เอาจริงๆ เราๆ ทั้งหลายก็รู้อยู่แล้วล่ะว่า ถ้าเราดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ แน่นอนว่าจะต้องมีผลเสียที่ตามมา นั่นก็คือ ความอ้วน หรือ โรคเบาหวาน นั่นเอง แต่เครื่องดื่มเหล่านี้ ก็มีความอร่อยเข้ามาซะด้วยสิ คือถ้าให้หยุดดื่มไปเลยก็อาจจะดูเหมือนขาดใจได้ ฉะนั้น เรามาเลือกหาเครื่องดื่มที่จะไม่ส่งผลต่อร่างกายกันดีกว่า
เพราะอะไรถึงต้อง “ลดหวาน”
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้อธิบายว่า โดยเฉลี่ยในแต่ละวันนั้น คนไทยมีการดื่มน้ำที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยกว่า 3 แก้ว หรือ 519.3 มิลลิลิตร และผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง แถมมีการพบว่ากลุ่มเด็กอายุ 6 ถึง 14 ปี เป็นกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มลักษณะดังกล่าวเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด ในขณะเดียวกัน เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลที่วางขายในไทย มีการพบว่าปริมาณน้ำตาลสูง เฉลี่ย 9-19 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณของน้ำตาลที่เหมาะสม คือ ไม่ควรมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และฟันผุ
กินผัก ลดเสี่ยงฟันผุ
ด้าน ทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียในการผลิตกรดที่ทำลายผิวฟันจนลุกลามไปเรื่อยๆ ฉะนั้น หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเน้นการบริโภคผักหรือผลไม้ที่มีเส้นใยเซลลูโลส ก็จะสามารถเจือจางสภาพความเป็นกรดได้เป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น ถั่วต่างๆ นมที่มี แคลเซียม และฟอสเฟตสูง
การลดหวานในเครื่องดื่ม
1.ติดคำว่า “หวานน้อย” เวลาที่สั่งเครื่องดื่มทุกครั้ง
2.ลดการดื่มเครื่องดื่มที่ใส่ไข่มุก เช่น ชานมไข่มุก น้ำอัดลม สมูธตี้ เครื่องดื่มที่ใส่น้ำเชื่อม นมข้นหวาน น้ำตาลในรูปแบบอื่นๆ โดยบริโภคไม่เกิน 1-2 แก้วต่อสัปดาห์เท่านั้น
3.เลือกเครื่องดื่มที่มีการปรุงแต่งน้อยๆ แทนเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีส่วนผสมมากมาย เช่น กาแฟเอสเปรสโซ่, ชาใส เป็นต้น
4.ไม่ใส่ท็อปปิ้งอื่นๆ เพิ่ม เช่น ซอสช็อกโกแลต คาราเมล น้ำตาลเม็ดสีๆ ไอศกรีม ฯลฯ
5.พยายามสั่งแก้วเล็กที่สุดเสมอ
ขณะเดียวกัน ไม่ควรสั่งขนม หรือ ของว่างทานเล่นอื่นๆ พร้อมกับเครื่องดื่ม และอาจจะเพิ่มกฎให้กับตัวเอง เช่นว่า ถ้าวันไหนสั่งเครื่องดื่ม ต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอีก 30 นาที เป็นอย่างน้อย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเปล่า ก็ยังส่งผลดีให้กับร่างกายมากที่สุด ซึ่งถ้าอยากเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ก็สามารถฝานผลไม้ที่ตัวเองชื่นชอบลงไปในแก้วยังได้
เพราะอะไรถึงต้อง “ลดหวาน”
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้อธิบายว่า โดยเฉลี่ยในแต่ละวันนั้น คนไทยมีการดื่มน้ำที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยกว่า 3 แก้ว หรือ 519.3 มิลลิลิตร และผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง แถมมีการพบว่ากลุ่มเด็กอายุ 6 ถึง 14 ปี เป็นกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มลักษณะดังกล่าวเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด ในขณะเดียวกัน เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลที่วางขายในไทย มีการพบว่าปริมาณน้ำตาลสูง เฉลี่ย 9-19 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณของน้ำตาลที่เหมาะสม คือ ไม่ควรมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และฟันผุ
กินผัก ลดเสี่ยงฟันผุ
ด้าน ทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียในการผลิตกรดที่ทำลายผิวฟันจนลุกลามไปเรื่อยๆ ฉะนั้น หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเน้นการบริโภคผักหรือผลไม้ที่มีเส้นใยเซลลูโลส ก็จะสามารถเจือจางสภาพความเป็นกรดได้เป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น ถั่วต่างๆ นมที่มี แคลเซียม และฟอสเฟตสูง
การลดหวานในเครื่องดื่ม
1.ติดคำว่า “หวานน้อย” เวลาที่สั่งเครื่องดื่มทุกครั้ง
2.ลดการดื่มเครื่องดื่มที่ใส่ไข่มุก เช่น ชานมไข่มุก น้ำอัดลม สมูธตี้ เครื่องดื่มที่ใส่น้ำเชื่อม นมข้นหวาน น้ำตาลในรูปแบบอื่นๆ โดยบริโภคไม่เกิน 1-2 แก้วต่อสัปดาห์เท่านั้น
3.เลือกเครื่องดื่มที่มีการปรุงแต่งน้อยๆ แทนเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีส่วนผสมมากมาย เช่น กาแฟเอสเปรสโซ่, ชาใส เป็นต้น
4.ไม่ใส่ท็อปปิ้งอื่นๆ เพิ่ม เช่น ซอสช็อกโกแลต คาราเมล น้ำตาลเม็ดสีๆ ไอศกรีม ฯลฯ
5.พยายามสั่งแก้วเล็กที่สุดเสมอ
ขณะเดียวกัน ไม่ควรสั่งขนม หรือ ของว่างทานเล่นอื่นๆ พร้อมกับเครื่องดื่ม และอาจจะเพิ่มกฎให้กับตัวเอง เช่นว่า ถ้าวันไหนสั่งเครื่องดื่ม ต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอีก 30 นาที เป็นอย่างน้อย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเปล่า ก็ยังส่งผลดีให้กับร่างกายมากที่สุด ซึ่งถ้าอยากเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ก็สามารถฝานผลไม้ที่ตัวเองชื่นชอบลงไปในแก้วยังได้