หนักข้อขึ้นทุกวัน! สำหรับโรคเบาหวานที่รุกรานไปทั่วโลก เผย..เฉพาะคนไทย ป่วยเป็นมากกว่า 4 ล้านราย และตายปีละไม่น้อยกว่า 7 หมื่น แถมมีรายงาน เด็กอายุแค่ 5 ขวบ เป็นหลอดเลือดสมองตีบเพราะเบาหวาน
นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ได้บรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเบาหวานตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก และเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักให้มากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะไม่เพียงผู้สูงวัยเท่านั้นที่มีโอกาสจะเป็นโรคเบาหวาน แม้แต่เด็กอายุน้อยๆ ก็มีสิทธิ์เป็นเช่นกัน ถึงกับมีรายงานว่า อาการหลอดเลือดสมองตีบซึ่งเป็นผลพวงจากโรคเบาหวาน สามารถพบได้ในเด็กอายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น
ด้วยสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำสำหรับวิธีดูแลตนเอง สู้กับโรคเบาหวาน อย่างเท่าทันและรอบด้าน...
คนไทยตายปีละเกือบ 8 หมื่นคน!
เพราะโรคที่เกี่ยวกับเบาหวาน
นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ กล่าวว่า ตัวเลขจำนวนผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเมื่อปี ค.ศ. 2000 หรือเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว มีคนเป็นเบาหวานอยู่ราวๆ 171 ล้านคนทั่วโลก ตอนนั้นมีการประเมินว่าผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 30 ปี ตัวเลขจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 170 เป็น 366 ล้านคน แต่ผลสำรวจติดตามหลังจากนั้น พบว่า ภายในระยะเวลาแค่ 11 ปี ไม่ใช่ 30 ปี คนที่เป็นเบาหวานก็ทะลุ 366 ล้านคนทั่วโลกไปแล้วในปี 2011
“จะเห็นว่ามันเร็วกว่าที่คิดหรือที่คำนวณไว้ถึง 3 เท่า ตัวเลขสำรวจเมื่อเดือนธันวาคมปี 2558 คนเป็นเบาหวานทั่วโลก มีจำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นไปถึง 600 กว่าล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า เอเชียเป็นหนึ่งทวีปที่มีคนเป็นเบาหวานมากที่สุดในโลก”
ปัจจุบัน ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่เป็นเบาหวานอยู่ 4 ล้านคน และในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยซึ่งไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยอยู่ประมาณ 2 ล้านคน หมายความว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลมีอยู่แค่ครึ่งเดียว ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งนอนอยู่บ้าน ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานแล้วทำไมต้องไปรักษา คนไข้พวกนี้จะรอ จนกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อน รอจนกระทั่งเริ่มมีอาการป่วย ถึงจะเริ่มเข้าสู่การรักษา
จากข้อมูลที่รวบรวมโดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation - IDF) ในปี พ.ศ. 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เป็นโรคเบาหวาน 4,025,100 ราย และยังคงทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคเบาหวานประมาณ 12,000 บาทต่อปี มีผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเบาหวานปีละเกือบ 76,000 คน
“อ้วนลงพุง” เบาหวานมาแน่
เผย..เด็กอ้วนเยอะขึ้น เสี่ยงเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อย
โรคเบาหวานเกิดมีสาเหตุหลักๆ 2 ประการ คือเกิดจากกรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและไม่ออกกำลังกาย เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว บางคนยังขาดวินัยในการติดตามโรค ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพราะคิดว่ายุ่งยาก ทำให้ขาดข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและประเมินแนวทางการรักษา
“อันที่จริง โรคเบาหวาน ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะอ้วนลงพุง ทุกครั้งที่สำรวจคนไทย พบว่าคนไทยมีภาวะอ้วน และปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่ ในเด็กก็เป็นได้ เพราะบ้านเรามีค่านิยมเลี้ยงเด็กต้องอ้วนไว้ก่อน ข้อมูลการศึกษาบอกว่าถ้าเด็กอ้วน โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน โรคเส้นเลือดตีบหรือหลอดเลือดอุดตันที่เป็นผลมาจากเบาหวาน มีรายงานว่า สามารถพบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ห้าขวบ ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มตั้งแต่เด็ก” นายแพทย์เอกลักษณ์ กล่าว
ป่วยแล้ว รักษาอย่างไร
หมอชี้...ไม่ใช่กินยาแล้วจะจบ
“เบาหวานเป็นโรค 2 ทาง ไม่ใช่ว่าหมอสั่งยาอะไรมาให้กิน แล้วคิดว่ากินให้ครบๆ แล้วจะจบง่ายๆ ไม่ใช่เลย”
เพราะนอกเหนือจากการทานยา การปฏิบัติตนก็เป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง ไม่เหมือนกับโรคบางโรค เช่น วัณโรคที่ไม่ต้องปฏิบัติตัวอะไรมาก แค่เพียงกินยาครบก็จบแล้ว ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่โรคเบาหวานไม่ใช่แบบนั้น เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการคุมอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการตรวจสอบน้ำตาลว่าอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่
“การดูแลตนเอง รวมถึงการบันทึกข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นหัวใจของการรักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยปกติ ผู้เป็นเบาหวานควรจะทำการตรวจค่าน้ำตาลด้วยตัวเองทุกวัน (Self - Monitoring of Blood Glucose) ทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อจะได้ทราบถึงที่มาของค่าน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถกำหนดอาหารที่ควรจะรับประทานในครั้งต่อไป ทำให้คุมเบาหวานได้ดีขึ้น
“เมื่อถึงเวลาตรวจตามนัด แพทย์จะทำการตรวจน้ำตาลแบบ A1C เพื่อนำมาประเมินควบคู่กับผลตรวจรายวันของผู้เป็นเบาหวาน ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลที่แม่นยำยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้ขาดวินัยในการติดตามโรค”
บางคนแค่เจาะเลือดตอนเช้าแล้วพอเห็นผลออกมาปกติ ก็ไม่ได้ใส่ใจอาหารการกินในระหว่างวันนั้น และไม่ได้เจาะเลือดหลังรับประทานอาหารอีก แต่พอวันรุ่งขึ้นพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ก็ค่อยมาคุมอาหาร อีกหนึ่งปัจจัย คือความยุ่งยากในการจัดเก็บข้อมูล บางวันอาจจะลืมจดหรือจดแล้วจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน ทั้งๆ ที่ข้อมูลเหล่านี้ มีความสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้เป็นโรคเบาหวานท่านนั้นๆ
“เบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลตัวเองและใส่ใจตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาหรืออินซูลินตามแผนการรักษา ขณะที่ความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องตรวจน้ำตาล รวมทั้งการจัดการค่าน้ำตาลที่สะดวกในการวิเคราะห์ผล จะช่วยให้แพทย์จ่ายยาและรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานอย่างมีความสุข” นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์
ผุด... “แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล”
ตัวช่วยจัดการเบาหวานให้อยู่หมัด
ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยในการติดตามโรคเบาหวานหลายชนิด เช่น เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา ซีจีเอ็ม คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ แต่เทรนด์ใหม่ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศอย่างอเมริกาและยุโรป คือ “แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล”
อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของข้อมูลระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน ที่จะช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยแนวทางการรักษาได้ดีขึ้น และยังมอบความสะดวกสบาย โดยลดปัญหาความยุ่งยากในการจดบันทึกข้อมูล ทั้งยังสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
“แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล” ซึ่งกำลังจะมีวางจำหน่ายในประเทศไทย ในเร็ววันนี้ จะทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยคนสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เป็นเบาหวาน เพราะแอปพลิเคชันจะประมวลผลค่าน้ำตาลที่ตรวจวัดไว้ทั้งหมด โดยจะแสดงผลหลายรูปแบบ เช่น ตาราง กราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกดูและวิเคราะห์ผลตรวจ ทำให้เห็นภาพรวมว่า มีระดับน้ำตาลที่สูงหรือต่ำกว่าค่าเป้าหมาย และผู้เป็นเบาหวานยังสามารถถ่ายภาพอาหาร พร้อมอัพโหลดภาพและบันทึกปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ผู้เป็นเบาหวานสามารถนำมาวิเคราะห์ และประเมินผลการดูแลระดับน้ำตาลก่อนและหลังอาหารร่วมกับแพทย์และนักโภชนาการได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้เป็นเบาหวานยังสามารถใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นในด้านอื่นๆ เช่น แชร์ผลลัพธ์ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองกับผู้ดูแลและแพทย์ประจำตัวได้ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลออนไลน์พร้อมกันได้ทุกเมื่อ นับเป็นการทำงานเป็นทีมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรักษาได้เป็นอย่างดี
“แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล” นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลควบคู่ไปกับเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาล พร้อมการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องตรวจน้ำตาลผ่านบลูทูธไปยังสมาร์ทโฟน ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น ลดความกังวลเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน เพราะแพทย์และผู้ดูแลสามารถเห็นผลน้ำตาลได้ตลอด ผ่านทางแอปพลิเคชันได้
__________________________________________________________________________
ข่าวโดย : อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
*** ขอบคุณ "บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด” ในการเอื้อเฟื้อสถานที่เข้าฟังบรรยายในหัวข้อ “มองเบาหวานมุมใหม่ ดูแลรักษาไม่ใช่เรื่องยาก” โดยนายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ ณ ห้องประชุมวิคเตอร์คลับ ชั้น 8 อาคารสาทรสแควร์
นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ได้บรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเบาหวานตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก และเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักให้มากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะไม่เพียงผู้สูงวัยเท่านั้นที่มีโอกาสจะเป็นโรคเบาหวาน แม้แต่เด็กอายุน้อยๆ ก็มีสิทธิ์เป็นเช่นกัน ถึงกับมีรายงานว่า อาการหลอดเลือดสมองตีบซึ่งเป็นผลพวงจากโรคเบาหวาน สามารถพบได้ในเด็กอายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น
ด้วยสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำสำหรับวิธีดูแลตนเอง สู้กับโรคเบาหวาน อย่างเท่าทันและรอบด้าน...
คนไทยตายปีละเกือบ 8 หมื่นคน!
เพราะโรคที่เกี่ยวกับเบาหวาน
นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ กล่าวว่า ตัวเลขจำนวนผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเมื่อปี ค.ศ. 2000 หรือเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว มีคนเป็นเบาหวานอยู่ราวๆ 171 ล้านคนทั่วโลก ตอนนั้นมีการประเมินว่าผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 30 ปี ตัวเลขจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 170 เป็น 366 ล้านคน แต่ผลสำรวจติดตามหลังจากนั้น พบว่า ภายในระยะเวลาแค่ 11 ปี ไม่ใช่ 30 ปี คนที่เป็นเบาหวานก็ทะลุ 366 ล้านคนทั่วโลกไปแล้วในปี 2011
“จะเห็นว่ามันเร็วกว่าที่คิดหรือที่คำนวณไว้ถึง 3 เท่า ตัวเลขสำรวจเมื่อเดือนธันวาคมปี 2558 คนเป็นเบาหวานทั่วโลก มีจำนวน 415 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นไปถึง 600 กว่าล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า เอเชียเป็นหนึ่งทวีปที่มีคนเป็นเบาหวานมากที่สุดในโลก”
ปัจจุบัน ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่เป็นเบาหวานอยู่ 4 ล้านคน และในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยซึ่งไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยอยู่ประมาณ 2 ล้านคน หมายความว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลมีอยู่แค่ครึ่งเดียว ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งนอนอยู่บ้าน ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานแล้วทำไมต้องไปรักษา คนไข้พวกนี้จะรอ จนกระทั่งเกิดโรคแทรกซ้อน รอจนกระทั่งเริ่มมีอาการป่วย ถึงจะเริ่มเข้าสู่การรักษา
จากข้อมูลที่รวบรวมโดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation - IDF) ในปี พ.ศ. 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เป็นโรคเบาหวาน 4,025,100 ราย และยังคงทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคเบาหวานประมาณ 12,000 บาทต่อปี มีผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเบาหวานปีละเกือบ 76,000 คน
“อ้วนลงพุง” เบาหวานมาแน่
เผย..เด็กอ้วนเยอะขึ้น เสี่ยงเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อย
โรคเบาหวานเกิดมีสาเหตุหลักๆ 2 ประการ คือเกิดจากกรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและไม่ออกกำลังกาย เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว บางคนยังขาดวินัยในการติดตามโรค ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพราะคิดว่ายุ่งยาก ทำให้ขาดข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและประเมินแนวทางการรักษา
“อันที่จริง โรคเบาหวาน ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะอ้วนลงพุง ทุกครั้งที่สำรวจคนไทย พบว่าคนไทยมีภาวะอ้วน และปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่ ในเด็กก็เป็นได้ เพราะบ้านเรามีค่านิยมเลี้ยงเด็กต้องอ้วนไว้ก่อน ข้อมูลการศึกษาบอกว่าถ้าเด็กอ้วน โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน โรคเส้นเลือดตีบหรือหลอดเลือดอุดตันที่เป็นผลมาจากเบาหวาน มีรายงานว่า สามารถพบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ห้าขวบ ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มตั้งแต่เด็ก” นายแพทย์เอกลักษณ์ กล่าว
ป่วยแล้ว รักษาอย่างไร
หมอชี้...ไม่ใช่กินยาแล้วจะจบ
“เบาหวานเป็นโรค 2 ทาง ไม่ใช่ว่าหมอสั่งยาอะไรมาให้กิน แล้วคิดว่ากินให้ครบๆ แล้วจะจบง่ายๆ ไม่ใช่เลย”
เพราะนอกเหนือจากการทานยา การปฏิบัติตนก็เป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง ไม่เหมือนกับโรคบางโรค เช่น วัณโรคที่ไม่ต้องปฏิบัติตัวอะไรมาก แค่เพียงกินยาครบก็จบแล้ว ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่โรคเบาหวานไม่ใช่แบบนั้น เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการคุมอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการตรวจสอบน้ำตาลว่าอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่
“การดูแลตนเอง รวมถึงการบันทึกข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นหัวใจของการรักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยปกติ ผู้เป็นเบาหวานควรจะทำการตรวจค่าน้ำตาลด้วยตัวเองทุกวัน (Self - Monitoring of Blood Glucose) ทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อจะได้ทราบถึงที่มาของค่าน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถกำหนดอาหารที่ควรจะรับประทานในครั้งต่อไป ทำให้คุมเบาหวานได้ดีขึ้น
“เมื่อถึงเวลาตรวจตามนัด แพทย์จะทำการตรวจน้ำตาลแบบ A1C เพื่อนำมาประเมินควบคู่กับผลตรวจรายวันของผู้เป็นเบาหวาน ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลที่แม่นยำยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้ขาดวินัยในการติดตามโรค”
บางคนแค่เจาะเลือดตอนเช้าแล้วพอเห็นผลออกมาปกติ ก็ไม่ได้ใส่ใจอาหารการกินในระหว่างวันนั้น และไม่ได้เจาะเลือดหลังรับประทานอาหารอีก แต่พอวันรุ่งขึ้นพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ก็ค่อยมาคุมอาหาร อีกหนึ่งปัจจัย คือความยุ่งยากในการจัดเก็บข้อมูล บางวันอาจจะลืมจดหรือจดแล้วจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน ทั้งๆ ที่ข้อมูลเหล่านี้ มีความสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้เป็นโรคเบาหวานท่านนั้นๆ
“เบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลตัวเองและใส่ใจตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาหรืออินซูลินตามแผนการรักษา ขณะที่ความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องตรวจน้ำตาล รวมทั้งการจัดการค่าน้ำตาลที่สะดวกในการวิเคราะห์ผล จะช่วยให้แพทย์จ่ายยาและรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานอย่างมีความสุข” นายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์
ผุด... “แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล”
ตัวช่วยจัดการเบาหวานให้อยู่หมัด
ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยในการติดตามโรคเบาหวานหลายชนิด เช่น เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา ซีจีเอ็ม คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ แต่เทรนด์ใหม่ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศอย่างอเมริกาและยุโรป คือ “แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล”
อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของข้อมูลระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน ที่จะช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยแนวทางการรักษาได้ดีขึ้น และยังมอบความสะดวกสบาย โดยลดปัญหาความยุ่งยากในการจดบันทึกข้อมูล ทั้งยังสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
“แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล” ซึ่งกำลังจะมีวางจำหน่ายในประเทศไทย ในเร็ววันนี้ จะทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยคนสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เป็นเบาหวาน เพราะแอปพลิเคชันจะประมวลผลค่าน้ำตาลที่ตรวจวัดไว้ทั้งหมด โดยจะแสดงผลหลายรูปแบบ เช่น ตาราง กราฟ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกดูและวิเคราะห์ผลตรวจ ทำให้เห็นภาพรวมว่า มีระดับน้ำตาลที่สูงหรือต่ำกว่าค่าเป้าหมาย และผู้เป็นเบาหวานยังสามารถถ่ายภาพอาหาร พร้อมอัพโหลดภาพและบันทึกปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ผู้เป็นเบาหวานสามารถนำมาวิเคราะห์ และประเมินผลการดูแลระดับน้ำตาลก่อนและหลังอาหารร่วมกับแพทย์และนักโภชนาการได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้เป็นเบาหวานยังสามารถใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นในด้านอื่นๆ เช่น แชร์ผลลัพธ์ระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองกับผู้ดูแลและแพทย์ประจำตัวได้ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลออนไลน์พร้อมกันได้ทุกเมื่อ นับเป็นการทำงานเป็นทีมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรักษาได้เป็นอย่างดี
“แอปพลิเคชันแสดงผลค่าน้ำตาล” นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลควบคู่ไปกับเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาล พร้อมการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องตรวจน้ำตาลผ่านบลูทูธไปยังสมาร์ทโฟน ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น ลดความกังวลเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน เพราะแพทย์และผู้ดูแลสามารถเห็นผลน้ำตาลได้ตลอด ผ่านทางแอปพลิเคชันได้
__________________________________________________________________________
ข่าวโดย : อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
*** ขอบคุณ "บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด” ในการเอื้อเฟื้อสถานที่เข้าฟังบรรยายในหัวข้อ “มองเบาหวานมุมใหม่ ดูแลรักษาไม่ใช่เรื่องยาก” โดยนายแพทย์เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์ ณ ห้องประชุมวิคเตอร์คลับ ชั้น 8 อาคารสาทรสแควร์