หลายคนที่ลดน้ำหนักมักจะเลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ซึ่งนอกจากอกไก่แล้ว ปลาต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่คนต้องการลดน้ำหนักหรือรักสุขภาพมักนิยมบริโภคไม่แพ้กัน
ประโยชน์ของปลากับสุขภาพ
1.มีโปรตีนสูง ในเนื้อปลาที่สุกแล้วจะมีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 6-30 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งปลาน้ำเค็มจะมีโปรตีนมากกว่าปลาน้ำจืด แต่ก็ถือว่าปริมาณอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมาก
2.มีไขมันต่ำถ้าเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8 - 20 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี , ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4 -5 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจาระเม็ดขาว, ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2 -4 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาทูนึ่ง ปลากระพงขาว ปลาจาระเม็ดดำ และปลาอินทรี , ปลาที่มีไขมันอยู่น้อย (ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากระพงแดง และปลาเก๋า( ข้อมูลจาก http://www.lovefitt.com)
3.มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว และเป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA : Docosahexaenoic Acid) และ อีพีเอ (EPA : Eicosapentaenoic Acid) ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า-3 จะช่วยเรื่องระบบหลอดเลือดหัวใจ, ลดความดันโลหิต, ลดไขมันคอเลสเตอรอล, ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน, ช่วยบำรุงสมอง, ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิวพรรณ ฯลฯ ซึ่ง (ข้อมูลจากhttp://www.lovefitt.com) ปลาน้ำจืดของไทยที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาสวายขาว มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นปลาช่อน มีโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงเช่นกัน มีประมาณ 870 มิลลิกรัม และปลาทะเลของไทยอย่างปลาทู ปลาหารับประทานง่าย มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,000-3,000 มิลลิกรัม และปลากระพง มีโอเมก้า 3 ประมาณ 310 มิลลิกรัม
4.มีกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในกลุ่มโอเมก้า 6 ได้แก่ กรดลิโนเลอิก และกรดอะราคิโดนิก ประโยชน์เด่นๆ เลยก็คือ สามารถลดคลอเลสเตอรอลในเลือดลงได้ จะช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลร้าย อย่าง LDL แล้วเพิ่มคลอเลสเตอรอลดี อย่าง HDL ทำให้เกิดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และช่วยบำรุงบำรุงหัวใจ นอกจากจะพบได้ในปลาบางชนิดแล้วยังสามารถพบได้จากน้ำมันที่สกัดมาจากถั่ว และพืช เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันที่สกัดจากข้าวโพด เป็นต้น
5.ปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมากเมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น จึงช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น
6.เนื้อปลาอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ซึ่งในปลาทะเลจะมีธาตุไอโอดีนที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคคอพอกได้ด้วย
หมายเหตุ การรับประทานปลาเป็นประจำสามารถช่วยในเรื่องสุขภาพ ไม่ทำให้อ้วนได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับกรรมวิธีที่นำปลามาประกอบอาหารด้วย ซึ่งควรเลือกวิธีต้ม นึ่ง อบ ย่างจะดีกว่าการทอด
ประโยชน์ของปลากับสุขภาพ
1.มีโปรตีนสูง ในเนื้อปลาที่สุกแล้วจะมีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 6-30 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งปลาน้ำเค็มจะมีโปรตีนมากกว่าปลาน้ำจืด แต่ก็ถือว่าปริมาณอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมาก
2.มีไขมันต่ำถ้าเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ปลาที่มีไขมันสูง (มากกว่า 8 - 20 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก และปลาสำลี , ปลาที่มีไขมันปานกลาง (มากกว่า 4 -5 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาจาระเม็ดขาว, ปลาที่มีไขมันต่ำ (มากกว่า 2 -4 กรัมต่อ 100 กรัม) คือ ปลาทูนึ่ง ปลากระพงขาว ปลาจาระเม็ดดำ และปลาอินทรี , ปลาที่มีไขมันอยู่น้อย (ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 100 กรัม) ได้แก่ ปลาไหล ปลากราย ปลานิล ปลากระพงแดง และปลาเก๋า( ข้อมูลจาก http://www.lovefitt.com)
3.มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว และเป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ประกอบด้วย ดีเอชเอ (DHA : Docosahexaenoic Acid) และ อีพีเอ (EPA : Eicosapentaenoic Acid) ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า-3 จะช่วยเรื่องระบบหลอดเลือดหัวใจ, ลดความดันโลหิต, ลดไขมันคอเลสเตอรอล, ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน, ช่วยบำรุงสมอง, ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิวพรรณ ฯลฯ ซึ่ง (ข้อมูลจากhttp://www.lovefitt.com) ปลาน้ำจืดของไทยที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาสวายขาว มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นปลาช่อน มีโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงเช่นกัน มีประมาณ 870 มิลลิกรัม และปลาทะเลของไทยอย่างปลาทู ปลาหารับประทานง่าย มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,000-3,000 มิลลิกรัม และปลากระพง มีโอเมก้า 3 ประมาณ 310 มิลลิกรัม
4.มีกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในกลุ่มโอเมก้า 6 ได้แก่ กรดลิโนเลอิก และกรดอะราคิโดนิก ประโยชน์เด่นๆ เลยก็คือ สามารถลดคลอเลสเตอรอลในเลือดลงได้ จะช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลร้าย อย่าง LDL แล้วเพิ่มคลอเลสเตอรอลดี อย่าง HDL ทำให้เกิดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และช่วยบำรุงบำรุงหัวใจ นอกจากจะพบได้ในปลาบางชนิดแล้วยังสามารถพบได้จากน้ำมันที่สกัดมาจากถั่ว และพืช เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันที่สกัดจากข้าวโพด เป็นต้น
5.ปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมากเมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น จึงช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น
6.เนื้อปลาอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ซึ่งในปลาทะเลจะมีธาตุไอโอดีนที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคคอพอกได้ด้วย
หมายเหตุ การรับประทานปลาเป็นประจำสามารถช่วยในเรื่องสุขภาพ ไม่ทำให้อ้วนได้ก็จริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับกรรมวิธีที่นำปลามาประกอบอาหารด้วย ซึ่งควรเลือกวิธีต้ม นึ่ง อบ ย่างจะดีกว่าการทอด