ภาวะขาดน้ำ นั้น แน่นอนว่าย่อมเป็นอันตรายอย่างยิ่งในร่างกายมนุษย์ของคนเรา ซึ่งมีใครบางคนบอกไว้ว่า ขาดน้ำก็เหมือนขาดใจ แต่ในช่วงผู้สูงวัยนั้น มีภาวะเสี่ยงมากกว่าวัยอื่นๆ เพราะอะไรถึงเกิดสภาวะที่ว่านี้ เราไปดูข้อมูลของกรมอนามัยกันดีกว่า
โดยนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ได้บอกว่า ภาวะขาดน้ำในผู้สูงอายุ มักจะพบได้ง่าย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่อยู่ในร่างกายของผู้สูงวัยมีความลดลง เลยทำให้น้ำในร่างกายก็มีการลดลงตาม จึงทำให้การตอบสนองต่อความกระหายน้ำก็ลดลง จนทำให้ร่างกายจึงไม่ได้น้ำมาชดเชย บวกกับ ภาวะการณ์เสื่อมถอยของร่างกาย อาทิ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ สมองเสื่อม เลยทำให้มีการดื่มน้ำที่น้อยลง จนไม่เพียงพอต่อร่างกาย
ขณะเดียวกัน ผู้สูงวัย กว่าร้อยละ 40 ก็มีการเป็นโรคเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งต้องได้รับยาขับปัสสาวะ เลยทำให้น้ำในร่างกายน้อยลง อีกทั้งยังมีปัญหาในช่องปาก และ ด้านสายตา ทำให้เกิดการม่อยากกินอาหารและการมองเห็นไม่ชัด จนไม่อยากไปดื่มน้ำ และที่สำคัญ ผู้สูงวัยบางราย ก็เกิดภาวะมือสั่น หยิบจับหรือกำไม่ได้ จนไม่สามารถดื่มน้ำได้เอง จนเกิดภาวะดังกล่าวในที่สุด
สัญญาณเตือน ภาวะขาดน้ำ
หากผู้สูงวัย ดื่มน้ำน้อยกว่า 8 แก้วต่อวัน อาจจะส่งผลต่อทั้งสุขภาพและอาการดังต่อไปนี้
-ชีพจรเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที
-ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า จะทำให้วิงเวียนศีรษะ
-เป็นลมง่าย หมดสติ
-มีภาวะสับสน
-เยื่อบุปากแห้ง
-ความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลงมาก
-แม้ว่าจะมีปริมาณปัสสาวะปกติ แต่ไตไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ในภาวะขาดน้ำ ทำให้ปริมาณปัสสาวะในระยะแรกของภาวะขาดน้ำไม่ลดลง จนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายทำให้หัวใจล้มเหลวและไตวาย
วิธีลดความเสี่ยงภาวะขาดน้ำ
1.ผู้ดูแลผู้สูงวัย ควรตระเตรียมน้ำให้ดื่มอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว และควรกระตุ้นให้มีการดื่มน้ำทุกชั่วโมง
2.เลือกเครื่องดื่มที่ผู้สูงวัยท่านนั้นชอบ แต่งดประเภทหวานจัด
3.จัดหาแก้วที่สะดวกในการใช้งาน เช่น แก้วที่มีหูจับ หรือดูดจากหลอด
4.ควรให้ดื่มน้ำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการสำลัก
5.ถ้ามื้อไหนมีการกินยาและอาหาร ควรให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว
6.ผู้สูงวัย ควรมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีการพบโรค ควรเข้ารับการรักษา เพื่อลดสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ