คนวัยทำงานมักมีปัญหาในเรื่องปวดหลังมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยส่วนใหญ่

สาเหตุของอาการปวดหลังของวัยทำงาน
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า จากข้อมูลของคลินิกโรคจากการทำงานของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พบว่า มีผู้เข้ามารับการรักษาส่วนใหญ่ป่วยด้วยในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดคอ โดยมีเหตุมาจาก 2 ปัจจัย คือ
1.จากตัวบุคคลเอง กล่าวคือ คนที่มีอายุที่มากมีความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ปวดหลังได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว อาจจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคกระดูกสันหลัง หรือมีน้ำหนักตัวที่มาก โดยมีผู้ชายมีโอกาสปวดหลังมากกว่าผู้หญิง ในลักษณะทำงาน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หลังไม่เพียงพออาจทำให้ปวดหลังได้
2.จากสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ งานที่ต้องออกแรงมาก ทำให้กระทบต่อกล้ามเนื้อหรือหมอนรองกระดูก ท่าทางเวลายกของอาจจะไม่ถูกต้อง เช่น ยกของที่สูงกว่าระดับศีรษะหรือต้องก้มหลังยก อาจมีการเอี้ยวไปเอี้ยวมา ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเอ็นทำให้ปวดหลัง รวมทั้งอาจเป็นด้วยสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การยกของในพื้นที่ที่ไม่เรียบ พื้นที่คับแคบ
อาการปวดหลัง จุดเริ่มของโรคอันตรายต่างๆ
ผู้ที่ปวดหลังจากการทำงานร้อยละ 90 มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะเป็นการปวดหลังที่รุนแรง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น ซึ่งถ้าเกิดอาการไม่รุนแรงมาก การได้ลาพักผ่อนหรือกินยาแก้ปวดอาจจะหายได้ไม่นาน แต่ถ้าจำพวกที่มีอาการรุนแรงมากอาจจะต้องมีการผ่าตัด
ขณะเดียวกัน นายจ้างควรจัดสภาพการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการแนะนำท่าทางที่ถูกต้องในการยกของ นอกจากนี้ อาจต้องใช้เครื่องจักรมาทำงานแทนในงานที่ต้องมีการยกหรือทำงานนั้นตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดอาการปวดหลังในระหว่างการทำงาน ควรเริ่มจากการเลือกนั่งบนเก้าอี้ และโต๊ะที่เหมาะสมกับการทำงาน ปรับระดับให้วางมือ และคอให้ดี เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง แต่ถ้ายังมีอาการปวดหลังมาก และเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์
สาเหตุของอาการปวดหลังของวัยทำงาน
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า จากข้อมูลของคลินิกโรคจากการทำงานของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พบว่า มีผู้เข้ามารับการรักษาส่วนใหญ่ป่วยด้วยในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดคอ โดยมีเหตุมาจาก 2 ปัจจัย คือ
1.จากตัวบุคคลเอง กล่าวคือ คนที่มีอายุที่มากมีความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ปวดหลังได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว อาจจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคกระดูกสันหลัง หรือมีน้ำหนักตัวที่มาก โดยมีผู้ชายมีโอกาสปวดหลังมากกว่าผู้หญิง ในลักษณะทำงาน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หลังไม่เพียงพออาจทำให้ปวดหลังได้
2.จากสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ งานที่ต้องออกแรงมาก ทำให้กระทบต่อกล้ามเนื้อหรือหมอนรองกระดูก ท่าทางเวลายกของอาจจะไม่ถูกต้อง เช่น ยกของที่สูงกว่าระดับศีรษะหรือต้องก้มหลังยก อาจมีการเอี้ยวไปเอี้ยวมา ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและเอ็นทำให้ปวดหลัง รวมทั้งอาจเป็นด้วยสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การยกของในพื้นที่ที่ไม่เรียบ พื้นที่คับแคบ
อาการปวดหลัง จุดเริ่มของโรคอันตรายต่างๆ
ผู้ที่ปวดหลังจากการทำงานร้อยละ 90 มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะเป็นการปวดหลังที่รุนแรง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น ซึ่งถ้าเกิดอาการไม่รุนแรงมาก การได้ลาพักผ่อนหรือกินยาแก้ปวดอาจจะหายได้ไม่นาน แต่ถ้าจำพวกที่มีอาการรุนแรงมากอาจจะต้องมีการผ่าตัด
ขณะเดียวกัน นายจ้างควรจัดสภาพการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการแนะนำท่าทางที่ถูกต้องในการยกของ นอกจากนี้ อาจต้องใช้เครื่องจักรมาทำงานแทนในงานที่ต้องมีการยกหรือทำงานนั้นตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดอาการปวดหลังในระหว่างการทำงาน ควรเริ่มจากการเลือกนั่งบนเก้าอี้ และโต๊ะที่เหมาะสมกับการทำงาน ปรับระดับให้วางมือ และคอให้ดี เปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมง แต่ถ้ายังมีอาการปวดหลังมาก และเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์