BY: Pharmchompoo
แม้จะผ่านช่วงวันหยุดยาวแบบสงกรานต์มาแล้ว แต่เชื่อว่าบทความนี้ยังน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ เทศกาลที่มีวันหยุดยาวเสมอๆ
บทความนี้จะแบ่งปันเรื่องความสำคัญ ความจำเป็นของการไม่ลืมนำยาติดตัวไปทุกครั้งที่มีการเดินทาง เพราะยาเป็นปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะในโรคบางโรคที่มีความสำคัญ การไม่ได้รับยาอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียมากเกินกว่าจะคาดเดาได้

ต้องทำความเข้าใจอย่างหนึ่งว่าโรคบางโรคมีความจำเป็นที่จะต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการ โดยเฉพาะที่เน้นอย่างจริงจังคือจำพวกโรคติดเชื้อที่ต้องกินยาต่อเนื่องและตรงเวลาเพราะอาจมีผลต่อประสิทธิผลที่จะได้รับจากการรักษา โรคที่เน้นย้ำก็มักจะเป็นโรคติดเชื้อเอช ไอ วี โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบ ซี (ที่ปัจจุบันมียารับประทานแล้ว) การกินยาไม่ตรงเวลา หรือลืมกินยาบ่อย ๆ จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการกดไวรัสลดลงมากและอาจส่งผลเลยเถิดไปถึงการทำให้เชื้อดื้อยาและรักษาด้วยยาเดิมไม่ได้ผล โรควัณโรค กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่สำคัญๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งพวกนี้ไม่สามารถขาดยาได้
ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นคือ ในแต่ละสถานที่ (ไม่ต้องเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ เอาแค่กรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดก็พอ) ยาที่ขายในท้องที่หรือในสถานพยาบาลไม่เหมือนกัน และยาพวกนี้ก็ไม่อาจทดแทนกันได้ บางคนที่ลืมพกยาติดตัวมาแล้วหวังจะไปหาซื้อเอาข้างหน้าก็อาจผิดหวัง หลายกรณีที่ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลเอกชนแล้วลืมเอายาไปและไม่สามารถหาซื้อยาทดแทนได้ เพราะยาที่กินเป็นยาต้นแบบ (original) ที่สถานพยาบาลหลายที่อาจไม่มี หรือกระทั่งเป็นยาสามัญ (generic) ที่สถานพยาบาลแต่ละที่มียี่ห้อไม่เหมือนกัน อีกประเด็นคือยี่ห้อยาที่เปลี่ยนไป สำหรับยาบางชนิดผู้ป่วยอาจมีการตอบสนองต่อยาแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน (แม้จะเป็นยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน) และทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา

ข้อควรรู้อีกประการคือ สำหรับผู้สูงอายุ หรือคนที่กินยาหลายอย่าง วิธีการกินยาไม่เหมือนกัน อาจจำเป็นต้องเขียนไว้ที่กล่องยาทุกกล่อง บางคนอาจจะต้องทำสติ๊กเกอร์แปะเพิ่มเติมไว้เอง (ในกรณีที่จัดยากินเอง) เพราะหลายคนกินยาจากกล่องที่มีสติ๊กเกอร์ยาที่ได้รับมาจากห้องยาก่อน แล้วก็ทิ้งกล่องไป ทำให้จำวิธีการกินในกล่องที่เหลือไม่ได้ ซึ่งหลายคนอาจใช้วิธีการโทรศัพท์มาสอบถามประวัติรายการยาที่ตัวเองได้รับจากโรงพยาบาลที่ตัวเองรักษาอยู่ (ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายรายที่ทำแบบนี้) ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงมาก
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีมิจฉาชีพ ผู้ไม่หวังดีเป็นจำนวนมาก จุดประสงค์เดิมที่มีการส่งต่อข้อมูลการรักษา (โดยเฉพาะประวัติการได้รับยา) จะเป็นระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรักษา การสั่งใช้ยา เพราะยังต้องยอมรับว่า ผู้ป่วยยังมีค่านิยมในการ “ช้อปปิ้งไปตามโรงพยาบาล” ต่างๆ เช่น รักษาโรคชนิดหนึ่งแล้วไม่หาย ก็ไปรักษาที่อีกโรงพยบาลหนึ่ง หรือรักษาแต่ละโรคที่โรงพยาบาลแตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลการรักษาไม่ถูกส่งต่อกัน (น้อยมากที่ผู้ป่วยจะบอกแพทย์ว่ารักษา หรือกินยาอะไรอยู่บ้าง) เมื่อมีการโทรศัพท์สอบถามประวัติการได้รับยา หรือ วิธีการกินยาโดยผู้ป่วยไปตามโรงพยาบาลก็จะมีความเสี่ยงในการถูกเปิดเผยข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งประวัติการรักษา หรือประวัติการใช้ยา กระทั่งประวัติการแพ้ยาแพ้อาหารถือเป็นข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว (confidentiality) สูงมาก
หลายคนอาจคิดว่าไม่มีอะไร แต่ถ้าหากวันหนึ่งที่ต้องมีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่อยากให้ใครรับทราบ และมีการถูกล่วงรู้โดยบังเอิญก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ (จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันในหลายสถานพยาบาลไม่มีการแสดงรายชื่อผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแล้ว และหลายสถานพยาบาลที่ห้องจ่ายยา หรือคลินิกที่เรียกเข้าพบแพทย์จะใช้ระบบเรียกผู้รับบริการด้วยรหัสคิวหรือแสดงหมายเลขบนกระดานไฟฟ้า ไม่มีการเรียกชื่อผู้รับบริการแล้วเพื่อปกปิดความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ)

จากเรื่องการเตรียมหยูกยาไถลไกลไปถึงเรื่องสิทธิผู้ป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เป็นหัวใจพื้นฐานสำคัญของการให้บริการ (โดยเฉพาะเรื่องยา ความปลอดภัยและสิทธิผู้ป่วย/ผู้รับบริการจะมาเป็นอันดับแรกเสมอ) วกกลับมาเรื่องการเตรียมยาเวลาเดินทางไกล ผู้ป่วยอาจจะต้องบันทึกหรือทำ checklist ว่ามียาอะไรที่จะต้องเอาไปบ้างนอกเหนือจากยาที่เตรียมไว้กรณีฉุกเฉิน อาจจะต้องเผื่อยาไปอีก 2-3 วัน เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จะได้ไม่ต้องขาดยา
การเดินทางข้ามโซนเวลา ผู้ป่วยอาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะเดินทางเพื่อปรับเวลาการกินยาใหม่ (ถ้าจำเป็น) วิธีการเก็บยาที่ถูกต้อง เช่น ไว้กับตนเอง หรือในภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิ (ถ้าจำเป็น) การเปลี่ยนรูปแบบยาหากการเดินทางไม่อำนวยให้กินยาได้ตามปกติ การปรับยาเข้ากับมื้ออาหาร เมื่อมีการเดินทางนานๆ เพียงเท่านี้ทุกคนก็เดินทางได้อย่างมั่นใจ ไม่ขาดยาอีกต่อไป
แม้จะผ่านช่วงวันหยุดยาวแบบสงกรานต์มาแล้ว แต่เชื่อว่าบทความนี้ยังน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ เทศกาลที่มีวันหยุดยาวเสมอๆ
บทความนี้จะแบ่งปันเรื่องความสำคัญ ความจำเป็นของการไม่ลืมนำยาติดตัวไปทุกครั้งที่มีการเดินทาง เพราะยาเป็นปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะในโรคบางโรคที่มีความสำคัญ การไม่ได้รับยาอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียมากเกินกว่าจะคาดเดาได้
ต้องทำความเข้าใจอย่างหนึ่งว่าโรคบางโรคมีความจำเป็นที่จะต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอาการ โดยเฉพาะที่เน้นอย่างจริงจังคือจำพวกโรคติดเชื้อที่ต้องกินยาต่อเนื่องและตรงเวลาเพราะอาจมีผลต่อประสิทธิผลที่จะได้รับจากการรักษา โรคที่เน้นย้ำก็มักจะเป็นโรคติดเชื้อเอช ไอ วี โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบ ซี (ที่ปัจจุบันมียารับประทานแล้ว) การกินยาไม่ตรงเวลา หรือลืมกินยาบ่อย ๆ จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการกดไวรัสลดลงมากและอาจส่งผลเลยเถิดไปถึงการทำให้เชื้อดื้อยาและรักษาด้วยยาเดิมไม่ได้ผล โรควัณโรค กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่สำคัญๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งพวกนี้ไม่สามารถขาดยาได้
ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นคือ ในแต่ละสถานที่ (ไม่ต้องเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ เอาแค่กรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดก็พอ) ยาที่ขายในท้องที่หรือในสถานพยาบาลไม่เหมือนกัน และยาพวกนี้ก็ไม่อาจทดแทนกันได้ บางคนที่ลืมพกยาติดตัวมาแล้วหวังจะไปหาซื้อเอาข้างหน้าก็อาจผิดหวัง หลายกรณีที่ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลเอกชนแล้วลืมเอายาไปและไม่สามารถหาซื้อยาทดแทนได้ เพราะยาที่กินเป็นยาต้นแบบ (original) ที่สถานพยาบาลหลายที่อาจไม่มี หรือกระทั่งเป็นยาสามัญ (generic) ที่สถานพยาบาลแต่ละที่มียี่ห้อไม่เหมือนกัน อีกประเด็นคือยี่ห้อยาที่เปลี่ยนไป สำหรับยาบางชนิดผู้ป่วยอาจมีการตอบสนองต่อยาแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน (แม้จะเป็นยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน) และทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา
ข้อควรรู้อีกประการคือ สำหรับผู้สูงอายุ หรือคนที่กินยาหลายอย่าง วิธีการกินยาไม่เหมือนกัน อาจจำเป็นต้องเขียนไว้ที่กล่องยาทุกกล่อง บางคนอาจจะต้องทำสติ๊กเกอร์แปะเพิ่มเติมไว้เอง (ในกรณีที่จัดยากินเอง) เพราะหลายคนกินยาจากกล่องที่มีสติ๊กเกอร์ยาที่ได้รับมาจากห้องยาก่อน แล้วก็ทิ้งกล่องไป ทำให้จำวิธีการกินในกล่องที่เหลือไม่ได้ ซึ่งหลายคนอาจใช้วิธีการโทรศัพท์มาสอบถามประวัติรายการยาที่ตัวเองได้รับจากโรงพยาบาลที่ตัวเองรักษาอยู่ (ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายรายที่ทำแบบนี้) ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงมาก
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีมิจฉาชีพ ผู้ไม่หวังดีเป็นจำนวนมาก จุดประสงค์เดิมที่มีการส่งต่อข้อมูลการรักษา (โดยเฉพาะประวัติการได้รับยา) จะเป็นระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรักษา การสั่งใช้ยา เพราะยังต้องยอมรับว่า ผู้ป่วยยังมีค่านิยมในการ “ช้อปปิ้งไปตามโรงพยาบาล” ต่างๆ เช่น รักษาโรคชนิดหนึ่งแล้วไม่หาย ก็ไปรักษาที่อีกโรงพยบาลหนึ่ง หรือรักษาแต่ละโรคที่โรงพยาบาลแตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลการรักษาไม่ถูกส่งต่อกัน (น้อยมากที่ผู้ป่วยจะบอกแพทย์ว่ารักษา หรือกินยาอะไรอยู่บ้าง) เมื่อมีการโทรศัพท์สอบถามประวัติการได้รับยา หรือ วิธีการกินยาโดยผู้ป่วยไปตามโรงพยาบาลก็จะมีความเสี่ยงในการถูกเปิดเผยข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งประวัติการรักษา หรือประวัติการใช้ยา กระทั่งประวัติการแพ้ยาแพ้อาหารถือเป็นข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว (confidentiality) สูงมาก
หลายคนอาจคิดว่าไม่มีอะไร แต่ถ้าหากวันหนึ่งที่ต้องมีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่อยากให้ใครรับทราบ และมีการถูกล่วงรู้โดยบังเอิญก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ (จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันในหลายสถานพยาบาลไม่มีการแสดงรายชื่อผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแล้ว และหลายสถานพยาบาลที่ห้องจ่ายยา หรือคลินิกที่เรียกเข้าพบแพทย์จะใช้ระบบเรียกผู้รับบริการด้วยรหัสคิวหรือแสดงหมายเลขบนกระดานไฟฟ้า ไม่มีการเรียกชื่อผู้รับบริการแล้วเพื่อปกปิดความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ)
จากเรื่องการเตรียมหยูกยาไถลไกลไปถึงเรื่องสิทธิผู้ป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เป็นหัวใจพื้นฐานสำคัญของการให้บริการ (โดยเฉพาะเรื่องยา ความปลอดภัยและสิทธิผู้ป่วย/ผู้รับบริการจะมาเป็นอันดับแรกเสมอ) วกกลับมาเรื่องการเตรียมยาเวลาเดินทางไกล ผู้ป่วยอาจจะต้องบันทึกหรือทำ checklist ว่ามียาอะไรที่จะต้องเอาไปบ้างนอกเหนือจากยาที่เตรียมไว้กรณีฉุกเฉิน อาจจะต้องเผื่อยาไปอีก 2-3 วัน เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จะได้ไม่ต้องขาดยา
การเดินทางข้ามโซนเวลา ผู้ป่วยอาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะเดินทางเพื่อปรับเวลาการกินยาใหม่ (ถ้าจำเป็น) วิธีการเก็บยาที่ถูกต้อง เช่น ไว้กับตนเอง หรือในภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิ (ถ้าจำเป็น) การเปลี่ยนรูปแบบยาหากการเดินทางไม่อำนวยให้กินยาได้ตามปกติ การปรับยาเข้ากับมื้ออาหาร เมื่อมีการเดินทางนานๆ เพียงเท่านี้ทุกคนก็เดินทางได้อย่างมั่นใจ ไม่ขาดยาอีกต่อไป
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |