xs
xsm
sm
md
lg

หากไม่หยุด...เสี่ยง “โรคไต” ถามหาแน่ ๆ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โรคไต ถือได้ว่า เป็นอีกโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทยไปพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดอาการ นั่นคือ การรับประทานเค็ม จนทำให้ไตเกิดการทำงานผิดปกติของไต โดยในปัจจุบันมีการพบว่า คนไทยมีการกินเค็มกว่ามาตรฐาน 2-3 เท่า หรือเฉลี่ยประมาณ 4000 มิลลิกรัม ซึ่งปกติแล้วโดยเฉลี่ยไม่ควรทานเค็มเกินวันละ 2000 มิลลิกรัม หรือคิดเป็น เกลือ 1 ช้อนชา

โดยพฤติกรรมเสี่ยงอันจะนำไปสู่ความเสี่ยง

1.การกินอาหารรสจัด หมายถึง ทุกรสชาติที่จัด เช่น เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด และมันจัด
2.การดื่มน้ำน้อยหรือมากเกินไป เพราะไตมีหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวกรอง แต่ถ้าดื่มน้ำมากไป ไตก็ทำงานหนักเช่นกัน
3.การรับประทานแบบไม่ยั้ง และ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หรือ โรคความดันโลหิตสูงตามมา

อาหารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้

1.ซอสโชยุ
2.มิโสะ
3.กิมจิ
4.น้ำซุปและน้ำจิ้มชาบู สุกี้ อาหารทะเล
5.เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อ/หมูเค็ม เนื้อ/หมูแดดเดียว แฮม โบโลน่า ไส้กรอก เบคอน
6.อาหารที่มีส่วนประกอบของชีส
7.พริกเกลือ กะปิ ที่ขายคู่กับผลไม้สด
8.ซอสมะเขือเทศ
9.อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผักกาดดอง
10.อาหารหมักดองทุกชนิด

การป้องกันโรคไต

1.ควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไป
2.ลดอาหารที่มีไขมันสูง
3.งดสูบบุหรี่
4.ดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ
5.หากเป็นเบาหวานก็ต้องคุมน้ำตาล หรือ ถ้าเป็นความดันสูง ก็ต้องคุมให้อยู่ในระดับปกติ
6.ถ้าเกิดจากการรับประทาน ก็ต้องมีการหยุดยา
7.ควบคุมยาที่มีผลกับไต เลี่ยงการกินยาที่ไม่ทราบสรรพคุณ หรือว่ากินยาที่ไม่จำเป็น
8.ถ้ารู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา


กำลังโหลดความคิดเห็น