องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าภาระของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2562-2573 ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกจะป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 5-10% ต่อปี และเด็กจะป่วย 20-30% ต่อปี ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 1,000 ล้านคน เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดรุนแรง 3-5 ล้านคน เสียชีวิต 2.9-6.5 แสนคนต่อปี สำหรับประเทศไทยปีนี้โรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเร็วกว่าปกติ 2-3 เดือน โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายนที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 130 ราย เสียชีวิต 9 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 7-9 ปี จำนวนของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2561
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ สาขาวิชาโรคติดเชื้อและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กวัคซีน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ในแต่ละปีมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เมื่อคนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อาจจะมีอาการรุนแรงมาก อาจพบภาวะปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือจากเชื้อแบคทีเรียที่มาซ้ำเติม นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านการไอจามรดกันและการสัมผัสเชื้อทางมือ
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ขอรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงมารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนวัคซีนแบบ 3 สายพันธุ์ โดยเพิ่มจาก 3.5 ล้านโด๊สในปี พ.ศ. 2561 เป็น 4 ล้านโด๊สในปีนี้
สำหรับผู้ป่วย 7 กลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย 1) หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2) เด็กเล็ก 6 เดือน-3 ปี 3) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็งระหว่างได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน 4) ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) 5) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6) โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และ 7) โรคอ้วน (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปหรือ BMI 35 ขึ้นไป)
หลายปีที่ผ่านมามีประชาชนกลุ่มเสี่ยงมารับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพียง 10% ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก ปีนี้หน่วยงานต่างๆ จึงมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากขึ้น พร้อมแนะนำให้ฉีดเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตามหากประชาชนรับรู้ แต่เพิกเฉย ไม่ลงมือปฏิบัติ ก็ย่อมไม่เกิดผลดีทั้งต่อตนเอง คนใกล้ชิด สังคม และประเทศชาติ ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของวัคซีนและเกิดประสิทธิผลต่อกลุ่มเสี่ยง โดยชมรมฯ ได้จัดกิจกรรมสำหรับสมาชิกจำนวนเกือบ 200 คน เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และมีบริการฉีดวัคซีนให้กับสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมด้วย
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีให้เลือกใช้สองชนิดคือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเชื้อไวรัสชนิดเอ จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสชนิดบี จำนวน 1 สายพันธุ์ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเชื้อไวรัสชนิดเอ จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสชนิดบี จำนวน 2 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์เล็กน้อย แต่มีราคาสูงกว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันโรคได้ดีในระดับปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ระบาดในช่วงเวลานั้นๆ ตรงตามสายพันธุ์ที่บรรจุไว้ในวัคซีนหรือไม่
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กล่าวแนะนำให้ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นคนกลุ่มเสี่ยงมาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงมีความปลอดภัยสูง มีผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ แต่อาการจะดีขึ้นและหายไปได้เองภายใน 1-2 วัน หรืออาจมีอาการบวมเฉพาะบริเวณที่ฉีดซึ่งมักไม่รุนแรงและหายได้เอง
เนื่องด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในคนกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะผู้สูงอายุได้ไม่ดีเท่ากับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป โดยสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่ต่ำกว่า จึงแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนด้วย เพื่อไม่ให้คนที่เรารักป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และยังช่วยไม่ให้แพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มายังคนในครอบครัว
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กล่าวทิ้งท้ายว่า “หลายคนมักเข้าใจผิดว่าฉีดวัคซีนแล้วยังป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขออธิบายว่า ไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ดังนั้นเมื่อฉีดวัคซีนแล้ว โอกาสในการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคจะลดลง การฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีคุณค่าอย่างมาก”
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ สาขาวิชาโรคติดเชื้อและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กวัคซีน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ในแต่ละปีมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เมื่อคนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อาจจะมีอาการรุนแรงมาก อาจพบภาวะปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือจากเชื้อแบคทีเรียที่มาซ้ำเติม นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านการไอจามรดกันและการสัมผัสเชื้อทางมือ
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ขอรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงมารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนวัคซีนแบบ 3 สายพันธุ์ โดยเพิ่มจาก 3.5 ล้านโด๊สในปี พ.ศ. 2561 เป็น 4 ล้านโด๊สในปีนี้
สำหรับผู้ป่วย 7 กลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย 1) หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2) เด็กเล็ก 6 เดือน-3 ปี 3) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็งระหว่างได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน 4) ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) 5) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6) โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และ 7) โรคอ้วน (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปหรือ BMI 35 ขึ้นไป)
หลายปีที่ผ่านมามีประชาชนกลุ่มเสี่ยงมารับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพียง 10% ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก ปีนี้หน่วยงานต่างๆ จึงมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากขึ้น พร้อมแนะนำให้ฉีดเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตามหากประชาชนรับรู้ แต่เพิกเฉย ไม่ลงมือปฏิบัติ ก็ย่อมไม่เกิดผลดีทั้งต่อตนเอง คนใกล้ชิด สังคม และประเทศชาติ ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของวัคซีนและเกิดประสิทธิผลต่อกลุ่มเสี่ยง โดยชมรมฯ ได้จัดกิจกรรมสำหรับสมาชิกจำนวนเกือบ 200 คน เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และมีบริการฉีดวัคซีนให้กับสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมด้วย
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีให้เลือกใช้สองชนิดคือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเชื้อไวรัสชนิดเอ จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสชนิดบี จำนวน 1 สายพันธุ์ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยเชื้อไวรัสชนิดเอ จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสชนิดบี จำนวน 2 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์เล็กน้อย แต่มีราคาสูงกว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันโรคได้ดีในระดับปานกลาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ระบาดในช่วงเวลานั้นๆ ตรงตามสายพันธุ์ที่บรรจุไว้ในวัคซีนหรือไม่
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กล่าวแนะนำให้ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นคนกลุ่มเสี่ยงมาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงมีความปลอดภัยสูง มีผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ แต่อาการจะดีขึ้นและหายไปได้เองภายใน 1-2 วัน หรืออาจมีอาการบวมเฉพาะบริเวณที่ฉีดซึ่งมักไม่รุนแรงและหายได้เอง
เนื่องด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในคนกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะผู้สูงอายุได้ไม่ดีเท่ากับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป โดยสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่ต่ำกว่า จึงแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนด้วย เพื่อไม่ให้คนที่เรารักป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และยังช่วยไม่ให้แพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มายังคนในครอบครัว
รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ กล่าวทิ้งท้ายว่า “หลายคนมักเข้าใจผิดว่าฉีดวัคซีนแล้วยังป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขออธิบายว่า ไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ดังนั้นเมื่อฉีดวัคซีนแล้ว โอกาสในการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคจะลดลง การฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีคุณค่าอย่างมาก”