การขับถ่ายของคนเรานั้น อาจจะเรียกได้ว่าไม่เข้าใครออกใครจริงๆ เพราะถ้ามีความจำเป็นที่จะใส่ชุดที่ดูดีออกไปงานต่างๆ หรือ ถ้ามีความอยากถ่ายแต่ไม่ถ่าย จนสุดท้ายเดือดร้อนคนรอบข้างที่จะต้องหาของมาทานเพื่อช่วยในเรื่องดังกล่าว หรือบางรายที่ต้องพึ่งยาถ่ายอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัจจัยที่ว่ามานี้ อาจจะทำให้มี ‘ภาวะอุจจาระอุดตัน’ ได้
อะไรคือ “ภาวะอุจจาระอุดตัน”
ภาวะอุจจาระอุตตัน คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน
ใครสามารถเสี่ยงกับภาวะนี้
ภาวะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย หากเป็นวัยเด็กเล็ก อาจจะเกิดจากการไม่อยากถ่ายในระหว่างการฝึกเข้าห้องน้ำ, มีการติดเล่นจนไม่อยากหยุดเล่นเพื่อเข้าห้องน้ำ, กลัวคุณครูดุในระหว่างการเรียนจนอดทนไม่ลุกจากเก้าอี้ หรือ บางรายถึงขั้นไม่ชอบถ่ายนอกบ้าน จนมีความพยายามที่จะกลับไปปลดทุกข์ที่บ้าน
ส่วนทางด้านผู้ใหญ่ อาจจะมาจากการกลั้นการขับถ่ายในระหว่างการเดินทาง หรือสถานการณ์ต่างๆ จนไม่สามารถที่จะเข้าห้องน้ำได้ เช่น อยู่บนรถ ประชุม ระหว่างการสอบ และ คนชราที่อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวที่น้อยลง และ กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงตามอายุ ไปจนถึงไม่สะดวกที่จะลุกไปเข้าห้องน้ำได้ จากทั้งผู้ดูแลที่ไม่สามารถพาเข้าไป หรือ ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวเดินเหินไม่สะดวก เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยง “ภาวะอุจจาระอุดตัน”
1.ดื่มน้ำไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง
2.รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป เช่น ผู้ที่ไม่ทานผักผลไม้ หรือผู้ที่ทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป
3.ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย
4.มีอาการท้องผูกบ่อยๆ จากสาเหตุข้างต้น
5.มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าคนปกติ
6.มีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง
7.รับประทานยาที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นระยะเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
8.มีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ หรือ โรคซึมเศร้า ที่อาจส่งผลจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตการทานอาหาร เป็นต้น
อาการของภาวะดังกล่าว
-ปวดท้องแบบบีบๆ
-ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
-คลื่นไส้ อาเจียน
-เบ่งอุจจาระอย่างแรงเกือบทุกครั้งที่ถ่าย
-อุจจาระเป็นก้อนเล็ก และแข็ง อาจจะบาดจนรู้สึกเจ็บทวารหนัก
-มีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด อุจจาระไม่หมดท้อง
-มีเลือดออกจากปากทวารหนัก หลังอุจจาระ
-บางครั้งอาจรู้สึกว่ามีอุจจาระ หรือปัสสาวะเล็ด
-รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างมากดในส่วนของกระเพาะปัสสาวะ
-ปวดหลังส่วนล่าง
การรักษา
หากมีการตรวจพบว่าเกิดภาวะดังกล่าว ทางแพทย์ผู้ตรวจ อาจจะใช้นิ้วมือสอดเข้าไปกวาดอุจจาระออกมาทางทวารหนัก หรือ อาจจะพิจารณาวิธีอื่น เช่น สวนทวารหนัก เหน็บยา หรือ ให้ยาต่างๆ หากมีอาการหนักอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ ซึ่งกรณีหลังนั้นยังมีการพบได้น้อยมาก
วิธีลดความเสี่ยง
ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือมากต่อความต้องการในแต่ละวัน ทานผักผลไม้และอาหารที่มีกากใยอาหารมากๆ อย่ากลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา น้อยต้องให้ได้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งจากที่กล่าวมาก็สามารถทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวได้
อะไรคือ “ภาวะอุจจาระอุดตัน”
ภาวะอุจจาระอุตตัน คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน
ใครสามารถเสี่ยงกับภาวะนี้
ภาวะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย หากเป็นวัยเด็กเล็ก อาจจะเกิดจากการไม่อยากถ่ายในระหว่างการฝึกเข้าห้องน้ำ, มีการติดเล่นจนไม่อยากหยุดเล่นเพื่อเข้าห้องน้ำ, กลัวคุณครูดุในระหว่างการเรียนจนอดทนไม่ลุกจากเก้าอี้ หรือ บางรายถึงขั้นไม่ชอบถ่ายนอกบ้าน จนมีความพยายามที่จะกลับไปปลดทุกข์ที่บ้าน
ส่วนทางด้านผู้ใหญ่ อาจจะมาจากการกลั้นการขับถ่ายในระหว่างการเดินทาง หรือสถานการณ์ต่างๆ จนไม่สามารถที่จะเข้าห้องน้ำได้ เช่น อยู่บนรถ ประชุม ระหว่างการสอบ และ คนชราที่อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวที่น้อยลง และ กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรงตามอายุ ไปจนถึงไม่สะดวกที่จะลุกไปเข้าห้องน้ำได้ จากทั้งผู้ดูแลที่ไม่สามารถพาเข้าไป หรือ ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวเดินเหินไม่สะดวก เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยง “ภาวะอุจจาระอุดตัน”
1.ดื่มน้ำไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง
2.รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป เช่น ผู้ที่ไม่ทานผักผลไม้ หรือผู้ที่ทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป
3.ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย
4.มีอาการท้องผูกบ่อยๆ จากสาเหตุข้างต้น
5.มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าคนปกติ
6.มีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง
7.รับประทานยาที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นระยะเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
8.มีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ หรือ โรคซึมเศร้า ที่อาจส่งผลจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตการทานอาหาร เป็นต้น
อาการของภาวะดังกล่าว
-ปวดท้องแบบบีบๆ
-ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
-คลื่นไส้ อาเจียน
-เบ่งอุจจาระอย่างแรงเกือบทุกครั้งที่ถ่าย
-อุจจาระเป็นก้อนเล็ก และแข็ง อาจจะบาดจนรู้สึกเจ็บทวารหนัก
-มีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด อุจจาระไม่หมดท้อง
-มีเลือดออกจากปากทวารหนัก หลังอุจจาระ
-บางครั้งอาจรู้สึกว่ามีอุจจาระ หรือปัสสาวะเล็ด
-รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างมากดในส่วนของกระเพาะปัสสาวะ
-ปวดหลังส่วนล่าง
การรักษา
หากมีการตรวจพบว่าเกิดภาวะดังกล่าว ทางแพทย์ผู้ตรวจ อาจจะใช้นิ้วมือสอดเข้าไปกวาดอุจจาระออกมาทางทวารหนัก หรือ อาจจะพิจารณาวิธีอื่น เช่น สวนทวารหนัก เหน็บยา หรือ ให้ยาต่างๆ หากมีอาการหนักอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ ซึ่งกรณีหลังนั้นยังมีการพบได้น้อยมาก
วิธีลดความเสี่ยง
ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือมากต่อความต้องการในแต่ละวัน ทานผักผลไม้และอาหารที่มีกากใยอาหารมากๆ อย่ากลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา น้อยต้องให้ได้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งจากที่กล่าวมาก็สามารถทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวได้