กาแฟถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่หลายคนชื่นชอบ เพราะดื่มแล้วทำให้ตื่นตัว ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ทำให้กระชุ่มกระชวยและกระปรี้กระเปร่าได้ แต่ในทางกลับกันหากดื่มมากเกินไปหรือดื่มแบบผิดๆ ก็จะทำให้เกิดโทษตามมาได้ แล้วแบบนี้ควรดื่มอย่างไรไม่ให้ทำร้ายร่างกาย?
1.ไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง หลายคนชอบดื่มกาแฟตอนเช้าแทนอาหารแต่รู้หรือไม่ว่าการดื่มกาแฟตอนเช้าจะทำให้ร่างกายช่วยเพิ่มสภาวะความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ หากทำเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ทางที่ดีควรหาอะไรรับประทานรองท้องไปพร้อมกันด้วย อย่างเช่น แซนวิช ขนมปัง ฯลฯ เพื่อให้มีอะไรลงไปช่วยย่อย ก็ดีกว่ากินกาแฟเพียงอย่างเดียว
2.เลือกประเภทของกาแฟสักนิด กาแฟเย็นแก้วหนึ่งมีแคลอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 97-400 กิโลแคลอรี่ โดยเป็นไขมัน 0.4-22.1 กรัม โปรตีน 0.6-10.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.4-49.4 กรัม เป็นส่วนที่เป็นน้ำตาล 11-38 กรัม หรือประมาณ 3-10 ช้อนชา ( ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนได้ ทางที่ดีควรเปลี่ยนประเภทกาแฟจากที่เคยดื่มกาแฟที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ครีมเทียม นมข้นหวาน นมข้นจืด มาเป็นดื่มกาแฟดำแทนจะดีกว่า
3.ดื่มวันละ 1-2 แก้วก็พอแล้ว เพราะการได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไปก็ไม่ดี ซึ่งหากดื่มคาเฟอีนในปริมาณ 200-500 มิลลิกรัม จะทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด เพราะสมองถูกกระตุ้นมากเกินไป กระวนกระวาย มือสั่น ส่วนคาเฟอีนปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจเกิดพิษเฉียบพลัน จะมีไข้สูง วิตกกังวล พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรืออาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
4.ดื่มตอนกลางวันจะดีกว่า เพราะหากดื่มช่วงบ่ายเป็นต้นไปแล้วจะส่งผลให้นอนหลับยาก
5. หากวันนั้นได้รับคาเฟอีนจากการดื่มกาแฟแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่นที่มีคาเฟอีน อย่างเช่น ชา, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม ฯลฯ
1.ไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง หลายคนชอบดื่มกาแฟตอนเช้าแทนอาหารแต่รู้หรือไม่ว่าการดื่มกาแฟตอนเช้าจะทำให้ร่างกายช่วยเพิ่มสภาวะความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ หากทำเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ทางที่ดีควรหาอะไรรับประทานรองท้องไปพร้อมกันด้วย อย่างเช่น แซนวิช ขนมปัง ฯลฯ เพื่อให้มีอะไรลงไปช่วยย่อย ก็ดีกว่ากินกาแฟเพียงอย่างเดียว
2.เลือกประเภทของกาแฟสักนิด กาแฟเย็นแก้วหนึ่งมีแคลอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 97-400 กิโลแคลอรี่ โดยเป็นไขมัน 0.4-22.1 กรัม โปรตีน 0.6-10.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.4-49.4 กรัม เป็นส่วนที่เป็นน้ำตาล 11-38 กรัม หรือประมาณ 3-10 ช้อนชา ( ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนได้ ทางที่ดีควรเปลี่ยนประเภทกาแฟจากที่เคยดื่มกาแฟที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ครีมเทียม นมข้นหวาน นมข้นจืด มาเป็นดื่มกาแฟดำแทนจะดีกว่า
3.ดื่มวันละ 1-2 แก้วก็พอแล้ว เพราะการได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไปก็ไม่ดี ซึ่งหากดื่มคาเฟอีนในปริมาณ 200-500 มิลลิกรัม จะทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด เพราะสมองถูกกระตุ้นมากเกินไป กระวนกระวาย มือสั่น ส่วนคาเฟอีนปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจเกิดพิษเฉียบพลัน จะมีไข้สูง วิตกกังวล พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรืออาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
4.ดื่มตอนกลางวันจะดีกว่า เพราะหากดื่มช่วงบ่ายเป็นต้นไปแล้วจะส่งผลให้นอนหลับยาก
5. หากวันนั้นได้รับคาเฟอีนจากการดื่มกาแฟแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่นที่มีคาเฟอีน อย่างเช่น ชา, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม ฯลฯ