xs
xsm
sm
md
lg

“โรคกระดูกพรุน” ฝันร้ายของคนสูงอายุ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ถ้าใครที่เข้าสู่ในช่วงวัยสูงอายุนั้น แน่นอนว่าอาจจะต้องพบเจอปัญหาเรื่องต่างๆ ตามสไตล์ของวัยดังกล่าว ซึ่งก็รวมไปถึงปัญหาอาการ “โรคกระดูกพรุน” ซึ่งหากเป็นโรคดังกล่าวนี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจจะเพิ่มความยุ่งยากให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมจากที่เป็นอยู่ ก็เป็นได้

ภาวะของโรคกระดูกพรุน

สำหรับอาการของโรคนี้นั้น เกิดมทาจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกที่มีน้อยลงจากการสะสมกระดูกแบบน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งการเกิดภาวะที่ว่านี้ ทำให้กระดูกมีความเปราะบางจนไม่สามารถรับน้ำหนัก และแตกหักตามมา โดยอาจจะเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น

ซึ่งโรคนี้โดยปกติมักจะพบได้มากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาวเช่นเดียวกัน

โดยโรคกระดูกพรุนนั้น เป็นการบ่งบอกถึงความชรา และมีการพบมากในหญิงผู้สูงอายุ และเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกระดูกบางถึงระดับที่ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ทำให้เกิดการกระดูกหัก ซึ่งเกิดมาจากการทำกิจวัตรประจำวันหรือเกิดอุบัติเหตุหกล้ม แม้ว่าจะเกิดแค่เพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยบริเวณส่วนที่มักจะหักนั้น ได้แก่ กระดูกต้นขา และกระดูกข้อมือ

อาหารที่ส่งผลให้กระดูกพรุน

สำหรับอาหารที่อาจจะเป็นปัจจัยของโรคดังกล่าวนี้นั้น อาจจะเป็นได้ดังนี้

1.โปรตีนจากสัตว์ทุกชนิด

ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์จากชนิดไหน, ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ หรือแม้กระทั่งไข่ชนิดต่างๆ หลังจากที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายดึงแคลเซียมจากเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อใช้ในการปรับค่าความเป็นกรดด่างของเลือด หรือ มีความเป็นด่างน้อยลงนั่นเอง ซึ่งหากมีการบริโภคที่มากเกินไป อาจทำให้ส่งผลต่อการกระดูกพรุนและแตกหักในระยะยาวได้

2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากไป ย่อมมีผลต่อกระดูกทั้งสิ้น เพราะทุกครั้งที่ดื่มลงไป ความสมดุลของแคลเซียมในร่างกายจะถูกรบกวน ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์จะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการสลายแคลเซียมในกระดูก แถมยังไปขัดวางกระบวนการสร้างวิตามินดีในร่างกายซึ่งส่งผลต่อกระดูกอีกต่างหาก

3.การสูบบุหรี่

อย่างที่ทราบกันดีว่า บุหรี่มีสารที่ก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งการสูบบุหรี่ก็มีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงและทำให้กระดูกพรุนได้ ซึ่งเกิดมาจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักของร่างกาย ซึ่งการอักเสบที่ว่านี้ หากเกิดขึ้นในระยะยาวก็จะนำพาไปสู่ความเสื่อม ซึ่งก็ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ที่นอกจากโรคกระดูกพรุนแล้ว ยังเกิดโรคเช่น โรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง อัมพฤกษ์ ได้อีกด้วย

4.น้ำอัดลม

การดื่มน้ำอัดลมจะทำให้ร่างกายได้รับทั้งฟอสฟอรัสส่วนเกินจากกรดฟอสฟอริก น้ำตาลจำนวนมากจากน้ำเชื่อมหรือไซรัป คาเฟอีนจากเมล็ดโคล่า กลิ่นและสีที่ถูกปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีส่วนไหนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริงเลย ทุกครั้งที่เราดื่มน้ำอัดลมเราจะสูญเสียมวลกระดูกจากกรดฟอสฟอริกและคาเฟอีนเป็นหลัก (เสียสองต่อ) น้ำตาลที่อาจทำให้มีน้ำหนักส่วนเกินและทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน กลิ่นและสีที่ไตต้องทำงานหนักเพื่อขับออกอีกต่างหาก

5.น้ำตาล

แม้ว่าน้ำตาลจะมีประโยชน์ในแง่ของการให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่หากทานมากไป จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แคลเซียมที่ควรจะได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริม ก็ได้ในจำนวนน้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมสแห่งความเครียด มีความสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง เพราะฮอร์โมนส์นี้จะไปยับยั้งการสร้างกระดูก ทำให้ไปส่งเสริมหรือเพิ่มกระบวนการในการสลายกระดูกแทน

6.อาหารที่มีเกลือสูง

การทานรสเค็มที่มากไป ส่งผลให้ไตทำงานหนัก และทำให้ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากปัสสาวะแล้ว สิ่งที่จะออกมาด้วย คือ แคลเซียม ซึ่งถ้าเราทานเค็มต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมที่มากพอ ก็จะเกิดภาวะขาดแคลเซียมสะสมไปเรื่อยๆ จนทำให้เป็นกระดูกบางและทำให้เป็นกระดูกพรุนได้

7.กาแฟ

หากมีการดื่มกาแฟในแต่ละครั้ง ร่างกายจะมีการสูญเสียแคลเซียมผ่านทางปัสสาวะ หลังจากที่ดื่มกาแฟแล้ว โดยคาเฟอีนในกาแฟจะทำให้เกิดกลไกดังต่อไป คือ ขัดขวางการสร้างมวลกระดูกใหม่ และ ลดความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน แน่นอนว่าต้องมีการสูญเสียมวลกระดูกสะสม หากไม่ได้ทานอาหารชดเชยสารอาหารและแคลเซียมที่มากพอ ก็อาจจะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนได้

การป้องกัน

- ควรรับประทานให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามิน ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่ก็ควรได้รับปริมาณแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่วัยเด็ก ไปจนตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปีปลายๆ หรือ 30 ปีต้นๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีผลต่อการทำลายกระดูก
- ควรตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูก เพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น