ใครที่ชอบรับประทานอาหารมื้อดึก หรือชอบหิวมื้อดึกบ้าง ยกมือขึ้น!! หลายคนอาจจะตอบว่าผมเอง เราเอง หรือฉันเองทำเป็นประจำเลย เพราะด้วยบางคนมีภาระหน้าที่การงานทำให้มีความจำเป็นต้องทำให้กินตอนดึกๆ เพราะไหน กว่าจะเลิกงาน กว่าจะเดินทางกลับถึงบ้านก็ค่ำไปแล้ว กลับบ้านมาถึงก็หิว หิวแล้วก็กิน กินแล้วก็อาบน้ำนอน ซึ่งวงจรชีวิตแบบนี้แหละที่อาจทำให้คุณเสี่ยงโรคโดยไม่รู้ตัว แล้วการรับประทานมื้อดึกจะเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง?
1. โรคกรดไหลย้อน
การรับประทานมื้อดึกจะเป็นการฝึกให้กระเพาะและระบบทางเดินอาหารทำงานผิดเวลาโดยไม่จำเป็น แล้วยิ่งหากรับประทานอิ่มแล้วล้มตัวลงนอนทันทีจะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากภาวะที่ “น้ำย่อย” หรือกรดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อน จุกแน่น หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งถ้ามีกรดไหลย้อนมากขึ้น ปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ภาวะกรดไหลย้อนอาจจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้นทางที่ดีควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงจะดีกว่า
2. โรคเบาหวาน
การรับประทานอาหารในตอนกลางคืนจะส่งผลให้ระดับอินซูลินและคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ยิ่งถ้าหากคุณเป็นโรคดังกล่าวอยู่แล้วจะยิ่งทำให้โรคกำเริบได้
3. โรคหัวใจ
การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีไขมันเยอะๆ ในมื้อดึก จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ เพราะเนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง แถมยังใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานอีกด้วย
4. โรคอ้วน
การรับประทานมื้อดึกติดต่อกันจะทำให้คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีระบบการเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพลดลง และยิ่งหากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งไปเพิ่มไขมันไตรกลีเซอไรด์ให้สูงขึ้น ซึ่งไม่เพียงเสี่ยงต่อโรคอ้วนเท่านั้น แต่ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจอย่างที่ได้บอกไปข้างต้น รวมถึงโรคเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
5. โรคความดันโลหิตสูง
โรคเพชฌฆาตเงียบภัยร้ายที่ใกล้ตัวคุณ ซึ่งมีข้อมูลจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในตุรกี ได้ทำการสำรวจและติดตามพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 721 คนที่มีอายุเฉลี่ย 53 ปี ผลสำรวจพบว่าผู้ที่ทานอาหารก่อนนอนสองชั่วโมงจะมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าคนที่ไม่ทานถึง 2.8 เท่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ความดันโลหิตจะลดลงอย่างน้อย 10% หลังจากเรานอนหลับไปแล้ว
ดังนั้นการทานมื้อดึกส่งผลให้คนที่มีความเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวนี้อยู่แล้วมีอาการกำเริบได้ ดังนั้นควรหันมารับประทานอาหารให้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารเค็ม เน้นทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
6. โรคนอนไม่หลับ
เนื่องจากหลังทานอาหารเข้าไปแล้ว ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยฮอร์โมน ทำให้ร่างกายทำงานอยู่ตลอดเวลา และหากรับประทานอาหารเข้าไปให้กระเพาะอาหารทำงานย่อยในตอนกลางคืนแล้วล่ะก็ จะทำให้มีปัญหากับการนอนหลับ ทำให้คุณต้องตื่นมากลางดึกได้
หมายเหตุ
-ถ้าด้วยงานทำให้มีเหตุจำเป็นต้องรับประทานมื้อดึก ให้คุณเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำแต่มีคุณประโยชน์สูง อย่างเช่น ผัก ผลไม้ นมรสจืด น้ำเต้าหู้ไม่หวาน แทนการรับประทานอาหารมื้อหนัก เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด บุฟเฟต์ เป็นต้น
-หากอยากหายขาดจากการรับประทานอาหารมื้อดึก ไม่ควรงดอาหารมื้อเช้า รับประทานอาหารให้ตรงเวลา จะได้ทำให้มื้อดึกหิวน้อยลง
-ถ้าเป็นไปได้อาจหาเวลาเบรก หาอะไรรับประทานก่อนกลับบ้านเพื่อที่ระหว่างกลับบ้านจะได้มีเวลาให้กระเพาะได้ย่อยก่อน
-ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง แต่ทางที่ดีถ้ารับประทานได้ก่อน 19.00น. จะดีที่สุด เพราะมีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่าการรับประทานอาหารในช่วงก่อนเวลา 19.00 น. จะส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งจากฮอร์โมนความหิว (เกรลิน) และ ฮอร์โมนความอิ่ม (เลปติน) ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มท้องได้นานกว่าการกินอาหารช่วงกลางคืน
1. โรคกรดไหลย้อน
การรับประทานมื้อดึกจะเป็นการฝึกให้กระเพาะและระบบทางเดินอาหารทำงานผิดเวลาโดยไม่จำเป็น แล้วยิ่งหากรับประทานอิ่มแล้วล้มตัวลงนอนทันทีจะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากภาวะที่ “น้ำย่อย” หรือกรดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อน จุกแน่น หลอดอาหารเกิดการอักเสบ ซึ่งถ้ามีกรดไหลย้อนมากขึ้น ปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ภาวะกรดไหลย้อนอาจจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้นทางที่ดีควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงจะดีกว่า
2. โรคเบาหวาน
การรับประทานอาหารในตอนกลางคืนจะส่งผลให้ระดับอินซูลินและคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ยิ่งถ้าหากคุณเป็นโรคดังกล่าวอยู่แล้วจะยิ่งทำให้โรคกำเริบได้
3. โรคหัวใจ
การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีไขมันเยอะๆ ในมื้อดึก จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ เพราะเนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง แถมยังใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานอีกด้วย
4. โรคอ้วน
การรับประทานมื้อดึกติดต่อกันจะทำให้คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีระบบการเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพลดลง และยิ่งหากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งไปเพิ่มไขมันไตรกลีเซอไรด์ให้สูงขึ้น ซึ่งไม่เพียงเสี่ยงต่อโรคอ้วนเท่านั้น แต่ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจอย่างที่ได้บอกไปข้างต้น รวมถึงโรคเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
5. โรคความดันโลหิตสูง
โรคเพชฌฆาตเงียบภัยร้ายที่ใกล้ตัวคุณ ซึ่งมีข้อมูลจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในตุรกี ได้ทำการสำรวจและติดตามพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 721 คนที่มีอายุเฉลี่ย 53 ปี ผลสำรวจพบว่าผู้ที่ทานอาหารก่อนนอนสองชั่วโมงจะมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าคนที่ไม่ทานถึง 2.8 เท่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ความดันโลหิตจะลดลงอย่างน้อย 10% หลังจากเรานอนหลับไปแล้ว
ดังนั้นการทานมื้อดึกส่งผลให้คนที่มีความเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวนี้อยู่แล้วมีอาการกำเริบได้ ดังนั้นควรหันมารับประทานอาหารให้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารเค็ม เน้นทานผักผลไม้ให้มากขึ้น
6. โรคนอนไม่หลับ
เนื่องจากหลังทานอาหารเข้าไปแล้ว ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยฮอร์โมน ทำให้ร่างกายทำงานอยู่ตลอดเวลา และหากรับประทานอาหารเข้าไปให้กระเพาะอาหารทำงานย่อยในตอนกลางคืนแล้วล่ะก็ จะทำให้มีปัญหากับการนอนหลับ ทำให้คุณต้องตื่นมากลางดึกได้
หมายเหตุ
-ถ้าด้วยงานทำให้มีเหตุจำเป็นต้องรับประทานมื้อดึก ให้คุณเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำแต่มีคุณประโยชน์สูง อย่างเช่น ผัก ผลไม้ นมรสจืด น้ำเต้าหู้ไม่หวาน แทนการรับประทานอาหารมื้อหนัก เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด บุฟเฟต์ เป็นต้น
-หากอยากหายขาดจากการรับประทานอาหารมื้อดึก ไม่ควรงดอาหารมื้อเช้า รับประทานอาหารให้ตรงเวลา จะได้ทำให้มื้อดึกหิวน้อยลง
-ถ้าเป็นไปได้อาจหาเวลาเบรก หาอะไรรับประทานก่อนกลับบ้านเพื่อที่ระหว่างกลับบ้านจะได้มีเวลาให้กระเพาะได้ย่อยก่อน
-ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง แต่ทางที่ดีถ้ารับประทานได้ก่อน 19.00น. จะดีที่สุด เพราะมีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่าการรับประทานอาหารในช่วงก่อนเวลา 19.00 น. จะส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งจากฮอร์โมนความหิว (เกรลิน) และ ฮอร์โมนความอิ่ม (เลปติน) ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มท้องได้นานกว่าการกินอาหารช่วงกลางคืน