By : Pharmchompoo
บ้านเรายังมีปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดอยู่มากมาย และเป็นปัญหาที่ยากแก่การเข้าถึง การป้องปรามเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากกว่าเรื่องของการตามจับกุม หรือการรักษาผู้เสพติดทีหลัง
หลังจาก “บีไฟว์” ในบทความชิ้นก่อนหน้า เรามาทำความรู้จักกับยา “แฮปปี้ไฟว์” หรือ “ไฟว์ ไฟว์” หรือ “กี๊ฟมีไฟว์” (Give me five) ซึ่งไม่ได้ “แฮปปี้” อย่างที่ชื่อของมันบอกแต่อย่างใด

“แฮปปี้ไฟว์” และคำเรียกอีกสารพัดนั้น เป็นคำแสลงในหมู่นักเสพยาที่เรียกแทนยา “ไนเมตาซีแพม” [nimetazepam] ชื่อการค้าคือ Erimin-5® ซึ่ง “แฮปปี้ไฟว์” นี้จริง ๆ ก็เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่จัด “ไนเมตาซีแพม” เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2
ในประเทศของเรา ไม่มีการรับรองให้ขาย ส่วนที่มีการขายและเสพกันนั้น ต้นตอมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปัจจุบันมีบทกำหนดโทษที่รุนแรงทั้งผู้เสพและผู้จำหน่าย กล่าวคือ หากเสพเอง มีโทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท - 200,000 บาท
ที่หนักกว่านั้นก็คือ ถ้าจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ ซึ่งเป็นการกระทำต่อหญิง หรือต่อบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี - ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 60,000 - 500,000 บาท กรณีผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท
คำถามก็คือ ทำไม “แฮปปี้ไฟว์” ถึงเป็นที่นิยม?
ก็เพราะว่าเป็นยาที่ไม่มีการรับรองให้ขายในประเทศได้ ประกอบกับผู้เสพ/ผู้ใช้ ก็หนีจากการใช้ยานอนหลับอื่นๆ ที่มีการยกระดับการควบคุมมากขึ้น เช่น อัลพราโซแลม ไมดาโซแลม อีกทั้ง “แฮปปี้ไฟว์” ก็เป็นยานอนหลับที่ออกฤทธิ์เร็ว (ภายใน 15 - 30 นาที) และออกฤทธิ์ได้นาน จึงเหมาะที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การมอมยา หรือนำไปใช้เสริมกับยาเสพติดอื่นๆ เช่น ใช้ “แฮปปี้ไฟว์” ภายหลังจากการเสพยาบ้า ยาไอซ์ เพื่อให้หลับ
ทั้งนี้ อันตรายของ “แฮปปี้ไฟว์” ก็เหมือนกับยานอนหลับชนิดอื่นๆ คือ การเสพติดยานอนหลับ การกดประสาท และหากใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็จะยิ่งเสริมฤทธิ์กดประสาทกันมากขึ้นไปอีก จนกระทั่งโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด
______________________________________
อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด. Nimetazepam (Erimin®) [Online]. วันที่เข้าไปสืบค้น 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นจาก http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=2791.
บ้านเรายังมีปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดอยู่มากมาย และเป็นปัญหาที่ยากแก่การเข้าถึง การป้องปรามเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากกว่าเรื่องของการตามจับกุม หรือการรักษาผู้เสพติดทีหลัง
หลังจาก “บีไฟว์” ในบทความชิ้นก่อนหน้า เรามาทำความรู้จักกับยา “แฮปปี้ไฟว์” หรือ “ไฟว์ ไฟว์” หรือ “กี๊ฟมีไฟว์” (Give me five) ซึ่งไม่ได้ “แฮปปี้” อย่างที่ชื่อของมันบอกแต่อย่างใด
“แฮปปี้ไฟว์” และคำเรียกอีกสารพัดนั้น เป็นคำแสลงในหมู่นักเสพยาที่เรียกแทนยา “ไนเมตาซีแพม” [nimetazepam] ชื่อการค้าคือ Erimin-5® ซึ่ง “แฮปปี้ไฟว์” นี้จริง ๆ ก็เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ที่จัด “ไนเมตาซีแพม” เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2
ในประเทศของเรา ไม่มีการรับรองให้ขาย ส่วนที่มีการขายและเสพกันนั้น ต้นตอมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปัจจุบันมีบทกำหนดโทษที่รุนแรงทั้งผู้เสพและผู้จำหน่าย กล่าวคือ หากเสพเอง มีโทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 บาท - 200,000 บาท
ที่หนักกว่านั้นก็คือ ถ้าจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง หรือขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพ ซึ่งเป็นการกระทำต่อหญิง หรือต่อบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี - ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 60,000 - 500,000 บาท กรณีผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท
คำถามก็คือ ทำไม “แฮปปี้ไฟว์” ถึงเป็นที่นิยม?
ก็เพราะว่าเป็นยาที่ไม่มีการรับรองให้ขายในประเทศได้ ประกอบกับผู้เสพ/ผู้ใช้ ก็หนีจากการใช้ยานอนหลับอื่นๆ ที่มีการยกระดับการควบคุมมากขึ้น เช่น อัลพราโซแลม ไมดาโซแลม อีกทั้ง “แฮปปี้ไฟว์” ก็เป็นยานอนหลับที่ออกฤทธิ์เร็ว (ภายใน 15 - 30 นาที) และออกฤทธิ์ได้นาน จึงเหมาะที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การมอมยา หรือนำไปใช้เสริมกับยาเสพติดอื่นๆ เช่น ใช้ “แฮปปี้ไฟว์” ภายหลังจากการเสพยาบ้า ยาไอซ์ เพื่อให้หลับ
ทั้งนี้ อันตรายของ “แฮปปี้ไฟว์” ก็เหมือนกับยานอนหลับชนิดอื่นๆ คือ การเสพติดยานอนหลับ การกดประสาท และหากใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็จะยิ่งเสริมฤทธิ์กดประสาทกันมากขึ้นไปอีก จนกระทั่งโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด
______________________________________
อ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด. Nimetazepam (Erimin®) [Online]. วันที่เข้าไปสืบค้น 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นจาก http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=2791.
หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน |