“มะรุม” พืชผักสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย และศรีลังกา อีกทั้งยังเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน รวมถึงประเทศไทย
มะรุม อุดมไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ฯลฯ สามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนู แถมยังมีประโยชน์แทบทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด เปลือก ราก
สรรพคุณในแต่ละส่วนของ มะรุม
“ใบ” มีสรรพคุณสามารถช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้การอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
“ดอก” มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย ขับพยาธิในลำไส้
“ฝัก” มีสรรพคุณลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย
“เมล็ด” แก้อาการปวดตามข้อ บรรเทาอาการหวัด ช่วยให้การขับถ่าย
“เปลือก” ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง
“ราก” ใช้บรรเทาอาการบวม บำรุงหัวใจ และรักษาโรคไขข้อได้ ฯลฯ เป็นต้น
มีผลการวิจัย มะรุม จาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองระดับเซลล์และสัตว์ พบว่า มะรุมออกฤทธิ์ในทางบวกกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต
โดยฤทธิ์ของมะรุมจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองมีทั้งหมด 9 อย่าง ดังนี้
•ลดความดันเลือด จากการทดลองสามารถลดความดันเลือดของหนูแรต และสุนัข
•ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง สารสกัดจากมะรุมสามารถลดจำนวนหนูที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
•ลดระดับคอเลสเตอรอล สามารถลดระดับคอเลสเตอรรอลในหลอดเลือดได้ หลังจากป้อนอาหารที่มีไขมันสูงแก่หนูทดลอง
•ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หลังจากให้ยาแอสไพรินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นให้เกิดแผลภายในกระเพาะอาหาร พบว่าสารสกัดจากมะรุมสามารถต้านและป้องกันการเกิดแผลกระเพาะอาหารได้
•ป้องกันการอักเสบของตับ หลังจากให้ยาพาราเซตามอล และยาไรแฟมพิซินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นการอักเสบของตับ พบว่าหลังจากป้อนสารสกัดจากใบ และดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
•ต้านออกซิเดชัน สารสกัดจากใบ ดอก และราก สามารถต้านอนุมูลอิสระและสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้
•ต้านเชื้อแบคทีเรีย จากการทดลองสารสกัดจากใบ ดอก เมล็ด เปลือกต้น และเปลือกราก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด
•ลดระดับน้ำตาล สารสกัดจากใบและเปลือกลำต้นสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้
•ต้านการอักเสบ ผลการวิจัยพบว่า การอักเสบภายในทางเดินหายใจของหนูตะเภาลดลง เพื่อได้รับสารสกัดจากมะรุม
แม้ว่ามะรุมนั้นจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานด้วยเหมือนกัน และบุคคลดังกล่าวนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
-ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะอาจทำให้มดลูกหดตัวและทำให้แท้งบุตรได้
-ผู้ป่วยโรคเลือด เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
-ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทานมะรุมในปริมาณมากจนเกินไป เพราะมะรุมโปรตีนค่อนข้างสูง
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยารักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวัง เพราะการรับประทานมะรุมจะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาจนทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดต่ำเกิน จนมีการอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลมได้
-ควรรับประทานแต่พอดีเพราะรับประทานมากเกินไปส่งผลให้ท้องเสีย และการรับประทาน “มะรุม” เป็นประจำก็อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ “ตับ” ได้
ข้อมูลประกอบ
medthai.com
http://siamherbs.blogspot.com
มะรุม อุดมไปด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ฯลฯ สามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนู แถมยังมีประโยชน์แทบทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด เปลือก ราก
สรรพคุณในแต่ละส่วนของ มะรุม
“ใบ” มีสรรพคุณสามารถช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้การอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
“ดอก” มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย ขับพยาธิในลำไส้
“ฝัก” มีสรรพคุณลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย
“เมล็ด” แก้อาการปวดตามข้อ บรรเทาอาการหวัด ช่วยให้การขับถ่าย
“เปลือก” ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็ง
“ราก” ใช้บรรเทาอาการบวม บำรุงหัวใจ และรักษาโรคไขข้อได้ ฯลฯ เป็นต้น
มีผลการวิจัย มะรุม จาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองระดับเซลล์และสัตว์ พบว่า มะรุมออกฤทธิ์ในทางบวกกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต
โดยฤทธิ์ของมะรุมจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองมีทั้งหมด 9 อย่าง ดังนี้
•ลดความดันเลือด จากการทดลองสามารถลดความดันเลือดของหนูแรต และสุนัข
•ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง สารสกัดจากมะรุมสามารถลดจำนวนหนูที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
•ลดระดับคอเลสเตอรอล สามารถลดระดับคอเลสเตอรรอลในหลอดเลือดได้ หลังจากป้อนอาหารที่มีไขมันสูงแก่หนูทดลอง
•ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หลังจากให้ยาแอสไพรินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นให้เกิดแผลภายในกระเพาะอาหาร พบว่าสารสกัดจากมะรุมสามารถต้านและป้องกันการเกิดแผลกระเพาะอาหารได้
•ป้องกันการอักเสบของตับ หลังจากให้ยาพาราเซตามอล และยาไรแฟมพิซินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นการอักเสบของตับ พบว่าหลังจากป้อนสารสกัดจากใบ และดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
•ต้านออกซิเดชัน สารสกัดจากใบ ดอก และราก สามารถต้านอนุมูลอิสระและสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้
•ต้านเชื้อแบคทีเรีย จากการทดลองสารสกัดจากใบ ดอก เมล็ด เปลือกต้น และเปลือกราก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด
•ลดระดับน้ำตาล สารสกัดจากใบและเปลือกลำต้นสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้
•ต้านการอักเสบ ผลการวิจัยพบว่า การอักเสบภายในทางเดินหายใจของหนูตะเภาลดลง เพื่อได้รับสารสกัดจากมะรุม
แม้ว่ามะรุมนั้นจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานด้วยเหมือนกัน และบุคคลดังกล่าวนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
-ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะอาจทำให้มดลูกหดตัวและทำให้แท้งบุตรได้
-ผู้ป่วยโรคเลือด เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
-ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทานมะรุมในปริมาณมากจนเกินไป เพราะมะรุมโปรตีนค่อนข้างสูง
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยารักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวัง เพราะการรับประทานมะรุมจะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาจนทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดต่ำเกิน จนมีการอาการหน้ามืด วิงเวียนหรือเป็นลมได้
-ควรรับประทานแต่พอดีเพราะรับประทานมากเกินไปส่งผลให้ท้องเสีย และการรับประทาน “มะรุม” เป็นประจำก็อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ “ตับ” ได้
ข้อมูลประกอบ
medthai.com
http://siamherbs.blogspot.com