คุณเป็นคนหนึ่งที่มีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์หนัก รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ มีสภาวะความเครียดสูง เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น “โรคหลอดเลือดสมอง” ได้

เส้นเลือดในสมองแตก เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้ และเมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตายจึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มากขึ้น
โดยสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ ใบหน้าบิดเบี้ยว น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ สับสนมึนงง ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัวและการเคลื่อนไหว สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย เป็นต้น

นอกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากโรคประจำตัว ส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก ได้แก่
1. ภาวะความดันโลหิตสูง
เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ของโรคหลอดเลือดสมอง เพราะสามารถสร้างความเสียหายและทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายให้อ่อนแอลงจนหลอดเลือดสามารถแตกหรืออุดตันได้ง่ายขึ้น
2.คอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่ก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงซึ่งจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองได้
3.ไขมันในเลือดสูง
เพราะมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด กีดขวางการลำเลียงเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
4.โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง
ส่งผลทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานมากถึง 4 เท่า (ข้อมูลจาก National Stroke Association)
5.โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้
ส่วนอีกสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงที่มักจะเลี่ยงไม่ได้คือ อายุที่สูงวัยขึ้น, พันธุกรรม, เพศ, เชื้อชาติ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้สามารถป้องกันหรือควบคุมได้ถ้าได้รับการใส่ใจดูแล แต่ถ้าปล่อยให้สะสมไว้นานๆ อาจทำให้โรคก่อตัวรุนแรงขึ้น
การป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตก


ข้อมูลประกอบจาก
www.honestdocs.co
www.pobpad.com
เส้นเลือดในสมองแตก เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้ และเมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตายจึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มากขึ้น
โดยสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ ใบหน้าบิดเบี้ยว น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ สับสนมึนงง ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัวและการเคลื่อนไหว สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย เป็นต้น
นอกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากโรคประจำตัว ส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตก ได้แก่
1. ภาวะความดันโลหิตสูง
เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ของโรคหลอดเลือดสมอง เพราะสามารถสร้างความเสียหายและทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายให้อ่อนแอลงจนหลอดเลือดสามารถแตกหรืออุดตันได้ง่ายขึ้น
2.คอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่ก่อให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงซึ่งจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองได้
3.ไขมันในเลือดสูง
เพราะมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด กีดขวางการลำเลียงเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
4.โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง
ส่งผลทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานมากถึง 4 เท่า (ข้อมูลจาก National Stroke Association)
5.โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้
ส่วนอีกสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงที่มักจะเลี่ยงไม่ได้คือ อายุที่สูงวัยขึ้น, พันธุกรรม, เพศ, เชื้อชาติ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้สามารถป้องกันหรือควบคุมได้ถ้าได้รับการใส่ใจดูแล แต่ถ้าปล่อยให้สะสมไว้นานๆ อาจทำให้โรคก่อตัวรุนแรงขึ้น
การป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตก
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ควบคุมน้ำหนักและรูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ไม่สูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่พอดี และไม่บ่อยจนเกินไป
- ตรวจความดันโลหิตและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษาควบคุมความดันโลหิต ต้องรับประทานยาอย่างถูกต้องเป็นประจำตามคำสั่งแพทย์
- ตรวจหาระดับไขมันในเลือด
- ตรวจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- หากป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรเข้ารับการรักษา รับประทานยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ข้อมูลประกอบจาก
www.honestdocs.co
www.pobpad.com