นักแสดงชื่อดัง ฮิวจ์ แจ็กแมน ได้โพสต์ลงในอิสตาแกรม เปิดเผยเกี่ยวกับการตรวจพบเซลล์มะเร็งที่ผิวหนังบริเวณจมูกมาแล้วถึง 4 ครั้ง และที่บริเวณหัวไหล่อีกหนึ่งแห่ง นับตั้งแต่ตรวจเจอครั้งแรกเมื่อปี 2013 ทั้งนี้ก็เพื่ออยากเตือนให้ทุกคนทาครีมกันแดดก่อนออกเผชิญกับแสงแดด เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากโรคดังกล่าว
โรคมะเร็งผิวหนังแบ่งเป็น
1. มะเร็งผิวหนังประเภทที่ไม่ใช่เมลาโนมา (Non-Melanoma) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่
-มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma-SCC)
มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่มาจากความผิดปกติของสะความัสเซลล์ ส่งผลให้เกิดการผ่าเหล่าและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะโตเร็วและแพร่กระจายเร็ว
-มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma-BCC)
เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดและมีความรุนแรงน้อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่นๆ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสแสงแดด เป็นมะเร็งที่แพร่กระจายช้า หากพบเร็วการรักษาจะหายขาด มักพบมากในบริเวณที่ถูกแสงแดดมาก เช่น ใบหน้า จมูก หนังศีรษะ ฯลฯ เป็นต้น
2. มะเร็งผิวหนังประเภทเมลาโนมา (Melanoma) ได้แก่
-มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Malignant melanoma)
คือมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติ ของเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) บนร่างกาย เป็นมะเร็งชนิดที่รุนแรง แต่พบได้น้อยกว่ามะเร็งผิวหนังประเภทแรก
อาการอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
- มีตุ่มหรือก้อนเนื้อ หรือแผลเรื้องรังที่ผิวหนังไม่หายภายใน 4 สัปดาห์
- ตุ่มหรือก้อนเนื้อมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ไฝหรือปานโตเร็ว มีสีและรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการเจ็บ คัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
- อาจมีก้อนเนื้อเดียวหรือหลายก้อนเนื้อก็ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
1.แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) คนที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
2.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
3.ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV
4.เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ
5.จากการกลายพันธุ์ของไฝ ซึ่งสังเกตได้จากไฝจะเจริญเติบโตลงลึกในเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง อาจแตกเป็นแผล อาจมีเลือดออก และมักโตเร็ว
การป้องกันด้วยตนเองเบื้องต้น
1. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ เพราะแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงเวลาประมาณ 9.00-17.00 น. เพราะเป็นเวลาที่แสงแดดแผ่รังสีสูงสุด
2. ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่าหรือเท่ากับ 15 และต้องทาก่อนออกแดด 15 นาที และหลังจากว่ายน้ำหรือออกกำลังกายควรทาครีมกันแดดซ้ำอีกครั้ง
3. นอกจากทาครีมกันแดดแล้ว ควรหาเสื้อคลุม, หมวกใส่ปกปิด หรือจะกางร่ม เพื่อป้องกันแสงแดดด้วยจะดีที่สุด
4. หากมีอาการเริ่มต้นดังที่กล่าวมา และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรมาพบแพทย์เพื่อการตรวจค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก
โรคมะเร็งผิวหนังแบ่งเป็น
1. มะเร็งผิวหนังประเภทที่ไม่ใช่เมลาโนมา (Non-Melanoma) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่
-มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma-SCC)
มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่มาจากความผิดปกติของสะความัสเซลล์ ส่งผลให้เกิดการผ่าเหล่าและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะโตเร็วและแพร่กระจายเร็ว
-มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma-BCC)
เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดและมีความรุนแรงน้อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่นๆ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสแสงแดด เป็นมะเร็งที่แพร่กระจายช้า หากพบเร็วการรักษาจะหายขาด มักพบมากในบริเวณที่ถูกแสงแดดมาก เช่น ใบหน้า จมูก หนังศีรษะ ฯลฯ เป็นต้น
2. มะเร็งผิวหนังประเภทเมลาโนมา (Melanoma) ได้แก่
-มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Malignant melanoma)
คือมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติ ของเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) บนร่างกาย เป็นมะเร็งชนิดที่รุนแรง แต่พบได้น้อยกว่ามะเร็งผิวหนังประเภทแรก
อาการอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
- มีตุ่มหรือก้อนเนื้อ หรือแผลเรื้องรังที่ผิวหนังไม่หายภายใน 4 สัปดาห์
- ตุ่มหรือก้อนเนื้อมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ไฝหรือปานโตเร็ว มีสีและรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการเจ็บ คัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
- อาจมีก้อนเนื้อเดียวหรือหลายก้อนเนื้อก็ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
1.แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) คนที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้
2.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
3.ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV
4.เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ
5.จากการกลายพันธุ์ของไฝ ซึ่งสังเกตได้จากไฝจะเจริญเติบโตลงลึกในเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง อาจแตกเป็นแผล อาจมีเลือดออก และมักโตเร็ว
การป้องกันด้วยตนเองเบื้องต้น
1. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ เพราะแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงเวลาประมาณ 9.00-17.00 น. เพราะเป็นเวลาที่แสงแดดแผ่รังสีสูงสุด
2. ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่าหรือเท่ากับ 15 และต้องทาก่อนออกแดด 15 นาที และหลังจากว่ายน้ำหรือออกกำลังกายควรทาครีมกันแดดซ้ำอีกครั้ง
3. นอกจากทาครีมกันแดดแล้ว ควรหาเสื้อคลุม, หมวกใส่ปกปิด หรือจะกางร่ม เพื่อป้องกันแสงแดดด้วยจะดีที่สุด
4. หากมีอาการเริ่มต้นดังที่กล่าวมา และมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรมาพบแพทย์เพื่อการตรวจค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก