xs
xsm
sm
md
lg

เสียเหงื่อหน้าร้อน ทำสุขภาพแย่ เสี่ยงตาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เนื่องจากอากาศที่ร้อนสูงขึ้นส่งผลให้การระบายความร้อนลดลงหรือร่างกายไม่สามารถที่จะระบายถ่ายเทความร้อนได้ทัน ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนเกิดอาการ “Heat-related illness” อาการบาดเจ็บจากความร้อน ที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

โดยอาการบาดเจ็บที่เกิดจากความร้อนสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม Minor ได้แก่ Heat Rash (ผื่นผดแดด) หรืออีกชื่อ “Prickly Heath” มีลักษณะเป็นผื่นคันจุดแดงในร่ม ซึ่งเกิดจากอาการอักเสบของต่อมเหงื่อ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาแก้แพ้และป้องกันโดยการสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดและบางสามารถระบายความร้อน ระบายเหงื่อได้ดี Heat edema อาการบวมที่มือและเท้า หรือในกรณีที่สวมแหวนคับ หรือรองเท้าคับส่งผลให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว และมีการคั่งของสารน้ำ Heat Syncope อาการลมแดด หน้ามืด เกิดจากหลอดเลือดผิวหนังขยายตัวมาก ทำให้เลือดในส่วนกลางไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงร่างกายทำให้เป็นลม Heat Cramp เรียกง่ายๆ ว่าตะคริว เกิดจากกล้ามเนื้อที่มีการเกร็ง วิธีแก้ไขให้พักในที่ ที่มีอากาศเย็นและให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ และสุดท้าย Heat Tetany อาการหายใจเร็ว ตื้น มีการจีบเกร็งที่ปลายมือ หรืออาจชาตรงปลายมือ โดยการหายใจหอบนี้เพื่อนำหรือระบายอากาศร้อนออกไปนั้นเอง
 
ซึ่งแม้จะไม่ส่งผลถึงชีวิตและหากละเลยจะสามารถพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการที่สามารถทำให้เสียชีวิตในกลุ่ม Major อย่างที่เคยเกิดกรณีบนหน้าสื่อทุกแขนงของอาการ Heat Stroke ซึ่งในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย อาการ Heat Exhaustion หรือภาวะเพลียแดด มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม มีเหงื่ออกชุ่ม อุณหภูมิร่างกายขึ้นๆ ลงๆ ระหว่าง 38-40 องศาเซลเซียล ความดันโลหิตต่ำ อาการคล้ายกับ Heat Stroke แต่ผู้ป่วย Heat Exhaustion จะมีสติรู้สึกตัวที่คงที่ ส่วนผู้ป่วย Heat Stroke จะมีอุณหภูมิ ร่างกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส และส่วนใหญ่มีความผิดปกติของระบบอวัยวะ ระบบประสาท อาทิ มีอาการหงุดหงิด สับสน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เดินเซ หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุดเพียงหลังจากการออกกำลังกายใน 15-20 นาที เท่านั้น
วิธีการป้องกันและออกกำลังกายที่ถูกต้องในช่วงฤดูร้อนนี้

1.ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย เพื่อเป็นการเตรียมร่างกายและกักตุนทดแทนน้ำที่กำลังจะสูญเสียมากกว่าช่วงปกติในระหว่างที่ออกกำลังกาย

2.ควรอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง โดยใช้หลักการวอร์มอัพพื้นฐานในบริเวรเงาร่มร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อก่อนจะออกกลางแจ้ง เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพและเตรียมพร้อมร่างกาย

3.ทาครีมกันแดดปกป้องรังสีและความร้อนที่จะกระทบผิวหนังทำให้ร่างกายในอุณหภูมิสูงขึ้น และควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายถ่ายเทความร้อนได้เป็นอย่างดี

4.ทุกๆ 10-15 นาที ควรพักดื่มน้ำ เพื่อทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปจากการบายความร้อนและเพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ

5.ทำคูลดาวน์หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ โดยการผ่อนลดความหนักของการออกกำลังการตามลำดับจนกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติของช่วงก่อนออกกำลังกาย และควรพักอุณหภูมิร่างกายอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนที่จะชำระล้างอาบน้ำ

ทั้งนี้ทั้งนั้นที่สำคัญคือไม่ควรฟื้นสภาพร่างกายหากมีอาการบ่งชี้อย่างข้างต้นที่เป็นสัญญาณเตือน ควรผ่อนการออกกำลังกายหรือหยุดการออกำลังกายทันที พร้อมทั้งพักดื่มน้ำและอยู่ในที่ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อปรับสภาพร่างกายให้เป็นปกติ ออกกำลังกายได้สุขภาพที่แข็งแรงดั่งเดิม

กำลังโหลดความคิดเห็น