“หมูกรอบ” ทำมาจากหมูสามชั้น นำมาหมักกับเครื่องปรุงที่ใช้เกลือปรุงรส หรือซีอิ๊วต่างๆ แล้วนำไปทอดในน้ำมันท่วมๆ จนกรอบ เป็นอาหารที่หลายคนโปรดปรานเป็นพิเศษ ก็แหมมันอร่อยหนิใครจะไปอดใจไหวล่ะเนอะ แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจำแล้วล่ะก็ อาจนำมาซึงความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ได้เป็น 10 โรคเชียวล่ะ
หมูกรอบเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
1.โรคอ้วน และอ้วนลงพุง เพราะหมูกรอบทำมาจากหมูสามชั้นที่มีไขมันอิ่มตัวสูงรวมไปถึงการทอดด้วยน้ำมัน และน้ำมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูงเช่นกัน ซึ่งหมูกรอบเปล่าๆ 100 กรัมให้พลังงานถึง 385-420 แคลอรี และมีไขมันถึง 30 กรัม โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 กิโลแคลอรี่ ดังนั้นเมื่อบริโภคน้ำมันเข้าไปก็จะทำให้มีโอกาสได้รับพลังงานเกิน หากรับประทานบ่อยๆ ทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้
2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากผู้ที่มีภาวะอ้วน หัวใจจะทำงานหนักมากกว่าคนปกติ เพราะหัวใจจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงให้เพียงพอทั่วร่างกายในระยะยาว จึงก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติได้
3.โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมูกรอบโดยส่วนมากแล้วจะใช้ไขมันที่มาจากน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันหมู อาจมีการใช้น้ำมันพืชบ้าง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งน้ำมันปาล์มกับน้ำมันหมูจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ข้อดีของน้ำมันในกลุ่มนี้คือสามารถทนต่อความร้อนได้ดีกว่าเพราะมีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่า แต่ไขมันชนิดนี้ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ ไขมันอิ่มตัวจะไปเพิ่มระดับของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลตัวนี้อยู่ในร่างกายมากจะทำให้เสี่ยงต่อโรคนี้ได้
4.โรคมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เพราะการที่น้ำมันผ่านความร้อนสูงโครงสร้างของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้ขายใช้น้ำมันสำหรับทอดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารอะคริลาไมด์ที่มักพบในอาหารที่ทอด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเมื่อร่างกายได้รับสารอะคริลาไมด์สะสมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด
5.โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคมะเร็งปอด ไอของน้ำมันที่ยิ่งทอดซ้ำ ยิ่งมีสารพิษโพลีไซคลิก อะโรมาติก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับที่พบในควันจากรถยนต์ ไฟจากการหุงต้ม หรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทอดอาหารจนน้ำมันร้อน ที่จุดหนึ่งไอน้ำมันจะระเหยอยู่ในอากาศ เมื่อสูดเข้าไปในร่างกายแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคของระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งปอดได้
6.โรคไต เพราะความเค็มที่ได้มาจากการหมักหมู ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันโดยที่เกลือไม่ควรเกิน 5 กรัม/วัน เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา (หรือเทียบได้กับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน) ข้าวหมูกรอบ 1 จานจะมีโซเดียมอยู่ที่ 700-1,000 มิลลิกรัม
7.โรคเบาหวาน เพราะผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และการรับประทานโซเดียมเยอะก็ยังเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วย
8.โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในหมูกรอบมีโซเดียมสูงอาจนำมาซึ่งโรคดังกล่าวได้เช่นกัน อีกทั้งการทอดในน้ำมันซ้ำๆ จะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารโพลาร์ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง
ทั้งนี้แล้วนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องเลิกรับประทานหมูกรอบไปตลอดชีวิต แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม 1 สัปดาห์ควรไม่เกิน 1-2 ครั้ง และเลือกรับประทานกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักสด ผักต้ม แทนการกินหมูกรอบกับอาหารทอดอย่างอื่นหรือผัดน้ำมัน นอกจากนี้แล้วควรออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อช่วยลดไขมันสะสมที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมานั่นเอง
ข้อมูลจาก เพจ Pleasehealth Books , เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดยดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมูกรอบเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
1.โรคอ้วน และอ้วนลงพุง เพราะหมูกรอบทำมาจากหมูสามชั้นที่มีไขมันอิ่มตัวสูงรวมไปถึงการทอดด้วยน้ำมัน และน้ำมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูงเช่นกัน ซึ่งหมูกรอบเปล่าๆ 100 กรัมให้พลังงานถึง 385-420 แคลอรี และมีไขมันถึง 30 กรัม โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 กิโลแคลอรี่ ดังนั้นเมื่อบริโภคน้ำมันเข้าไปก็จะทำให้มีโอกาสได้รับพลังงานเกิน หากรับประทานบ่อยๆ ทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้
2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากผู้ที่มีภาวะอ้วน หัวใจจะทำงานหนักมากกว่าคนปกติ เพราะหัวใจจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงให้เพียงพอทั่วร่างกายในระยะยาว จึงก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติได้
3.โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมูกรอบโดยส่วนมากแล้วจะใช้ไขมันที่มาจากน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันหมู อาจมีการใช้น้ำมันพืชบ้าง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งน้ำมันปาล์มกับน้ำมันหมูจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ข้อดีของน้ำมันในกลุ่มนี้คือสามารถทนต่อความร้อนได้ดีกว่าเพราะมีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่า แต่ไขมันชนิดนี้ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ ไขมันอิ่มตัวจะไปเพิ่มระดับของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลตัวนี้อยู่ในร่างกายมากจะทำให้เสี่ยงต่อโรคนี้ได้
4.โรคมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เพราะการที่น้ำมันผ่านความร้อนสูงโครงสร้างของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้ขายใช้น้ำมันสำหรับทอดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารอะคริลาไมด์ที่มักพบในอาหารที่ทอด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเมื่อร่างกายได้รับสารอะคริลาไมด์สะสมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด
5.โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคมะเร็งปอด ไอของน้ำมันที่ยิ่งทอดซ้ำ ยิ่งมีสารพิษโพลีไซคลิก อะโรมาติก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับที่พบในควันจากรถยนต์ ไฟจากการหุงต้ม หรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทอดอาหารจนน้ำมันร้อน ที่จุดหนึ่งไอน้ำมันจะระเหยอยู่ในอากาศ เมื่อสูดเข้าไปในร่างกายแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคของระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งปอดได้
6.โรคไต เพราะความเค็มที่ได้มาจากการหมักหมู ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันโดยที่เกลือไม่ควรเกิน 5 กรัม/วัน เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา (หรือเทียบได้กับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน) ข้าวหมูกรอบ 1 จานจะมีโซเดียมอยู่ที่ 700-1,000 มิลลิกรัม
7.โรคเบาหวาน เพราะผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และการรับประทานโซเดียมเยอะก็ยังเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วย
8.โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในหมูกรอบมีโซเดียมสูงอาจนำมาซึ่งโรคดังกล่าวได้เช่นกัน อีกทั้งการทอดในน้ำมันซ้ำๆ จะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารโพลาร์ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง
ทั้งนี้แล้วนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องเลิกรับประทานหมูกรอบไปตลอดชีวิต แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม 1 สัปดาห์ควรไม่เกิน 1-2 ครั้ง และเลือกรับประทานกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักสด ผักต้ม แทนการกินหมูกรอบกับอาหารทอดอย่างอื่นหรือผัดน้ำมัน นอกจากนี้แล้วควรออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อช่วยลดไขมันสะสมที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมานั่นเอง
ข้อมูลจาก เพจ Pleasehealth Books , เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดยดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล