ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีคนไทยหลายคนที่ชอบอาหารสชาติจัดจ้าน เนื่องจากอาหารที่มีความเผ็ดมักจะช่วยเพิ่มความอร่อยและความกลมกล่อมของอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอาหารไทย ซึ่ง “ความเผ็ด” นั้นเกิดจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารที่พบได้ในพริก นอกจากนี้ยังมีเครื่องเทศอีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพิ่มความเผ็ดในอาหารด้วย เช่น กระเทียม ขิง ยี่หร่า อบเชย และกะเพรา เป็นต้น
นอกจากเพิ่มความอร่อยให้อาหารแล้วยังมีหลายคนมีความเชื่อว่า “ความเผ็ด” นั้นดีต่อสุขภาพและดีต่อระบบเผาผลาญ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่ในทางกลับกันก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อว่ากินเผ็ดมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน แล้วแบบนี้กินเผ็ดแค่ไหนถึงปลอดภัย?

ประโยชน์ของการกินเผ็ด
เพราะความเผ็ดร้อนในพริกจะทำให้เราหลั่งเหงื่อออกมาคลายความร้อนหรือความเผ็ด
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากในพริกมีวิตามินซีมาก และการกินวิตามินซีมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ช่วยยับยั้งการสร้างสารไตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้
- ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เนื่องจากความเผ็ดร้อนในพริกส่งผลทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดลดไขมัน ป้องกันลิ่มเลือดจับตัว ลดลิ่มเลือดอุดตันตามหลอดเลือด แถมลดความดันได้อีกด้วย
- ช่วยคลายเครียด ทำให้อารมณ์ดี เพราะสารแคปไซซินในพริก ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอนโดรฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข
โทษของการกินเผ็ด
- สารแคปไซซินในพริกทำให้เกิดอาการแสบร้อน และทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ร่างกาย เช่น อาจรู้สึกแสบร้อนภายในปากหลังจากกินอาหารเผ็ด โดยอาการแสบร้อนนี้ถือเป็นกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปากซึ่งอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม เพดานปาก และบริเวณอื่นๆ ภายในช่องปากด้วย
- การรับประทานอาหารรสเผ็ดจึงเกิดอาการระคายเคืองจนแสบร้อนท้องได้ ยิ่งถ้าคนเป็นโรคนี้อยู่แล้วจะทำให้แสบท้องได้มากขึ้น เพราะการกินเผ็ดก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นได้
- การกินพริกในปริมาณมากๆ อาจส่งผลให้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะว่าสารแคปไซซินมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อจะทำให้มีกรดมากไปในกระเพาะอาหาร
- รสเผ็ดทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายทำงานมากขึ้น และมีผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้
- รสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหารดี อาจส่งผลทำให้กินอาหารได้มากขึ้น

กินเผ็ดอย่างไรให้ปลอดภัย?
2.หากรับประทานพริก หรือเครื่องปรุงที่มีรสเผ็ดแล้วรู้สึกทรมาน แสบปาก แสบท้อง ควรหยุดแล้วดื่มน้ำตามเพื่อลดอาการระคายเคืองจากพริกได้
3.หญิงตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังการกินอาหารเผ็ดมากเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้อาหารเผ็ดจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง แต่การกินเผ็ดก็อาจเป็นสาเหตุของอาการแสบร้อนกลางอกได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์ได้
4.ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ฯลฯ ไม่ควรกินเผ็ด เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมถึงผู้ป่วยที่มีไข้ เพิ่งผ่าตัด ควรงดการรับประทานอาหารเผ็ดชั่วคราวด้วย
5.เนื่องจากการกินเผ็ดอาจส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดอย่างโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง ซึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะด้วย อย่างไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม

นอกจากเพิ่มความอร่อยให้อาหารแล้วยังมีหลายคนมีความเชื่อว่า “ความเผ็ด” นั้นดีต่อสุขภาพและดีต่อระบบเผาผลาญ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่ในทางกลับกันก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อว่ากินเผ็ดมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน แล้วแบบนี้กินเผ็ดแค่ไหนถึงปลอดภัย?
ประโยชน์ของการกินเผ็ด
เพราะความเผ็ดร้อนในพริกจะทำให้เราหลั่งเหงื่อออกมาคลายความร้อนหรือความเผ็ด
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากในพริกมีวิตามินซีมาก และการกินวิตามินซีมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ช่วยยับยั้งการสร้างสารไตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้
- ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เนื่องจากความเผ็ดร้อนในพริกส่งผลทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดลดไขมัน ป้องกันลิ่มเลือดจับตัว ลดลิ่มเลือดอุดตันตามหลอดเลือด แถมลดความดันได้อีกด้วย
- ช่วยคลายเครียด ทำให้อารมณ์ดี เพราะสารแคปไซซินในพริก ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอนโดรฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข
โทษของการกินเผ็ด
- สารแคปไซซินในพริกทำให้เกิดอาการแสบร้อน และทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ร่างกาย เช่น อาจรู้สึกแสบร้อนภายในปากหลังจากกินอาหารเผ็ด โดยอาการแสบร้อนนี้ถือเป็นกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปากซึ่งอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม เพดานปาก และบริเวณอื่นๆ ภายในช่องปากด้วย
- การรับประทานอาหารรสเผ็ดจึงเกิดอาการระคายเคืองจนแสบร้อนท้องได้ ยิ่งถ้าคนเป็นโรคนี้อยู่แล้วจะทำให้แสบท้องได้มากขึ้น เพราะการกินเผ็ดก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นได้
- การกินพริกในปริมาณมากๆ อาจส่งผลให้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะว่าสารแคปไซซินมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อจะทำให้มีกรดมากไปในกระเพาะอาหาร
- รสเผ็ดทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายทำงานมากขึ้น และมีผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้
- รสเผ็ดช่วยให้เจริญอาหารดี อาจส่งผลทำให้กินอาหารได้มากขึ้น
กินเผ็ดอย่างไรให้ปลอดภัย?
2.หากรับประทานพริก หรือเครื่องปรุงที่มีรสเผ็ดแล้วรู้สึกทรมาน แสบปาก แสบท้อง ควรหยุดแล้วดื่มน้ำตามเพื่อลดอาการระคายเคืองจากพริกได้
3.หญิงตั้งครรภ์ ควรระมัดระวังการกินอาหารเผ็ดมากเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้อาหารเผ็ดจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง แต่การกินเผ็ดก็อาจเป็นสาเหตุของอาการแสบร้อนกลางอกได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์ได้
4.ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ฯลฯ ไม่ควรกินเผ็ด เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง รวมถึงผู้ป่วยที่มีไข้ เพิ่งผ่าตัด ควรงดการรับประทานอาหารเผ็ดชั่วคราวด้วย
5.เนื่องจากการกินเผ็ดอาจส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดอย่างโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง ซึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะด้วย อย่างไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม