จุกเสียด แน่นกลางหน้าอก คล้ายๆ อาหารไม่ย่อย อาจไม่ใช่กรดไหลย้อน โรคยอดฮิตของชาวมนุษย์ออฟฟิศ แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะ หลอดเลือดหัวใจตีบที่แฝงตัวอยู่เงียบๆ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ 1 ในกลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ภัยเงียบที่คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุ โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ละเลยเรื่องสุขภาพ หากปล่อยให้โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นแล้ว ทุกวินาที คือ ความเสี่ยงที่อันตรายถึงชีวิตได้
ความน่ากลัวที่ซ่อนอยู่ของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแฝง
จากสถิติผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 21,700 รายต่อปี และในทุกชั่วโมงคนจะเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว เฉลี่ย 2.3 คน หรือวันละ 54 คน (ที่มาของข้อมูล รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/850/Coronaryheartdisease) ที่น่าตกใจยิ่งกว่า คือ มีการพบว่าผู้ป่วยรายใหม่เป็นกลุ่มคนวัยทำงานมากขึ้น และตัวการสำคัญของโรคดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สะสมอยู่ในหลอดเลือดสูงกว่าปกติ
หลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดขึ้นได้อย่างไร
ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจมีไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก นานวันไปหลอดเลือดก็จะค่อยๆ ตีบแคบลง หัวใจก็จะได้รับเลือดหล่อเลี้ยงน้อยลง ออกซิเจนที่ถูกนำลำเลียงไปพร้อมเลือดก็จะลดลงตามไปด้วย และเมื่อหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถส่งหรือลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้อีกต่อไป หัวใจจะขาดออกซิเจน ทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
กรดไหลย้อนหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ?
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนมากแล้วไม่แสดงอาการจนกว่าหลอดเลือดหัวใจตีบเริ่มทวีรุนแรงขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่หลอดเลือดหัวใจตีบเริ่มปรากฏอาการ เช่น ปวดเค้นบริเวณหน้าอกเหมือนถูกสิ่งของทับ อาจปวดร้าวไปถึง แขน ไหล่ซ้าย ข้อศอก ขากรรไกร หรืออาการร้าวลามไปถึงด้านหลัง และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น จุกเสียด แน่นกลางหน้าอก ซึ่งอาการจุกเสียดนี่เองที่ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นอาการของกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน บางครั้งก็พบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง ซึ่งหลายคนเข้าใจไปว่าเกิดจากพักผ่อนน้อย อ่อนเพลียจากการทำงาน ทำให้ชะล่าใจ ไม่ได้ดูแลหรือตรวจเช็คความผิดปกติที่เกิดขึ้น
และเมื่อร่างกายมีการใช้แรงหรือออกกำลังกายหักโหม หรือเกิดความเครียดสูง พักผ่อนน้อย ก็มักจะปรากฏอาการ เช่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่ายเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เมื่อหยุดออกกำลังกายหรือหายเครียดแล้ว อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่หากหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงจนส่งลำเลียงเลือดไปยังหัวใจได้น้อยลง อาการจะทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ มึนงง วูบหมดสติได้ หรืออันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
หลอดเลือดหัวใจตีบในคนวัยทำงาน
จากการเก็บข้อมูลพบว่า คนไทยร้อยละ 80 เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน จากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ จากไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์อุดตันอยู่ภายในหลอดเลือดหัวใจ ที่น่าห่วงกว่า คือ กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งกลุ่มอายุที่พบได้มากขึ้นก็คือ กลุ่มวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง ระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง พฤติกรรมการใช้ชีวิตการกินอยู่ กินอาหารที่มีไขมันสูง รวมไปถึงลักษณะงานที่ทำ นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะเป็นเวลานาน เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ทำให้ขาดการออกกำลังกาย
หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต
หลอดเลือดหัวใจตีบมักไม่แสดงอาการ เมื่อตรวจพบแล้ว การรักษาค่อนข้างยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่จะดีกว่ามั้ย หากเราสามารถปกป้องหลอดเลือดหัวใจและหัวใจให้ห่างไกลจากภาวะหลอดเลือดตีบเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการลดความเสี่ยงการสะสมไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น
1.ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน จากอาหารที่มีไขมันสูงก็เปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำและให้กากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้
2.เพิ่มการออกกำลังกาย วันละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ช่วยเร่งระบบเผาผลาญไขมัน ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
3.เพิ่มไขมันดี (HDL) ให้ร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งไขมันดี (HDL) จากอาหารหลากหลายประเภท เช่น น้ำมันจากพืชอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันงา ผลไม้ที่ให้กากใยสูง ธัญพืชหรือพืชตระกูลถั่ว อะโวคาโด ปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแองโชวี่ ปลาแซลมอน ที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3 สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นสำหรับร่างกาย และเป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองอีกด้วย
โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันโคเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง มักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานน้ำมันปลา แล้วเราจะเลือกกินน้ำมันปลา อย่างไรให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย มาหาคำตอบได้เลย
กินน้ำมันปลาอย่างไรให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย
อย่างที่ทราบกันว่า น้ำมันปลาเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA) และ อีพีเอ (EPA) ที่ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในหลอดเลือด มีส่วนช่วยป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดสมอง ช่วยบำรุงเซลล์ในร่างกาย บำรุงสมองและระบบหลอดเลือด บรรเทาอาการข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ บำรุงสายตา
นอกจากนี้จากการรวบรวมเอาผลวิจัยตั้งแต่ปี 1990-2006 เกี่ยวกับภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดและการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบของน้ำมันปลา พบว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา มีประสิทธิภาพในการช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ประมาณ 20%-50% ซึ่งเทียบเท่ากับยาลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์
แต่จะเลือกน้ำมันปลาให้ร่างกายได้รับประโยชน์ข้างต้นอย่างเต็มที่ จำเป็นและสำคัญมากที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องเลือกน้ำมันปลาที่ใส่ใจตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบที่ปลอดภัย กระบวนการผลิตมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จนถึงบรรจุภัณฑ์ที่คงคุณภาพน้ำมันปลาไว้ได้อย่างครบถ้วน อย่างน้ำมันปลา MEGA WE CARE FISH OIL ที่มั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำมันปลาในทุกเม็ด
วัตถุดิบการผลิตที่เลือกใช้ปลาแองโชวี่ที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างทะเลน้ำลึกของประเทศไอซ์แลนด์จึงปลอดภัยเรื่องสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างจากการเลี้ยง กระบวนการผลิตมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานการผลิตยา
และยังผ่านมาตรการผลิต GMP จากประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้ยังใส่ใจในบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ขวดพลาสติกทึบแสงซึ่งผ่านการทดสอบมาแล้วว่าคงคุณภาพให้กับน้ำมันปลาจนถึงมือผู้บริโภค
ปกป้องหัวใจและหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบแฝง ต้นเหตุของโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ด้วยน้ำมันปลา MEGA WE CARE FISH OIL ที่มีส่วนช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ป้องกันไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด ต้นเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบและ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
สามารถสั่งซื้อ MEGA WE CARE FISH OIL ได้แล้ววันนี้ ที่
WATSONS : http://bit.ly/36uT97R
VITAMIN EXPRESS : http://bit.ly/2U1l2St
ทำความรู้จัก Mega We care Fish oil มากขึ้น เข้าไปได้ที่
Facebook : www.facebook.com/MEGAWecare
Website : www.megawecare.co.th
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)