xs
xsm
sm
md
lg

สังเกต “อาการจิตเภท” เพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้าย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จากกรณีการบุกเข้าไปทำร้ายเด็กเล็กรายหนึ่งจนเสียชีวิตในภายหลัง ซึ่งต่อมาก็ทราบบุคคลที่ก่อเหตุนั้น เป็นคนเดียวกันกับที่เคยก่อคดีเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน โดยเธอนั้นก็มีประวัติในเรื่องของ ‘อาการจิตเภท’ รวมอยู่ด้วย ซึ่งใครก็ตามคงไม่อยากให้เหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น ฉะนั้น เราลองมาสังเกตอาการคร่าวๆ กันดีกว่า


สัญญาณเตือนคร่าวๆ “อาการจิตเภท”

-นอนไม่หลับ หรือ นอนมากเกินไป

ถ้ามีการนอนที่ไม่ค่อยหลับ หรือ นอนเยอะไป หรือ มีทั้งสองอาการ ติดต่อนานเกินกว่า 2 อาทิตย์ จนอาจจะทำให้กระทบกับการใช้ชีวิตได้

-อยากแยกตัว หรือเก็บตัวอยู่คนเดียว

จากที่เคยมีชีวิตประจำวันที่ปกติ กลับกลายเป็นว่า อยู่ๆ ก็ไม่อยากทำอะไรแล้ว รวมถึงไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง เกิดความรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ในทุกรูปแบบ

-มีอาการบาดเจ็บทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้

ไม่ว่าจะมีอาการปวดแบบไหนก็ตาม เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย หรือ หน้ามืด ทั้งหมดนี้จะเรียกว่า ภาษาร่างกายแห่งความเครียด

-เบื่ออาหาร

มีอาการไม่อยากกินอะไรเลยจนร่างกายซูบผอม หรือ ทานมากจนเกินไปจนน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว แถมควบคุมในการกินของตนเองไม่ได้

-ไม่มีสมาธิ

มีความไม่สามารถจดจ่อที่จะทำในสิ่งที่ต้องทำได้ในยามปกติ ความคิดอ่านเริ่มลดลง หรือ มีการตัดสินใจในเรื่องธรรมดาก็ยังทำไม่ได้

-มีอาการหุนหันพลันแล่น

อาการนี้จะมีความที่คึกครื้นจนเกินไป มั่นใจในตัวเองมากเกินปกติ มีพลังงานสูงมากผิดปกติ ไม่อยากนอน พูดเร็ว ทำเร็ว แถมบางครั้งมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย หรือจ่ายเงินแบบไม่ยั้งคิดในบางครั้งด้วย

-มีภาวะซึมเศร้า

ในบางครั้ง มักจะโทษตัวเองว่าเป็นคนไร้ค่า สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย คิดว่าตนเองเป็นภาระ หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ รู้สึกสิ้นหวัง หรือในบางครั้งมีความคิดที่จะอยากตาย

จากอาการที่ว่ามา แน่นอนว่าจะต้องมีการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อที่จะให้กลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ มีดังนี้

1.ถ้ามีการตรวจแล้วพบในครั้งแรก แนะนำว่าให้รับเข้าการรักษา เพื่อที่จะมีการรักษาได้เร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรับประทานยา ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ไม่ควรปรับยา หรือหยุดยาเอง เนื่องจากอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้
2.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และ การใช้สารเสพติด
3.ให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่ให้คุณค่ากับอารมณ์ ความรู้สึก เช่น งานอดิเรก หรือ กิจกรรมทางศาสนา
4.ส่งเสริมความเข้าใจในตัวโรคและการดูแลผู้ป่วยกับคนในครอบครัวและสังคม เพราะพวกเขาจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และไม่ควรมองว่าผุ้ป่วยเป็นบุคคลอันตราย หรือหวาดกลัวแก่ผู้ป่วย และ ไม่ควรพูดจาด้วยถ้อยคำรุนแรง เพราะจะทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นได้


กำลังโหลดความคิดเห็น