัง หรือ ก้มหลังแล้วรู้สึกปวดร้าวลงมาที่ขามากขึ้น
โดยสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากการก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือ เป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ
ปวดตึงหลังเฉียบพลัน ในบริเวณกว้าง
สาเหตุของการปวดเกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่ถูกใช้งานมากเกินไป จากการก้ม ๆ เงย ๆ, การยกของหนัก, อุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลังโดยตรง หรือการเล่นกีฬาที่หนักเกินไป ซึ่งการปวดหลังแบบนี้เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อโดยตรง และอาการที่พบเจอบ่อย คือ มีการปวดเกร็งหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา และกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นลำดับชัดเจน
ปวดหลังแบบขัดๆ ภายในข้อ ก้มหลังได้ไม่สุด
ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการปวดใด ๆ แต่จะมาแสดงให้เห็นได้ชัดเมื่อมีอาการ เนื่องจากข้อต่อที่ทำหน้าที่ที่เชื่อมกระดูกสันหลังชิ้นบนกับชิ้นล่าง เกิดความเสื่อมจนทรุดตัว ถึงจะมีอาการปวด โดยผู้ป่วยจะทำการก้มหลังได้ไม่สุด มีการตึงหรือขัดที่หลัง ซึ่งถ้าในบางรายมีอาการหนัก ก็จะเกิดกล้ามเนื้อหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบได้
ปวดหลังแบบเหนือเอวทั้งสองข้าง
สำหรับอาการนี้ มักเกิดจากระบบอวัยวะในร่างกาย เช่น โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีถุงน้ำในไต ทำให้ไตทำงานได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง จนอาจจะทำให้ไตติดเชื้อจนเรื้อรังให้ไตหยุดทำงานถาวรได้ นอกจากนี้ โรคในภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก๋ส่งผลต่ออาการปวดหลังเช่นเดียวกัน แต่จะมีอาการปวดท้องร่วมอยู่ด้วย
ปวดหลังไม่มีสาเหตุ มีไข้
ปิดท้ายด้วย อาการปวดหลังและมักมีไข้ขึ้นตอนกลางคืนแบบไม่มีสาเหตุ แถมยังมีอาการซีดและร่างกายโดยรวมอ่อนเพลีย ซึ่งอาจจะมีการติดเชื้อบางอย่าง เช่น แบคทีเรีย หรือวัณโรคกระดูกสันหลัง เชื้อโรคนี้จะเข้าไปที่ทางระบบท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ และเข้าสู่ส่วนหน้าของกระดูกสันหลังส่วนที่ติดกับหมอนรองกระดูกสันหลัง สุดท้ายก็เข้าไปทำลายกระดูกและหมอนรองกระดูก ซึ่งถ้าเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของหลัง ทั้งหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลัง ก็จะส่งผลต่อชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ ได้ อาจจะมาในรูปแบบการกดทับ หรือเกิดการอัมพาตเลยก็มี
สำหรับการป้องกันหลังของเรานั้น หากไม่อยากเกิดเหคุร้าย ควรทำตามนี้
1.บริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้าเนื้อหลัง เนื่องจากถ้าไม่ออกกำลัง ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฉะนั้น การออกกำลังกายก็จะช่วยในส่วนตรงนี้ได้ดีขึ้น จะทำได้ด้วยการเดิน ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ ก็ย่อมได้
2.รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ให้อ้วนจนเกินไป และรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
3.ควรนั่งหรือยืนแบบถูกท่า เพราะถ้าทำผิดท่าเมื่อไหร่ ก็อาจจะทำให้เกิดการปวดหลังได้