ทั่วทั้งร่างกายนั้นถูกสร้างขึ้นให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้เรื่อยมา แน่นอนว่าอวัยวะทุกส่วนนั้นทำงานหนักทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ หัวใจ ปาก สมอง รวมไปถึงเท้า ซึ่งเท้านั้นมันทำหน้าที่ของมันตลอดวัน ตื่นขึ้นมาก็เดินไปนู่นไปนี่ จรดเย็นก็ยังคงทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ถ้าหากว่าเกิดความผิดปกติเกี่ยวเท้าเรา แน่นอนว่าการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นอาจจะสร้างความลำบาก หรือสร้างความรำคาญใจไม่น้อย มีโรคอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับเท้าบ้างนะ
1. โรคเชื้อราที่เท้า
โรคเชื้อราที่เท้า หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ น้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต ที่เกิดจาการเจริญเติบโตของเชื้อราในเท้าเราที่มีอุณหภูมิอุ่นหรืออับชื้น การไปเดินเท้าเปล่าในบริเวณที่มีเชื้อราจนทำให้เกิดการหมักหมม ไม่รักษาความสะอาดให้เพียงพอ หรือใส่รองเท้าที่อับชื้น ไม่มีการระบายอากาศ ซึ่งจะเกิดบ่อยในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬานั่นเอง
อาการ
ผู้เป็นโรคเชื้อราที่เท้าในระยะแรกนั้นจะรู้สึกคันบริเวณเท้า และมีอาการมากขึ้นเมื่อเชื้อราแพร่กระจาย ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด และมีแผลพุพอง
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในพื้นที่เปียก หรือมีน้ำขัง
- ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่า เช็ดให้แห้งเป็นประจำ ลดการหมักหมม
- นำรองเท้ามาผึ่งแดดหรือซักเป็นประจำ
- ทำความสะอาดถุงเท้าอยู่เสมอ
- ไม่ยืมรองเท้าคนอื่นมาใส่ ลดการติดและแพร่กระจายของโรค
2. โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรครองช้ำ เป็นโรคที่เกิดจากการรับน้ำหนักตัวมาก หรือนานเกินไป ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไปและเกิดการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า โรคนี้มักจะพบในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในแต่ละวัน ผู้ที่ใส่ส้นสูงบ่อยครั้ง และผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจี๊ดและปวดแสบขึ้นมาบริเวณส้นเท้า ใต้ฝ่าเท้า หรือบริเวณอุ้งเท้า จะปวดแบบเป็นๆ หายๆ ค่อยๆ ปวดขึ้นเรื่อยๆ และจะปวดที่สุดเมื่อลงน้ำหนักไปในก้าวแรก จะเจ็บทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวบริเวณเท้า
วิธีป้องกัน
- รักษาน้ำหนักตัว อย่าให้มากจนเกินไป
- ลดการเดินนานๆ หรือยืนนานจนเกินไป
- ในการเดินแต่ละครั้งไม่ควรลงน้ำหนักมากไปในการเดิน หรือหลีกเลี่ยงการเดินบริเวณพื้นขรุขระ
- ในกรณีของคนออกกำลังกาย หรือนักกีฬา ไม่ควรหักโหม
- เลือกใช้รองเท้าที่พื้นมีความพอดี พื้นไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป
3.โรคเท้าเหม็น
โรคเท้าเหม็น คนส่วนมากประสบกับปัญหาเท้าเหม็นมาทุกยุคทุกสมัย เป็นปัญหากวนใจที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในเท้านั้นไปทำปฏิกิริยากับเหงื่อจนทำให้เกิดการหมักหมม ไม่ว่าจะมาจากรองเท้าที่ไม่มีการระบายทำให้อับชื้น ซึ่งโรคนี้นั้นเกิดกับคนบางคนเท่านั้น แต่ส่วนมากเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการคัน เพียงแต่มีการลอกของผิวหนังบริเวณเท้าที่ชื้นแฉะ และทำให้มีกลิ่นเหม็นอับ แต่โรคนี้นั้นไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้
การป้องกัน
- รักษาความสะอาดบริเวณเท้าอยู่เสมอ
- หมั่นทำความสะอาดรองเท้าบ่อยๆ ด้วยการซัก หากไม่มีเวลาจริงๆควรผึ่งแดด
- ไม่ใส่รองเท้าที่คับเกินไป เพราะทำให้อับและเหงื่อจะออกมาก
- เลือกใช้รองเท้าที่มีการระบายอากาศได้ดี อากาศสามารถถ่ายเทสะดวก
4. โรคตาปลา
ตาปลา เกิดจากการเสียดสีบ่อยๆ ของผิวหนัง จนทำให้เกิดการแข็งตัวของผิวหนังกลายเป็นก้อนในลักษณะผิดปกติ อาจเกิดจากการใส่รองเท้าที่คับจนเกิดไป หรือทำกิจกรรที่เกิดการเสียดสีของเท้าขึ้น ซึ่งเกิดได้ที่บริเวณผิวหนังส่วนเท้า และนิ้วเท้า
อาการ
หากตาปลาเกิดขึ้นในบริเวณผิวหนัง ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บหรือปวด หรือหากเจ็บจะมีอาการเจ็บน้อยมาก ผิวหนังจะหยาบกระด้าง แข็ง ในกรณีที่เกิดขึ้นที่นิ้วเท้า จะมีตุ้มเล็กๆ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น จะเจ็บมากที่บริเวณด้านล่าง ด้านบนของเท้า หรือระหว่างนิ้ว
การป้องกัน
- สวมถุงเท้าเพื่อลดการเสียดสีของผิวหนัง
- สวมรองเท้าเพื่อลดการเสียดสีของผ
- สวมถุงเท้า หรือรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับรูปเท้า ไม่คับจนเกินไป
- เลือกใช้ถุงเท้าที่เนื้อผ้านุ่ม ไม่เสียดสีกับผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าเกิดการเสียดสี
ข่าวโดย : แพรวา คงฟัก
1. โรคเชื้อราที่เท้า
โรคเชื้อราที่เท้า หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ น้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต ที่เกิดจาการเจริญเติบโตของเชื้อราในเท้าเราที่มีอุณหภูมิอุ่นหรืออับชื้น การไปเดินเท้าเปล่าในบริเวณที่มีเชื้อราจนทำให้เกิดการหมักหมม ไม่รักษาความสะอาดให้เพียงพอ หรือใส่รองเท้าที่อับชื้น ไม่มีการระบายอากาศ ซึ่งจะเกิดบ่อยในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬานั่นเอง
อาการ
ผู้เป็นโรคเชื้อราที่เท้าในระยะแรกนั้นจะรู้สึกคันบริเวณเท้า และมีอาการมากขึ้นเมื่อเชื้อราแพร่กระจาย ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด และมีแผลพุพอง
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในพื้นที่เปียก หรือมีน้ำขัง
- ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่า เช็ดให้แห้งเป็นประจำ ลดการหมักหมม
- นำรองเท้ามาผึ่งแดดหรือซักเป็นประจำ
- ทำความสะอาดถุงเท้าอยู่เสมอ
- ไม่ยืมรองเท้าคนอื่นมาใส่ ลดการติดและแพร่กระจายของโรค
2. โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรครองช้ำ เป็นโรคที่เกิดจากการรับน้ำหนักตัวมาก หรือนานเกินไป ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไปและเกิดการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า โรคนี้มักจะพบในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในแต่ละวัน ผู้ที่ใส่ส้นสูงบ่อยครั้ง และผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจี๊ดและปวดแสบขึ้นมาบริเวณส้นเท้า ใต้ฝ่าเท้า หรือบริเวณอุ้งเท้า จะปวดแบบเป็นๆ หายๆ ค่อยๆ ปวดขึ้นเรื่อยๆ และจะปวดที่สุดเมื่อลงน้ำหนักไปในก้าวแรก จะเจ็บทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวบริเวณเท้า
วิธีป้องกัน
- รักษาน้ำหนักตัว อย่าให้มากจนเกินไป
- ลดการเดินนานๆ หรือยืนนานจนเกินไป
- ในการเดินแต่ละครั้งไม่ควรลงน้ำหนักมากไปในการเดิน หรือหลีกเลี่ยงการเดินบริเวณพื้นขรุขระ
- ในกรณีของคนออกกำลังกาย หรือนักกีฬา ไม่ควรหักโหม
- เลือกใช้รองเท้าที่พื้นมีความพอดี พื้นไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป
3.โรคเท้าเหม็น
โรคเท้าเหม็น คนส่วนมากประสบกับปัญหาเท้าเหม็นมาทุกยุคทุกสมัย เป็นปัญหากวนใจที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในเท้านั้นไปทำปฏิกิริยากับเหงื่อจนทำให้เกิดการหมักหมม ไม่ว่าจะมาจากรองเท้าที่ไม่มีการระบายทำให้อับชื้น ซึ่งโรคนี้นั้นเกิดกับคนบางคนเท่านั้น แต่ส่วนมากเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการคัน เพียงแต่มีการลอกของผิวหนังบริเวณเท้าที่ชื้นแฉะ และทำให้มีกลิ่นเหม็นอับ แต่โรคนี้นั้นไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้
การป้องกัน
- รักษาความสะอาดบริเวณเท้าอยู่เสมอ
- หมั่นทำความสะอาดรองเท้าบ่อยๆ ด้วยการซัก หากไม่มีเวลาจริงๆควรผึ่งแดด
- ไม่ใส่รองเท้าที่คับเกินไป เพราะทำให้อับและเหงื่อจะออกมาก
- เลือกใช้รองเท้าที่มีการระบายอากาศได้ดี อากาศสามารถถ่ายเทสะดวก
4. โรคตาปลา
ตาปลา เกิดจากการเสียดสีบ่อยๆ ของผิวหนัง จนทำให้เกิดการแข็งตัวของผิวหนังกลายเป็นก้อนในลักษณะผิดปกติ อาจเกิดจากการใส่รองเท้าที่คับจนเกิดไป หรือทำกิจกรรที่เกิดการเสียดสีของเท้าขึ้น ซึ่งเกิดได้ที่บริเวณผิวหนังส่วนเท้า และนิ้วเท้า
อาการ
หากตาปลาเกิดขึ้นในบริเวณผิวหนัง ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บหรือปวด หรือหากเจ็บจะมีอาการเจ็บน้อยมาก ผิวหนังจะหยาบกระด้าง แข็ง ในกรณีที่เกิดขึ้นที่นิ้วเท้า จะมีตุ้มเล็กๆ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น จะเจ็บมากที่บริเวณด้านล่าง ด้านบนของเท้า หรือระหว่างนิ้ว
การป้องกัน
- สวมถุงเท้าเพื่อลดการเสียดสีของผิวหนัง
- สวมรองเท้าเพื่อลดการเสียดสีของผ
- สวมถุงเท้า หรือรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับรูปเท้า ไม่คับจนเกินไป
- เลือกใช้ถุงเท้าที่เนื้อผ้านุ่ม ไม่เสียดสีกับผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าเกิดการเสียดสี
ข่าวโดย : แพรวา คงฟัก