By: Pharmchompoo
เรื่องเดิม ๆ ที่พูดกันได้ไม่เบื่อคือ ปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น (drug abuse) ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่ทำการแก้ปัญหาเชิงรุกอย่างเป็นระบบ เยาวชนของชาติซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าก็จะสูญเสียไปก่อนเวลาอันควร
ยาที่จะเอามาพูดถึงกันในวันนี้อีกครั้งคือยาทรามาดอล (tramadol) ซึ่งผู้เขียนเองก็เพิ่งทราบ ศัพท์แสลงกันในหมู่วัยรุ่นว่า “ยาแท็กซี่” (นัยว่ามีสีเขียวเหลือง ตามสีรถแท้กซี่) หรือยาว้าบ อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
อันที่จริงแล้ว สมัยก่อนที่ยานี้จะฮิตในหมู่นักเสพ ยานี้มีคุณประโยชน์มากในการระงับความปวดของคนไข้ที่มีความปวดปานกลางถึงรุนแรงจากภาวะต่างๆ เช่น การผ่าตัด อาการปวดจากมะเร็ง แต่พอยานี้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดอย่างแพร่หลาย ยานี้ก็ได้รับการยกระดับการควบคุมให้เข้มงวดขึ้น หาซื้อยากมากขึ้น แต่ก็ยังสามารถขายได้ในร้านขายยาแผนปัจจุบันแต่ต้องทำบัญชีรับ-จ่ายไว้เพื่อแสดงแก่เจ้าหน้าที่ และห้ามจ่ายให้ผู้มาซื้อเกินกว่า 20 แคปซูล/ครั้ง และห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีทุกกรณี
กระนั้นก็ยังไม่สามารถปราบปราม หรือทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดลดลงได้ เพราะจุดการกระจายยาไปอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ขายทีละน้อย ๆ ซึ่งล่าสุดก็ปรากฎเป็นข่าวเกรียวกราวอยู่พอสมควรที่มีการแบ่ง tramadol ขายทีละ 5 เม็ด 10 เม็ด สนนราคาค่อนข้างสูง
“ทรามาดอล” หรือยาว้าบ มีสรรพคุณที่เด่นชัดมากในการทำให้เคลิบเคลิ้ม จากการที่ตัวยาออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย เพ้อฝัน หลอน ที่สำคัญใช้ง่าย (รายละเอียดวิธีการใช้คงจะไม่นำเสนอในที่นี้) และยากต่อการตรวจจับ เพราะเท่าที่ทราบยังไม่สามารถตรวจด้วยเทคนิค color test แบบการตรวจยาบ้า ยาไอซ์ในปัสสาวะ ทำให้ยานี้กระจายการนำไปใช้ในวงกว้าง
ผลที่ตามมาจากการใช้ทรามาดอลเกินขนาด (โดยมากวัยรุ่นจะใช้ในขนาด 5-10 เม็ด บางรายก็ 20 เม็ด) คือการกดการหายใจ อาจถึงแก่ชีวิตได้ถ้าใช้ร่วมกับยานอนหลับบางประเภท หรือกินร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อีกประการ คือการเสพทรามาดอลเกินขนาดจะเกิดอาการที่เรียกว่า “เซอโรโตนิน ซินโดรม” (serotonin syndrome) อันเป็นกลไกที่เชื่อมโยงมาจากฤทธิ์ของทรามาดอลเอง เมื่อเกิด “เซอโรโตนิน ซินโดรม” ผู้เสพอาจจะมีอาการเกร็งกระตุก หรือชัก หมดสติ ซึ่งหากใครช่วยไม่ทันก็สามารถเสียชีวิตได้ แบบที่มีข่าวมาแล้ว
ที่มา : http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=4326
เรื่องเดิม ๆ ที่พูดกันได้ไม่เบื่อคือ ปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น (drug abuse) ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่ทำการแก้ปัญหาเชิงรุกอย่างเป็นระบบ เยาวชนของชาติซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าก็จะสูญเสียไปก่อนเวลาอันควร
ยาที่จะเอามาพูดถึงกันในวันนี้อีกครั้งคือยาทรามาดอล (tramadol) ซึ่งผู้เขียนเองก็เพิ่งทราบ ศัพท์แสลงกันในหมู่วัยรุ่นว่า “ยาแท็กซี่” (นัยว่ามีสีเขียวเหลือง ตามสีรถแท้กซี่) หรือยาว้าบ อันนี้ไม่แน่ใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
อันที่จริงแล้ว สมัยก่อนที่ยานี้จะฮิตในหมู่นักเสพ ยานี้มีคุณประโยชน์มากในการระงับความปวดของคนไข้ที่มีความปวดปานกลางถึงรุนแรงจากภาวะต่างๆ เช่น การผ่าตัด อาการปวดจากมะเร็ง แต่พอยานี้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดอย่างแพร่หลาย ยานี้ก็ได้รับการยกระดับการควบคุมให้เข้มงวดขึ้น หาซื้อยากมากขึ้น แต่ก็ยังสามารถขายได้ในร้านขายยาแผนปัจจุบันแต่ต้องทำบัญชีรับ-จ่ายไว้เพื่อแสดงแก่เจ้าหน้าที่ และห้ามจ่ายให้ผู้มาซื้อเกินกว่า 20 แคปซูล/ครั้ง และห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีทุกกรณี
กระนั้นก็ยังไม่สามารถปราบปราม หรือทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดลดลงได้ เพราะจุดการกระจายยาไปอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ขายทีละน้อย ๆ ซึ่งล่าสุดก็ปรากฎเป็นข่าวเกรียวกราวอยู่พอสมควรที่มีการแบ่ง tramadol ขายทีละ 5 เม็ด 10 เม็ด สนนราคาค่อนข้างสูง
“ทรามาดอล” หรือยาว้าบ มีสรรพคุณที่เด่นชัดมากในการทำให้เคลิบเคลิ้ม จากการที่ตัวยาออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย เพ้อฝัน หลอน ที่สำคัญใช้ง่าย (รายละเอียดวิธีการใช้คงจะไม่นำเสนอในที่นี้) และยากต่อการตรวจจับ เพราะเท่าที่ทราบยังไม่สามารถตรวจด้วยเทคนิค color test แบบการตรวจยาบ้า ยาไอซ์ในปัสสาวะ ทำให้ยานี้กระจายการนำไปใช้ในวงกว้าง
ผลที่ตามมาจากการใช้ทรามาดอลเกินขนาด (โดยมากวัยรุ่นจะใช้ในขนาด 5-10 เม็ด บางรายก็ 20 เม็ด) คือการกดการหายใจ อาจถึงแก่ชีวิตได้ถ้าใช้ร่วมกับยานอนหลับบางประเภท หรือกินร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อีกประการ คือการเสพทรามาดอลเกินขนาดจะเกิดอาการที่เรียกว่า “เซอโรโตนิน ซินโดรม” (serotonin syndrome) อันเป็นกลไกที่เชื่อมโยงมาจากฤทธิ์ของทรามาดอลเอง เมื่อเกิด “เซอโรโตนิน ซินโดรม” ผู้เสพอาจจะมีอาการเกร็งกระตุก หรือชัก หมดสติ ซึ่งหากใครช่วยไม่ทันก็สามารถเสียชีวิตได้ แบบที่มีข่าวมาแล้ว
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |
ที่มา : http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=4326