xs
xsm
sm
md
lg

แนะวิธีรับมือกับความเศร้าโศก จากการสูญเสีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทำให้เกิดภาวะความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทย โดยภาวะดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาตามปกติ ซึ่งอาจเกิดอาการได้หลายรูปแบบ ดังนี้

• ทางร่างกาย เช่น รู้สึกโหวงๆ, ใจสั่น, นอนไม่หลับ,เบื่ออาหาร
• ทางอารมณ์ เช่น เศร้า, เสียใจ, โกรธ, กลัว, กังวล, รู้สึกผิด, เฉยชา
• ทางความคิด เช่น สับสน, ไม่มีสมาธิ, ไม่ยอมรับว่าการสูญเสียเกิดขึ้นจริง

ภาวะดังกล่าว เกิดได้ในคนปกติทั่วไปภายหลังเกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยในระยะแรกอาจเกิดขึ้นต่อเนื่อง ยาวนานในแต่ละวัน และจะสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม มีลักษณะอาการบางอย่างที่ไม่ใช่ภาวะความเศร้าโศกเสียใจตามปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
 
1. รู้สึกตนเองทำผิดอย่างมาก

2. คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องการตายอย่างมาก มีความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย

3. คิดหมกมุ่นอย่างมากว่าตนเองไร้ค่า

4. มีการแสดงออก และการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าอย่างมาก

5. มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน การปฏิบัติหน้าที่ การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นอย่างมากและเป็นเวลายาวนาน

6. มีอาการประสาทหลอน เช่น เสียงแว่ว ภาพหลอน

แนวทางการดูแลตนเองและคนรอบข้างเมื่อเกิดภาวะความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย
 
• ทำความเข้าใจ รับรู้ความรู้สึก และตั้งสติในการยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น
• ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออกซึ่งความรู้สึก โดยสามารถแสดงความรู้สึกดังกล่าวผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

การพูดคุย การนำเสนอในสื่อสังคมต่างๆ การเข้าร่วมพิธีการต่างๆ

• รับรู้ว่าปฏิกิริยาดังกล่าว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ โดยแต่ละคนอาจมีปฏิกิริยาดังกล่าวมากน้อยแตกต่างกัน

ได้ ยอมรับและเคารพในความแตกต่างของภาวะความเศร้าโศกเสียใจดังกล่าวในเพื่อนมนุษย์แต่ละคน

• เฝ้าระวังการเกิดภาวะความผิดปกติจากการสูญเสีย หากตนเองหรือบุคคลรอบข้าง มีอาการดังที่

กล่าวข้างต้น ให้รีบหาทางรับการช่วยเหลือ เช่น รับการตรวจที่หน่วยจิตเวชศาสตร์ หรือสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร 1323

กำลังโหลดความคิดเห็น