นิ้วล็อค ปัญหาหลักของคนที่ใช้มือทำงานเป็นประจำ เช่น อาชีพครูที่จะต้องจับปากกา หรือชอล์กเขียนกระดานเป็นเวลานาน หรือช่างตัดผมที่จะต้องใช้มือ หรือนิ้ว ในการจับกรรไกรไว้ตลอด เป็นต้น ซึ่งการหยิบจับสิ่งของ หรือใช้อุปกรณ์เป็นเวลานานเป็นต้นเหตุของการเกิดอาการนิ้วล็อคได้ ดังนั้นเราจึงนำวิธีแก้นิ้วล็อคง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งหมอมาฝากกัน
โรคนิ้วล็อค คือ โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อ และกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือ และแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น และอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืด หรืองอได้ตามปกติ
นิ้วล็อคเกิดได้จาก
1. การใช้งานมากทำให้เอ็นโคนนิ้วอักเสบ เช่น อาชีพแม่บ้านหิ้วของหนักนานๆ คั้นน้ำส้ม ซักผ้า บิดผ้า เป็นต้น
2. ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ไขมันใต้ฝ่ามือหายไปเกิดพังผืดมายึดแทน มักพบเป็นทีละนิ้ว หรือ บางทีเป็นหลายๆ นิ้วพร้อมกัน เนื่องจากการใช้งานมาก ส่วนนิ้วก้อยจะพบน้อย
3. สภาวะการเจริญของเนื้อเยื่อของกระเปาะเอ็นเจริญไม่สัมพันธ์กัน มักพบในเด็กเล็กๆ พบบ่อยที่สุดคือนิ้วโป้ง
อาการนิ้วล็อค
- โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
- นิ้วขัด หรือสะดุด ในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือ สามารถเหยียดออกได้เอง
- นิ้วล็อค หรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้ คือเหยียดไม่ออก หรืองอไม่ลง
ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อค
- ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
- ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
- ระยะที่ 3 นิ้วล็อค ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
- ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ
วิธีแก้อาการนิ้วล็อค
1. แช่น้ำอุ่น 10-15 นาที การใช้น้ำอุ่นหรือความร้อน ช่วยทำให้การปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ และนิ้วมือลดน้อยลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
วิธีทำ : นำไพล ขมิ้นชัน มะกรูด หั่นพอหยาบๆ ต้มลงในน้ำเดือด 15 นาที ยกขึ้น นำมาผสมน้ำเย็น จนกว่าจะอุ่นๆ หรือหากไม่สะดวกต่อการหาสมุนไพร ก็ใช้น้ำเปล่าอย่างเดียว แล้วใช้มือข้างที่มีอาการแช่ลงในน้ำอุ่น หรือใช้ทั้งสองมือก็ได้ แช่ไว้นาน 10-15 นาที จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หรือพันไว้ เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้ไม่ให้เย็นเฉียบพลัน แนะนำให้ทำทุกวันในตอนเช้า
2. นวดมือ 10 นาที การนวดมือเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ระบบไหลเวียนเลือดดี ไปเลี้ยงเซลล์ที่ต้องการได้ สำหรับจุดที่ต้องเน้นในการนวด คือ
จุดที่ 1 บริเวณแขนเหนือข้อมือ 2 นิ้ว (โดยการใช้สองนิ้วมือทาบ) แล้วใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 2,3 บริเวณเนินอุ้งมือที่สูงสุด ทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 4 บริเวณกึ่งกลางฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 5 บริเวณข้อนิ้วมือ ทุกข้อ ใช้นิ้วโป้งกดดันข้อนิ้วมือเข้าจุดศูนย์กลางข้อทั้ง 4 มุม (ล่างซ้ายขวา และบนซ้ายขวา) กดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
นอกจากนี้ถ้าวันไหนไม่สะดวกทำวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถใช้ท่าการบริหารยึดเหยียดนิ้วมือร่วมด้วย โดยการกำมือ แบมือเซ็ตละ 10 ครั้ง ซึ่งหากอยากได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องทำเป็นประจำ
วิธีที่กล่าวมาข้างต้น จะใช้ได้ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการ หรือเป็นมาไม่นาน ส่วนผู้ที่มีอาการหนัก หรืองอนิ้วไม่ได้เลย อาจจะช่วยได้เพียงเล็กน้อย หากมีอาการงอนิ้วไม่ได้เลยแนะนำให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุด
ข่าวโดย : เพ็ญญาเรีย บุญประเสริฐ
โรคนิ้วล็อค คือ โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อ และกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือ และแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น และอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืด หรืองอได้ตามปกติ
นิ้วล็อคเกิดได้จาก
1. การใช้งานมากทำให้เอ็นโคนนิ้วอักเสบ เช่น อาชีพแม่บ้านหิ้วของหนักนานๆ คั้นน้ำส้ม ซักผ้า บิดผ้า เป็นต้น
2. ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ไขมันใต้ฝ่ามือหายไปเกิดพังผืดมายึดแทน มักพบเป็นทีละนิ้ว หรือ บางทีเป็นหลายๆ นิ้วพร้อมกัน เนื่องจากการใช้งานมาก ส่วนนิ้วก้อยจะพบน้อย
3. สภาวะการเจริญของเนื้อเยื่อของกระเปาะเอ็นเจริญไม่สัมพันธ์กัน มักพบในเด็กเล็กๆ พบบ่อยที่สุดคือนิ้วโป้ง
อาการนิ้วล็อค
- โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
- นิ้วขัด หรือสะดุด ในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือ สามารถเหยียดออกได้เอง
- นิ้วล็อค หรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้ คือเหยียดไม่ออก หรืองอไม่ลง
ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อค
- ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
- ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
- ระยะที่ 3 นิ้วล็อค ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
- ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ
วิธีแก้อาการนิ้วล็อค
1. แช่น้ำอุ่น 10-15 นาที การใช้น้ำอุ่นหรือความร้อน ช่วยทำให้การปวด การอักเสบของกล้ามเนื้อ และนิ้วมือลดน้อยลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
วิธีทำ : นำไพล ขมิ้นชัน มะกรูด หั่นพอหยาบๆ ต้มลงในน้ำเดือด 15 นาที ยกขึ้น นำมาผสมน้ำเย็น จนกว่าจะอุ่นๆ หรือหากไม่สะดวกต่อการหาสมุนไพร ก็ใช้น้ำเปล่าอย่างเดียว แล้วใช้มือข้างที่มีอาการแช่ลงในน้ำอุ่น หรือใช้ทั้งสองมือก็ได้ แช่ไว้นาน 10-15 นาที จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้ง หรือพันไว้ เพื่อรักษาอุณหภูมิไว้ไม่ให้เย็นเฉียบพลัน แนะนำให้ทำทุกวันในตอนเช้า
2. นวดมือ 10 นาที การนวดมือเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ระบบไหลเวียนเลือดดี ไปเลี้ยงเซลล์ที่ต้องการได้ สำหรับจุดที่ต้องเน้นในการนวด คือ
จุดที่ 1 บริเวณแขนเหนือข้อมือ 2 นิ้ว (โดยการใช้สองนิ้วมือทาบ) แล้วใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 2,3 บริเวณเนินอุ้งมือที่สูงสุด ทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 4 บริเวณกึ่งกลางฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
จุดที่ 5 บริเวณข้อนิ้วมือ ทุกข้อ ใช้นิ้วโป้งกดดันข้อนิ้วมือเข้าจุดศูนย์กลางข้อทั้ง 4 มุม (ล่างซ้ายขวา และบนซ้ายขวา) กดค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ
นอกจากนี้ถ้าวันไหนไม่สะดวกทำวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถใช้ท่าการบริหารยึดเหยียดนิ้วมือร่วมด้วย โดยการกำมือ แบมือเซ็ตละ 10 ครั้ง ซึ่งหากอยากได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องทำเป็นประจำ
วิธีที่กล่าวมาข้างต้น จะใช้ได้ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการ หรือเป็นมาไม่นาน ส่วนผู้ที่มีอาการหนัก หรืองอนิ้วไม่ได้เลย อาจจะช่วยได้เพียงเล็กน้อย หากมีอาการงอนิ้วไม่ได้เลยแนะนำให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุด
ข่าวโดย : เพ็ญญาเรีย บุญประเสริฐ