โรคเท้าเหม็นหรือโรคเท้าเป็นรู Pitted keratolysis เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Micrococcus sedenterius, Corynebacterium species และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อาจมีการติดเชื้อราแทรกซ้อนตามมาได้ และอาจจะทำให้เท้าเป็นหลุมได้ เพราะแบคทีเรียเหล่านี้ เมื่ออยู่ในสภาพความเป็นด่างที่เหมาะสม เช่น เท้าอับชื้น เหงื่อออก ก็จะสร้างเอนไซม์ protease มาย่อยผิวหนังชั้นตื้นให้เป็นรู ๆ ซึ่งส่วนมากมักมีขนาดรูเล็ก ๆ 0.5-1 มม.
ทั้งนี้โรคดังกล่าวมีสาเหตุเกิดจาก การมีเหงื่อออกที่เท้ามาก สวมรองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เท้ามีความอับชื้นเป็นเวลานาน

หากไม่อยากเกิดโรคดังกล่าว เรามีเคล็ดลับและวิธีดูแลเท้าง่าย ๆ มาฝาก ได้แก่
- ทำความสะอาดเท้าวันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) และเช็ดให้แห้งเสมอ
- ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
- ถอดรองเท้าเพื่อลดความอับชื้น
- เลือกรองเท้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติเพื่อช่วยระบายอากาศ
- ใส่ถุงเท้าที่ซักสะอาดและเปลี่ยนคู่ใหม่ทุกวัน
- ใช้สารส้มทาบริเวณเท้า
- ทาโรลออนระงับกลิ่นบริเวณเท้า
- ทาแป้งฝุ่นบริเวณเท้า
แต่หากทำทั้งหมดดังที่กล่าวมาแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็มีการรักษามีหลายวิธี เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยาฟอก ยาทา และยารับประทาน หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัย

ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
ผศ.ดร.พญ.จิตติมา ฐิตวัฒน์
แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.youtube.com/watch?v=7RfHdD3QqL4&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3txbaIMC_S_bd-u-fdvaRGnJnNKxnhzLIBn-RH_OkCiZbn0zgQFm5RF_E
เพจรักร่าง
https://www.facebook.com/100341411433458/posts/130268801774052/?d=n
ทั้งนี้โรคดังกล่าวมีสาเหตุเกิดจาก การมีเหงื่อออกที่เท้ามาก สวมรองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เท้ามีความอับชื้นเป็นเวลานาน
หากไม่อยากเกิดโรคดังกล่าว เรามีเคล็ดลับและวิธีดูแลเท้าง่าย ๆ มาฝาก ได้แก่
- ทำความสะอาดเท้าวันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) และเช็ดให้แห้งเสมอ
- ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
- ถอดรองเท้าเพื่อลดความอับชื้น
- เลือกรองเท้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติเพื่อช่วยระบายอากาศ
- ใส่ถุงเท้าที่ซักสะอาดและเปลี่ยนคู่ใหม่ทุกวัน
- ใช้สารส้มทาบริเวณเท้า
- ทาโรลออนระงับกลิ่นบริเวณเท้า
- ทาแป้งฝุ่นบริเวณเท้า
แต่หากทำทั้งหมดดังที่กล่าวมาแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็มีการรักษามีหลายวิธี เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ยาฟอก ยาทา และยารับประทาน หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัย
ข้อมูลอ้างอิงประกอบ
ผศ.ดร.พญ.จิตติมา ฐิตวัฒน์
แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.youtube.com/watch?v=7RfHdD3QqL4&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3txbaIMC_S_bd-u-fdvaRGnJnNKxnhzLIBn-RH_OkCiZbn0zgQFm5RF_E
เพจรักร่าง
https://www.facebook.com/100341411433458/posts/130268801774052/?d=n