เนื้อสัตว์ต่างๆ ถือว่าเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกายของคนเรา เพราะหากสิ่งนี้ได้เข้ามาสู่ร่างกาย แน่นอนว่าจะช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอให้กับร่างกาย และช่วยให้เพิ่มพลังงานในแต่ละวัน แต่ หากเป็นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิงนั้น อาจจะต้องละเว้นไว้ เพราะมีรายงานวิจัยออกมาแล้วว่า การกินเนื้อสัตว์ อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มากกว่าบุคคลปกติ
โดยการศึกษาล่าสุดของ American Heart Association ได้ระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และรับประทานโปรตีนเป็นปริมาณ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ ซึ่งผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ที่มีการรับประทานโปรตีนในปริมาณมาก จะมีอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มากกว่าผู้หญิงวัยเดียวกัน แต่นิยมรับประทานผักมากกว่าโปรตีน
โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการติดตามการรับประทานโปรตีนของผู้หญิงวัย 50 - 70 ปี จำนวน 103878 คน ตั้งแต่ปี 1993 จนถึงปี 1998 โดยให้พวกเธอรายงานการรับประทานอาหารทุกวันและติตามผล ซึ่งปรากฏว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแต่อย่างใด แต่มาปรากฏในปี 2005 ที่มีรายงานว่า เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวถึง 1700 ราย ซึ่งนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเรื่องของอายุ การศึกษา เชื้อชาติ รวมทั้งข้อมูลที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ความดันสูง เบาหวาน เส้นเลือดตีบ รวมถึงภาวะโลหิตจางร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมวิจัย ก็ได้เผยว่า การที่ค้นพบในการรับประทานโปนตีนมากเกินไป ส่งผลอย่างชัดเจนต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว แต่ก็ต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติม และแนะนำอีกว่า การบริโภคโปรตีนจากพืช เป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้
ขอบคุณข้อมูลจาก เอเอฟพี (AFP)
โดยการศึกษาล่าสุดของ American Heart Association ได้ระบุว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และรับประทานโปรตีนเป็นปริมาณ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ ซึ่งผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ที่มีการรับประทานโปรตีนในปริมาณมาก จะมีอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มากกว่าผู้หญิงวัยเดียวกัน แต่นิยมรับประทานผักมากกว่าโปรตีน
โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการติดตามการรับประทานโปรตีนของผู้หญิงวัย 50 - 70 ปี จำนวน 103878 คน ตั้งแต่ปี 1993 จนถึงปี 1998 โดยให้พวกเธอรายงานการรับประทานอาหารทุกวันและติตามผล ซึ่งปรากฏว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแต่อย่างใด แต่มาปรากฏในปี 2005 ที่มีรายงานว่า เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวถึง 1700 ราย ซึ่งนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเรื่องของอายุ การศึกษา เชื้อชาติ รวมทั้งข้อมูลที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ความดันสูง เบาหวาน เส้นเลือดตีบ รวมถึงภาวะโลหิตจางร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมวิจัย ก็ได้เผยว่า การที่ค้นพบในการรับประทานโปนตีนมากเกินไป ส่งผลอย่างชัดเจนต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว แต่ก็ต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้เพิ่มเติม และแนะนำอีกว่า การบริโภคโปรตีนจากพืช เป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีได้
ขอบคุณข้อมูลจาก เอเอฟพี (AFP)