นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจสำหรับการติดสมาร์ทโฟนเกินขอบเขตความพอดี ภัยและโทษของยุคดิจิตอลยุคใหม่ยังส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพอีกด้วย ซึ่งล่าสุดภัยแฝงที่ส่งผลต่อร่างกายที่กำลังพบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก คือ "Forward head posture" หรือ "โรคคอยื่น" เป็นอาการที่กระดูกสันหลังส่วนคอยื่่นออกไปข้างหน้ามากกว่าปกติ ส่งผลให้บริเวณคอและไหล่ต้องรับแรงกดทับมาก และแรงกดดันที่เส้นประสาทจะทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรงเรื้อรังได้

โดยโรค Forward head posture เกิดจากสาเหตุที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง อันเป็นผลจากขาดการออกกำลังกายและจากไลฟ์สไตล์ชีวิตสังคมก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการพัก รวมไปถึงการแบกสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งทำกล้ามเนื้อถูกใช้งานในลักษณะเดียว (แบบอาการนิ้วล็อค) โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ทำให้คอยื่นไปข้างหน้าผิดปกติ เกิดผลกระทบต่อตั้งแต่เล็กน้อย เช่น อาการปวดหลังปวดไหล่เรื้อรัง ไหล่หอ ขากรรไกรเคลื่อน-ค้างและเจ็บบริเวณขากรรไกร ปวดศีรษะ ชาตามแขนและมือ เจ็บหน้าอก ไปจนถึงผลร้ายที่ทำให้ร่างกายอาจเสียการทรงตัวได้ง่ายกว่าเดิมเพราะเมื่อกล้ามเนื้อผิดรูปทำกระดูกสันหลังส่วนบนทำให้เอนไปที่ด้านหลัง ยาวไปจนถึงกระดูกสะโพกเอียงมาด้านหน้าทำให้ลักษณะการยืนและการเดินผิดปกติ เตี้ยลง และหมอนรองกระดูกเสื่อม

เลิกก้มหน้า ใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
ไม่ว่าจะทำงานหรือเล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนควรวางหน้าจอให้ห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว ให้ระดับหน้าจอสูงในระดับสายตา เพื่อให้ศีรษะอยู่ในลักษณะตรงเวลา ไม่ควรก้มหรือเงยเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนี้ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ควรมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ อาทินั่งหลังตรงแล้วหงายคอ ก้นหน้า และไปด้านหลัง ด้านข้างซ้ายและขวา เป็นระยะเวลา 5 วินาที ประมาณ 10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอมีความยืดหยุ่น หรือลุกเดินขยับร่างกายในท่าการบริหารการออกกำลังกายเบื้องต้นก็จะยิ่งช่วยให้กล้ามเนื้อต่างๆ ได้ผ่อนคลายแถมสุขภาพดีอีกด้วย

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิต
วิธีแก้ไขและป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การออกกำลังกาย เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณคอให้แข็งแรง อีกทั้งท่าออกกำลังกายบางท่ายังถือเป็นการช่วยจัดเรียงกระดูกไม่ให้ผิดรูป ให้กระดูกกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งวิธีบริหารคอให้แข็งแรงและช่วยจัดกระดูก มีด้วยกัน 3 ท่าด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ทุกเวลา
โดยท่าที่ 1.ยกแขนข้างขวาขึ้น เอามือมาวางบนกระดูกสันหลังบริเวณหลังคอ โดยให้ศอกชี้ขึ้นบน จากนั้นหันหน้าไปฝั่งตรงกันข้ามกับแขนแล้วเหลือบตามองต่ำโดยที่คอยังยืดตรง ค้างท่าไว้ พร้อมกับหายใจเข้าและออกช้าๆ ทำซ้ำ 3 ครั้ง ทั้ง 2 ข้าง
ท่าที่ 2. ให้เรานอนหงายลงกับพื้น โดยให้ไหล่กับศีรษะชิดพื้น จากนั้นให้ชันเข่าขึ้นมาโดยให้หน้ามองตรงขึ้นไปด้านบน ก่อนจะยกศีรษะขึ้นโดยเกร็งคอไว้พร้อมกับค้างและหายใจเข้าออก ทำซ้ำกันทั้งหมด 3 เซต
ท่าที่ 3. ท่าสุดท้ายให้เราเปลี่ยนจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำหน้า แล้ววางมือประสานกันบนพื้น วางหน้าผากลงบนมือ เกร็งคอตรง แล้วยกศีรษะขึ้นค้าง จากนั้นนับ 1-10 แล้วคลายท่า ทำในจำนวนเซตที่เท่ากันกับท่าที่ 2

นอกจากการออกกำลังกายการปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตนั้นควรหลีกเลี่ยงการแบกกระเป๋าสะพายหลังที่ไม่เหมาะสมด้วย (น้ำหนักที่เหมาะสมควรไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก) และหลีกเลี่ยงการสะพายกระเป๋าด้วยไหล่ข้างเดียวเพราะจะทำให้ไหล่รับน้ำหนักจนอาจได้รับการบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างไรก็ตามควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดเพื่อรู้ระดับอาการป่วยและสามารถกำหนดทิศทางรูปแบบการทำกายภาพบำบัดที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะแม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแต่หากปล่อยเรื้อรังนอกจากจะเสียบุคลิกภาพยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยรวมต่อร่างกายที่อาจแทรกซ้อนในอนาคต
โดยโรค Forward head posture เกิดจากสาเหตุที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง อันเป็นผลจากขาดการออกกำลังกายและจากไลฟ์สไตล์ชีวิตสังคมก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการพัก รวมไปถึงการแบกสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งทำกล้ามเนื้อถูกใช้งานในลักษณะเดียว (แบบอาการนิ้วล็อค) โดยเฉพาะบริเวณลำคอ ทำให้คอยื่นไปข้างหน้าผิดปกติ เกิดผลกระทบต่อตั้งแต่เล็กน้อย เช่น อาการปวดหลังปวดไหล่เรื้อรัง ไหล่หอ ขากรรไกรเคลื่อน-ค้างและเจ็บบริเวณขากรรไกร ปวดศีรษะ ชาตามแขนและมือ เจ็บหน้าอก ไปจนถึงผลร้ายที่ทำให้ร่างกายอาจเสียการทรงตัวได้ง่ายกว่าเดิมเพราะเมื่อกล้ามเนื้อผิดรูปทำกระดูกสันหลังส่วนบนทำให้เอนไปที่ด้านหลัง ยาวไปจนถึงกระดูกสะโพกเอียงมาด้านหน้าทำให้ลักษณะการยืนและการเดินผิดปกติ เตี้ยลง และหมอนรองกระดูกเสื่อม
เลิกก้มหน้า ใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
ไม่ว่าจะทำงานหรือเล่นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนควรวางหน้าจอให้ห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว ให้ระดับหน้าจอสูงในระดับสายตา เพื่อให้ศีรษะอยู่ในลักษณะตรงเวลา ไม่ควรก้มหรือเงยเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนี้ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ควรมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ อาทินั่งหลังตรงแล้วหงายคอ ก้นหน้า และไปด้านหลัง ด้านข้างซ้ายและขวา เป็นระยะเวลา 5 วินาที ประมาณ 10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอมีความยืดหยุ่น หรือลุกเดินขยับร่างกายในท่าการบริหารการออกกำลังกายเบื้องต้นก็จะยิ่งช่วยให้กล้ามเนื้อต่างๆ ได้ผ่อนคลายแถมสุขภาพดีอีกด้วย
ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิต
วิธีแก้ไขและป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การออกกำลังกาย เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณคอให้แข็งแรง อีกทั้งท่าออกกำลังกายบางท่ายังถือเป็นการช่วยจัดเรียงกระดูกไม่ให้ผิดรูป ให้กระดูกกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งวิธีบริหารคอให้แข็งแรงและช่วยจัดกระดูก มีด้วยกัน 3 ท่าด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ทุกเวลา
โดยท่าที่ 1.ยกแขนข้างขวาขึ้น เอามือมาวางบนกระดูกสันหลังบริเวณหลังคอ โดยให้ศอกชี้ขึ้นบน จากนั้นหันหน้าไปฝั่งตรงกันข้ามกับแขนแล้วเหลือบตามองต่ำโดยที่คอยังยืดตรง ค้างท่าไว้ พร้อมกับหายใจเข้าและออกช้าๆ ทำซ้ำ 3 ครั้ง ทั้ง 2 ข้าง
ท่าที่ 2. ให้เรานอนหงายลงกับพื้น โดยให้ไหล่กับศีรษะชิดพื้น จากนั้นให้ชันเข่าขึ้นมาโดยให้หน้ามองตรงขึ้นไปด้านบน ก่อนจะยกศีรษะขึ้นโดยเกร็งคอไว้พร้อมกับค้างและหายใจเข้าออก ทำซ้ำกันทั้งหมด 3 เซต
ท่าที่ 3. ท่าสุดท้ายให้เราเปลี่ยนจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำหน้า แล้ววางมือประสานกันบนพื้น วางหน้าผากลงบนมือ เกร็งคอตรง แล้วยกศีรษะขึ้นค้าง จากนั้นนับ 1-10 แล้วคลายท่า ทำในจำนวนเซตที่เท่ากันกับท่าที่ 2
นอกจากการออกกำลังกายการปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตนั้นควรหลีกเลี่ยงการแบกกระเป๋าสะพายหลังที่ไม่เหมาะสมด้วย (น้ำหนักที่เหมาะสมควรไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก) และหลีกเลี่ยงการสะพายกระเป๋าด้วยไหล่ข้างเดียวเพราะจะทำให้ไหล่รับน้ำหนักจนอาจได้รับการบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างไรก็ตามควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดเพื่อรู้ระดับอาการป่วยและสามารถกำหนดทิศทางรูปแบบการทำกายภาพบำบัดที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะแม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแต่หากปล่อยเรื้อรังนอกจากจะเสียบุคลิกภาพยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยรวมต่อร่างกายที่อาจแทรกซ้อนในอนาคต