By : Pharmchompoo
ในที่สุดหน้าร้อน (ที่สุด) ก็เวียนมาถึงคนไทยอีกจนได้ คงลืมไปแล้วว่าความหนาวเย็นเป็นอย่างไร เพราะขนาดช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอากาศก็ยังไม่หนาวจนรู้สึกยะเยือกได้ จากนี้ก็ทำใจได้เลยว่ามีแต่อากาศร้อนมาก กับอากาศร้อนมากที่สุด เผลอๆ จะยาวไปถึงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน
พูดถึงหน้าร้อน แทบไม่มีใครชอบและคิดถึงเรื่องแสงแดดที่สาดส่องลงมาอย่างรุนแรง จนรู้สึกแสบร้อน ชวนให้ผิวไหม้ไปตาม ๆ กัน วันนี้จึงจะชวนให้มารู้จัก วิธีเอาตัวรอดในหน้าร้อน
1.แสงอาทิตย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่พูดถึงมากในหน้าร้อน รังสี ultraviolet (UV) ซึ่งปัจจุบันเรารู้กันดีว่า ทั้ง UVA และ UVB ล้วนมีส่วนที่สำคัญในการทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ไม่เพียงแต่เฉพาะเรื่องริ้วรอย ทำให้ผิวคล้ำลง ผู้ที่สัมผัสแสงอาทิตย์จ้าเป็นเวลานานก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ร้ายที่สุดคือสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ รังสี UVA มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดวัน แม้ในวันที่ไม่มีแสงอาทิตย์จ้า ทะลุผ่านเมฆลงมาและผ่านเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้ได้ ทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกัน เป็นของแสลงสำหรับผู้ที่เป็น SLE อยู่เดิม กระตุ้นให้เกิดผิวไวต่อแสง (photosensitivity) โดยเฉพาะผู้ที่กินยาบางชนิด กระตุ้นการสร้างเมลานิน และทำให้เกิดริ้วรอยได้ดี
รังสี UVB มีความผันผวนตลอดวัน มีความเข้มสูงในช่วงเที่ยง ทำให้เกิดการไหม้ และความหมองคล้ำได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA มากกว่า UVA
แนวทางการป้องกันแสดงอาทิตย์ที่ดีคือการใช้ร่ม การสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิว แต่ที่สำคัญคือ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งมีมากมายหลายชนิด ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงๆ เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ส่วนที่สำคัญอีกประการที่ลืมไม่ได้คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องทาก่อนสัมผัสแสงอาทิตย์ประมาณ 20-30 นาที (ยกเว้นบางผลิตภัณฑ์ที่เป็น physical sunscreen ที่สามารถทาแล้วสัมผัสแสงอาทิตย์ได้เลย) อีกประการคือ เหงื่อ การเช็ดหน้า ก็สามารถทำให้ประสิทธิภาพในการปกป้องรังสีลดลง เพราะฉะนั้นหากเป็นนักกิจกรรม ทำงานกลางแจ้งตลอด หรือเป็นคนที่เหงื่อเยอะ นักกีฬาทางน้ำ อาจจะต้องทาผลิตภัณฑ์กันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง
2.กลุ่มคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกลุ่มที่เป็นกรดวิตามินเอ หรือพวก tretinoin ต้องระวังเป็นพิเศษ รวมทั้งคนที่ใช้ AHA, BHA เพราะผิวหน้าจะมีความไวต่อแสงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ การทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเหล่านี้ โดยไม่ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด หรือไม่หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ จะทำให้ผิวหน้าแดง แสบ ไหม้ หรือดำคล้ำ อย่างรวดเร็ว ไม่สวยสมใจนึก เพราะผิวที่ผลัดขึ้นมานี้จะยังเป็นผิวหน้าที่อ่อนบางและยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
3.กลุ่มคนที่กินยาบางชนิด เช่นยาต้านจุลชีพกลุ่ม fluoroquinolones, doxycycline ยา chloroquine, hydroxychloroquine มีความจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะช่วงที่แสงมีความเข้มข้นสูง เพราะการกินยาเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังมีความไวแสงมากขึ้นและอาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อผิวได้
4.กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่นโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน (autoimmune diseases) โรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน การสัมผัสแสงอาทิตย์อาจจะกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ การหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญมาก
5.การขาดน้ำ ช่วงอากาศร้อน ร่างกายจะเสียน้ำอย่างมาก เพื่อเป็นการระบายความร้อน การระเหยของน้ำจะมีสูงจากร่างกาย ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และไม่ควรจะรอให้เกิดอาการกระหายน้ำก่อนที่จะดื่ม โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง นักกีฬา นักท่องเที่ยวที่เดินทางกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ การขาดน้ำเป็นเวลานานเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ควรให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณไม่มากแต่สม่ำเสมอจะดีกว่า การดื่มน้ำในช่วงที่กระหายมาก ๆ เข้าไปรวดเดียวจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้ คนที่ทำงานในห้องแอร์ อย่าคิดว่าจะไม่มีความเสี่ยง เพราะความเย็นจากเครื่องปรับอากาศก็เป็นตัวดึงน้ำออกจากร่างกายได้ดีเช่นกัน
6.ดวงตาเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแสงอาทิตย์ การใช้แว่นตากันแดด หรือแว่นกรองแสง จะช่วยลดผลกระทบจากรังสี UV ที่มีต่อดวงตาได้
ในที่สุดหน้าร้อน (ที่สุด) ก็เวียนมาถึงคนไทยอีกจนได้ คงลืมไปแล้วว่าความหนาวเย็นเป็นอย่างไร เพราะขนาดช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอากาศก็ยังไม่หนาวจนรู้สึกยะเยือกได้ จากนี้ก็ทำใจได้เลยว่ามีแต่อากาศร้อนมาก กับอากาศร้อนมากที่สุด เผลอๆ จะยาวไปถึงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน
พูดถึงหน้าร้อน แทบไม่มีใครชอบและคิดถึงเรื่องแสงแดดที่สาดส่องลงมาอย่างรุนแรง จนรู้สึกแสบร้อน ชวนให้ผิวไหม้ไปตาม ๆ กัน วันนี้จึงจะชวนให้มารู้จัก วิธีเอาตัวรอดในหน้าร้อน
1.แสงอาทิตย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่พูดถึงมากในหน้าร้อน รังสี ultraviolet (UV) ซึ่งปัจจุบันเรารู้กันดีว่า ทั้ง UVA และ UVB ล้วนมีส่วนที่สำคัญในการทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ไม่เพียงแต่เฉพาะเรื่องริ้วรอย ทำให้ผิวคล้ำลง ผู้ที่สัมผัสแสงอาทิตย์จ้าเป็นเวลานานก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ร้ายที่สุดคือสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ รังสี UVA มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดวัน แม้ในวันที่ไม่มีแสงอาทิตย์จ้า ทะลุผ่านเมฆลงมาและผ่านเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้ได้ ทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกัน เป็นของแสลงสำหรับผู้ที่เป็น SLE อยู่เดิม กระตุ้นให้เกิดผิวไวต่อแสง (photosensitivity) โดยเฉพาะผู้ที่กินยาบางชนิด กระตุ้นการสร้างเมลานิน และทำให้เกิดริ้วรอยได้ดี
รังสี UVB มีความผันผวนตลอดวัน มีความเข้มสูงในช่วงเที่ยง ทำให้เกิดการไหม้ และความหมองคล้ำได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA มากกว่า UVA
แนวทางการป้องกันแสดงอาทิตย์ที่ดีคือการใช้ร่ม การสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิว แต่ที่สำคัญคือ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งมีมากมายหลายชนิด ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงๆ เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ส่วนที่สำคัญอีกประการที่ลืมไม่ได้คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องทาก่อนสัมผัสแสงอาทิตย์ประมาณ 20-30 นาที (ยกเว้นบางผลิตภัณฑ์ที่เป็น physical sunscreen ที่สามารถทาแล้วสัมผัสแสงอาทิตย์ได้เลย) อีกประการคือ เหงื่อ การเช็ดหน้า ก็สามารถทำให้ประสิทธิภาพในการปกป้องรังสีลดลง เพราะฉะนั้นหากเป็นนักกิจกรรม ทำงานกลางแจ้งตลอด หรือเป็นคนที่เหงื่อเยอะ นักกีฬาทางน้ำ อาจจะต้องทาผลิตภัณฑ์กันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง
2.กลุ่มคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกลุ่มที่เป็นกรดวิตามินเอ หรือพวก tretinoin ต้องระวังเป็นพิเศษ รวมทั้งคนที่ใช้ AHA, BHA เพราะผิวหน้าจะมีความไวต่อแสงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ การทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเหล่านี้ โดยไม่ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด หรือไม่หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ จะทำให้ผิวหน้าแดง แสบ ไหม้ หรือดำคล้ำ อย่างรวดเร็ว ไม่สวยสมใจนึก เพราะผิวที่ผลัดขึ้นมานี้จะยังเป็นผิวหน้าที่อ่อนบางและยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
3.กลุ่มคนที่กินยาบางชนิด เช่นยาต้านจุลชีพกลุ่ม fluoroquinolones, doxycycline ยา chloroquine, hydroxychloroquine มีความจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะช่วงที่แสงมีความเข้มข้นสูง เพราะการกินยาเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังมีความไวแสงมากขึ้นและอาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อผิวได้
4.กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่นโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน (autoimmune diseases) โรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน การสัมผัสแสงอาทิตย์อาจจะกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ การหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญมาก
5.การขาดน้ำ ช่วงอากาศร้อน ร่างกายจะเสียน้ำอย่างมาก เพื่อเป็นการระบายความร้อน การระเหยของน้ำจะมีสูงจากร่างกาย ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และไม่ควรจะรอให้เกิดอาการกระหายน้ำก่อนที่จะดื่ม โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง นักกีฬา นักท่องเที่ยวที่เดินทางกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ การขาดน้ำเป็นเวลานานเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ควรให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณไม่มากแต่สม่ำเสมอจะดีกว่า การดื่มน้ำในช่วงที่กระหายมาก ๆ เข้าไปรวดเดียวจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้ คนที่ทำงานในห้องแอร์ อย่าคิดว่าจะไม่มีความเสี่ยง เพราะความเย็นจากเครื่องปรับอากาศก็เป็นตัวดึงน้ำออกจากร่างกายได้ดีเช่นกัน
6.ดวงตาเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแสงอาทิตย์ การใช้แว่นตากันแดด หรือแว่นกรองแสง จะช่วยลดผลกระทบจากรังสี UV ที่มีต่อดวงตาได้
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |