xs
xsm
sm
md
lg

จำเป็นต่อร่างกาย “โปรไบโอติก” จุลินทรีย์ชนิดดีที่ห้ามขาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ร่างกายของผู้ที่สุขภาพแข็งแรง นอกจากการออกกำลังกาย การพักผ่อน ร่างกายคนเราจะแข็งแรงได้หรือไม่ได้นั้นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดีอยู่แล้วก็คือเรื่องของการรับประทานอาหาร ซึ่งเนื่องจากร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับการเสริมและซ่อมแซมจากการใช้งาน และอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป และหากแยกย่อยไปกว่านั้นคือระบบของจุลินทรีย์ ซึ่งมีทั้งชนิดดีและไม่ดี ทำให้ร่างกายของเรานั้นจะแข็งแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแบคทีเรียที่เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในร่างกายเราอีกด้วย

ซึ่งจุลินทรีย์ชนิดดีหรือ “โปรไบโอติก” มีคุณลักษณะ เมื่อบริโภคแล้ว ไม่มีการย่อยสลาย และไม่ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกหมักให้ย่อยสลายโดยแบคทีเรียโปรไบโอติกในลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดสารต่างๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเช่นเดียวกับโปรไบโอติก เพราะเป็นการเสริมประสิทธิภาพของโปรไบโอติก ช่วยยับยั่งจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ที่เปลี่ยนสารอาหารที่ดีที่เราทานเข้าไปเป็นสารพิษ เช่น เชื้อรา Candida albicans เปลี่ยนน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต ไปเป็นแอลกอฮอล์ และสารที่มีพิษต่อร่างกายกว่า 180 ชนิด อย่าง mycotoxins ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะไปทำร้ายเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดอาการปวดหัว,เพลีย,ทำร้ายระบบไทรอยด์ ,และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ทำให้ภูมิคุ้มกันตก จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ นอกจากนี้สารพิษที่สร้างขึ้นมายังเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ มากมายเช่น ปวดหัว ผื่น ปวดข้อเข่า ปวดกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ภูมิแพ้ ปัญหาในการย่อยอาหาร อีกด้วย


เราจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีจำนวนจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ซึ่งอาหารที่บำรุงดูแล โปรไบโอติก ก็คืออาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตอย่างแป้งและน้ำตาล ชนิดเฉพาะซึ่งเรียกว่า โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งยังแยกเป็นชนิดย่อยๆได้อีกหลายชนิด อาทิ ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (fructooligosaccharide, FOS) อินูลิน (inulin) นอกจากนี้อาหาร ของโปรไบโอติกเป็นอาหารที่สร้างจากพืชทุกชนิด แต่แตกต่างกันในสายพันธ์ย่อยๆ และในปริมาณ ที่มีมากหรือน้อย โดยทั่วไปมักเป็นแป้งและน้ำตาลที่พืชสะสมไว้ในหัว ที่พบมีมากที่สุด คือในหัวของพืชพืื้นถิ่นทวีปยุโรปอย่าง ชิโครี นอกจากนั้น เช่น กล้วย หัวหอม ต้นหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี และมะเขือเทศ

ทั้งนี้โปรไบโอติกบางชนิดย่อย สามารถให้ความหวานได้โดยไม่ย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคส (glucose) จึงมีผู้น้ำมาผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นสารให้ความหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกด้วย ซึ่งสรรพคุณของโปรไบโอติกคือ
 
 
ช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหาร ถ้าในลำไส้ไม่มีแบคทีเรียชนิดดี ร่างกายจะไม่สามารถย่อยสลายสารอาหารได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่สามารถเปลี่ยนสารอาหารบางชนิดหรือสารพิษในร่างกายไปเป็น วิตามิน A, B1, B2, B3, B5, B6, B12, K , biotin กรดโฟลิค และกรดอะมิโนบางชนิด และกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกายในลำไส้

ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและทำลายสารพิษและสารเคมีบางชนิดที่ร่างกายได้รับเข้ามา เช่น, Bisphenol A (BPA) ที่พบในขวดพลาสติก ยาฆ่าแมลง ผ่านกระบวนการ ย่อยสลายให้สารพิษนั้นเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และลดการดูดซึมสารนั้นเข้าสู่ร่างกาย

ควบคุมจำนวนของแบคทีเรียชนิดไม่ดีในลำไส้ ช่วยเม็ดเลือดขาวในการต้อสู้เชื้อโรค ป้องกันภูมิแพ้ แบคทีเรียชนิดดีสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถแยกแยะว่าสารไหนเป็นสารก่อภูมิแพ้ และสารไหนเป็นสารพี่ปลอดภัยกับร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง

เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโดยแบคทีเรียชนิดดีเป็นตัวควบคุมระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ทำความสะอาดลำไส้ และ ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น ช่วยควบคุมละดับคอเลสเตอรอล สร้างกรดแลคติกเพื่อสร้างสมดุลค่ากรดและด่าง (Ph) ในลำไส้ รวมไปถึงการฆ่าเชื้อรา ไวรัส และ ปรสิต

เพราะเมื่อ โปรไบโอติก และจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ เข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปเกาะติดกับเมือกและเนื้อเยื่อที่ผนังลำไส้ ซึ่งจุลินทรีย์ทุกกลุ่ม ต่างต้องปกป้องตัวเองให้อยู่รอดและเพิ่มจำนวนขึ้นในลำไส้ให้เพียงพอ จึงจะสามารถส่งผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ได้ โปรไบโอติก จึงต้องทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและกีดกันจุลินทรีย์ก่อโรครวมทั้งจุลินทรีย์ฉวยโอกาสอื่นๆ ไม่ให้สามารถเกาะติดกับผนังลำไส้ได้และถูกขับออกมากับอุจจาระ ด้วยการรวมตัวกันที่ผิวเยื่อบุลำไส้และแย่งอาหารจุลินทรีย์ฉวยโอกาส ผลิตสารต้านจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมทั้งทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคโดยตรง

ส่วนอาหารที่มักพบโปรไบโอติกอยู่คือ อาหารประเภทหมักดองที่มีรสเปรี้ยว นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต โดยในระหว่างการหมักอาหาร จุลินทรีย์ชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารอาหารบางชนิดให้กลายเป็นกรดแลคติก ทำให้อาหารเกิดรสเปรี้ยวพร้อมกับสร้างสารที่ให้กลิ่นหอมชวนกิน เช่น ผักดอง แหนม ข้าวหมาก หรือปลาร้า และ “น้ำหมักชีวภาพ”
ข้อมูลบางส่วนจาก www.yuzuhealthy.com

กำลังโหลดความคิดเห็น